backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

fetal alcohol syndrome คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

fetal alcohol syndrome คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

fetal alcohol syndrome คือ กลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์ เป็นภาวะที่เกิดจากการที่แม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ ทั้งปัญหาด้านพัฒนาการทางร่างกาย การเรียนรู้ และสติปัญหา และอาการอาจจะแย่ลงเมื่อเด็กโตขึ้น ภาวะนี้ไม่มีหนทางการรักษาที่แน่ชัด แต่สามารถป้องกันได้โดยการให้แม่ตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์

คำจำกัดความ

fetal alcohol syndrome คืออะไร

fetal alcohol syndrome คือ กลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์ เป็นความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่เกิดจากการที่แม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเรียนรู้ และสติปัญญาที่ผิดปกติ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต และกระดูก มีภาวะอยู่ไม่สุข IQ ต่ำ

การได้รับแอลกอฮอล์ขณะอยู่ในครรภ์มารดา สามารถทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้ ยิ่งมารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนักเท่าไหร่ ความรุนแรงของโรคก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ อาการของ fetal alcohol syndrome ก็มักจะรุนแรงขึ้นตามอายุอีกด้วย

อาการ

อาการของ fetal alcohol syndrome

ข้อบกพร่องทางกายภาพ

  • มีลักษณะที่บ่งบอกอาการจากทางใบหน้า ได้แก่ มีดวงตาที่เล็ก ริมฝีบนปากบาง มีลักษณะสั้น จมูกแบน ผิวระหว่างจมูกกับริมฝีปากเรียบแบน
  • มีความผิดปกติของข้อต่อแขนขาและนิ้วมือ
  • เจริญเติบโตช้า ทั้งก่อนและหลังคลอด
  • มีปัญหาในเรื่องการมองเห็น หรือปัญหาการได้ยิน
  • เส้นรอบวงศีรษะและสมองมีขนาดเล็ก
  • มีข้อบกพร่องในส่วนของหัวใจ และปัญหาเกี่ยวกับไต และกระดูก

ปัญหาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทส่วนกลาง

  • การทรงตัวไม่ดี
  • มีความพิการทางสติปัญญา ความผิดปกติในการเรียนรู้ และมีพัฒาการช้า
  • ความจำไม่ดี
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ และการประมวลผลข้อมูล
  • มีความยากลำบากในการใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา
  • มีความยากลำบากในการระบุตัวเลือก
  • มีทักษะการตัดสินใจที่ไม่ดี
  • มีอาการกระวนกระวาย หรือสมาธิสั้น
  • อารมณ์แปรปรวนอย่างรวดเร็ว

ปัญหาทางสังคมและพฤติกรรม

เช่น ปัญหาในการทำงาน การเผชิญหน้ากับความเครียด และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาจรวมถึง

  • มีปัญหากับที่โรงเรียน
  • มีปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  • มีทักษะการเข้าสังคมอยู่ในระดับต่ำ
  • มีปัญหาในการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม และการควบคุมแรงกระตุ้น
  • ไม่สามารถบริหารหรือจัดสรรเวลาได้
  • ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  • มีความยากลำบากในการวางแผน หรือการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

เนื่องจากการวินิจฉัยในช่วงต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาในระยะยาวสำหรับเด็กที่ เป็น fetal alcohol syndrome จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์

แต่หากเป็นบุตรบุญธรรม ก็อาจไม่ทราบว่าแม่ของเด็กได้ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์หรือไม่ และอาการของ fetal alcohol syndrome อาจไม่ได้ปรากฏให้เห็นในตอนแรก อย่างไรก็ตาม หากบุตรหลานมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และพฤติกรรมดังที่กล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

สาเหตุ

สาเหตุของ fetal alcohol syndrome

สาเหตุหลักของ fetal alcohol syndrome คือการที่แม่ตั้งครรภ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งแอลกอฮอล์อาจเข้าสู่ร่างกาย และส่งผลกระทบ ดังต่อไปนี

  • แอลกอฮอล์จะเข้าสู่กระแสเลือดและส่งไปถึงทารกที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ผ่านทางรก
  • แอลกอฮอล์มีผลทำให้เกิดเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งทำให้ทารกที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์สูงกว่า เนื่องจากทารกในครรภ์สามารถเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้ช้ากว่าผู้ใหญ
  • แอลกอฮอล์จะรบกวนการให้ออกซิเจน และโภชนาการที่เหมาะสมกับลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโต
  • การสัมผัสกับแอลกอฮอล์ก่อนคลอด อาจเป็นอันตรายต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อและอวัยวะ และทำให้สมองของทารกเกิดความเสียหายอย่างถาวรได้
  • ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มหนักเท่าใด ทารกในครรภ์ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของfetal alcohol syndrome

    ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ของ fetal alcohol syndrome คือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ ก็อาจจะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเกิด fetal alcohol syndrome มากขึ้นเท่านั้น

    การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย fetal alcohol syndrome

    กลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์ นี้ยิ่งตรวจพบได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ดังนั้น หากสงสัยว่าบุตรหลานอาจมีอาการของกลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที และควรแจ้งให้คุณหมอทราบหากดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์

    การตรวจร่างกายของทารกอาจแสดงอาการหัวใจวายหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ เมื่อทารกโตเต็มที่อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ ซึ่งรวมถึง

    • การเจริญเติบโตช้า
    • ลักษณะผิดปกติของใบหน้า หรือการเติบโตของกระดูก
    • ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน และการมองเห็น
    • การเรียนรู้ทางด้านภาษาช้า
    • มีขนาดหัวที่เล็ก
    • การทำงานร่วมกันของอวัยวะต่างๆ ไม่ดี

    เพื่อวินิจฉัยผู้ที่มีกลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์  แพทย์จะต้องตรวจสอบว่ามีลักษณะใบหน้าที่ผิดปกติ การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และมีปัญหาระบบประสาทส่วนกลางหรือไม่ ปัญหาระบบประสาทเหล่านี้ อาจเป็นทางกายภาพหรือพฤติกรรม พวกเขาอาจจะมีอาการสมาธิสั้น หรือมีปัญหาทางด้านพัฒนาการ

    การรักษา fetal alcohol syndrome

    ถึงแม้ว่า fetal alcohol syndrome จะรักษาไม่หาย แต่ก็สามารถรักษาอาการบางอย่างได้ การวินิจฉัยโรค และการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการของเด็กที่แสดงออกมา พวกเขาอาจต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาพิเศษ และการบริการสังคม จะสามารถช่วยเหลือเด็กเล็ก ๆ ได้  ตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักแก้ไขการพูด ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับเด็กวัยหัดเดิน เพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะพูดคุย

    เด็กที่เป็น fetal alcohol syndrome ควรได้รับการดูแลด้วยความรักและเอาใจใส่จากที่บ้าน พวกเขาอาจประสบความยุ่งยากในการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าเด็กทั่วไป และหากได้รับความรุนแรง หรือถูกทำร้ายจากที่บ้าน เด็กที่เป็น fetal alcohol syndrome มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในด้านความรุนแรง และการใช้สารเสพติด เด็ก ๆ เหล่านี้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดี ดังนั้น ควรตั้งกฎง่าย ๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามได้  และให้รางวัลสำหรับการประพฤติตัวดี

    การใช้ยา

    ไม่มียาที่ใช้รักษา fetal alcohol syndrome โดยเฉพาะ แต่จะใช้ยารักษาตามอาการต่างๆ ยาเหล่านั้น เช่น

    • ยารักษาโรคซึมเศร้าเพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับความเศร้า และความคิดในด้านลบ
    • สารกระตุ้นเพื่อลดการขาดสมาธิ ปัญหาสมาธิสั้น และปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ
    • ยารักษาทางจิตเวช เพื่อรักษาความวิตกกังวล

    การให้คำปรึกษา

    การฝึกพฤติกรรมอาจช่วยได้ เช่น การฝึกให้เด็กเข้าสังคม สอนทักษะการโต้ตอบกับเพื่อนๆ การฝึกปฏิบัติ และพัฒนาทักษะความสามารถ เช่น การควบคุมตนเอง การมีเหตุผล ความเข้าใจเหตุและผล เด็กที่มีอาการของ fetal alcohol syndrome จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากทางโรงเรียนด้วย เช่น คุณครูจะสามารถช่วยให้เด็กพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในโรงเรียนได้

    พ่อแม่และพี่น้องอาจต้องการความช่วยเหลือในการรับมือกับความท้าทายนี้ ความช่วยเหลือนี้สามารถทำได้โดยผ่านการพูดเพื่อบำบัด หรือกลุ่มผู้สนับสนุน อีกทั้งพ่อแม่ยังควรได้รับการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับความต้องการของบุตรหลานของตนเอง การฝึกอบรมผู้ปกครองจะมีการสอนวิธีการโต้ตอบ และดูแลบุตรหลานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    การรักษาแบบทางเลือก

    พ่อแม่บางคนพยายามแสวงหาการรักษาทางเลือกที่นอกเหนือจากสถานประกอบการทางการแพทย์ ซึ่งรวมถึงการรักษา เช่น การนวด การฝังเข็ม การรักษาแบบทางเลือกยังรวมถึงเทคนิคการเคลื่อนไหว เช่น การออกกำลังกาย โยคะ

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการดูแลตัวเองที่จะช่วยจัดการกับ fetal alcohol syndrome

    รูปแบบการใช้ชีวิตและการดูแลตัวเองต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับ fetal alcohol syndrome

    • หยุดดื่มแอลกอฮอล์ทันทีที่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนมีลูก ยิ่งหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีต่อลูกมากขึ้นเท่านั้น
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดการตั้งครรภ์กลุ่มอาการของทารกที่ได้รับแอลกอฮอล์ในครรภ์ สามารถป้องกันได้ ถ้าแม่ของเด็กไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์
    • ควรพิจารณาเมื่อจะดื่มแอลกอฮอล์ ว่าในช่วงที่ผ่านมา ได้มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันหรือไม่ บ่อยครั้งที่การตั้งครรภ์เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผน ซึ่งความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรกของการตั้งครรภ์
    • หากมีปัญหาเกี่ยวกับการติดแอลกอฮอล์ ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอความช่วยเหลือก่อนที่จะตั้งครรภ์ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดระดับการติดแอลกอฮอล์และวางแผนการรักษา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา