การมีน้ำหนักน้อยหรือมากกว่ามาตรฐานอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย และอาจไปยับยั้งการตกไข่ได้ โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนนั้นส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน และผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เนื่องจากอาจไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก จนอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ความเครียด
เนื่องจากความเครียดอาจเปลี่ยนแปลงการทำงานของไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งอยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดที่อาจเกี่ยวข้องกับการมาของประจำเดือน การทำงานของไฮโปทาลามัสที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะความเครียดอาจส่งผลให้การตกไข่และการมีประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ หากความเครียดลดลงประจำเดือนก็อาจกลับมาเป็นปกติ
การออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายหนักเกินไป อาจไปรบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่และประจำเดือน
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เนื้องอกใต้สมอง
วัยใกล้หมดประจำเดือน
มักจะพบได้ในผู้ที่มีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง รังไข่หยุดการตกไข่ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือน
ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ควรทำอย่างไร
- ตรวจการตั้งครรภ์ หากประจำเดือนขาด อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรตรวจครรภ์ให้ทราบแน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสามารถหาซื้อที่ตรวจครรภ์ได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด อาจหาเวลาว่างไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง หางานอดิเรกทำ เป็นต้น รวมถึงการนอนหลับพักผ่อน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลและประจำเดือนอาจมาผิดปกติได้ ซึ่งอาจออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วันด้วยการ วิ่ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ แอโรบิค เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย