backup og meta

น้ำคร่ำเยอะ (Polyhydramnios) อาการแบบไหน

น้ำคร่ำเยอะ (Polyhydramnios) อาการแบบไหน

น้ำคร่ำเยอะ หรือภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก ร่างกายบวม หากสงสัยว่าตนเองมีน้ำคร่ำเยอะหรือไม่ ควรหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย หากปล่อยทิ้งไว้อาจเสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

[embed-health-tool-due-date]

คำจำกัดความ

น้ำคร่ำเยอะ หรือภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios)  คืออะไร  

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากการที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำเยอะเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา หากปล่อยไว้ระยะเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแท้งและการคลอดก่อนกำหนดได้

พบได้บ่อยเพียงใด

พบได้บ่อยในผู้หญิงป่วยโรคเบาหวาน

อาการ

อาการของภาวะน้ำคร่ำมาก

อาการของภาวะน้ำคร่ำมากเป็นผลมาจากแรงดันที่เกิดขึ้นภายในมดลูกและอวัยวะใกล้เคียงกับมดลูก ส่งให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์มีอาการ ดังต่อไปนี้

  • หายใจไม่ค่อยออก
  • แขน ขา ผนังหน้าท้อง มีอาการบวม
  • รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล

สาเหตุ

สาเหตุของน้ำคร่ำเยอะ

น้ำคร่ำเยอะเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ น้ำคร่ำเยอะ

  • คลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะเด็กกลับหัว
  • สายสะดือย้อย
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะ น้ำคร่ำเยอะ

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการ ตรวจสอบดูด้วยด้วยวิธีอัลตราซาวด์หาความผิดปกติของทารกในครรภ์  หรือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการของอวัยวะภายในทารกและปริมาณน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยบ่งบอกถึงสาเหตุและวินิฉัยโรคได้อย่างละเอียดแม่นยำ

การรักษาภาวะน้ำคร่ำเยอะ

การรักษาภาวะน้ำคร่ำเยอะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล แพทย์อาจจ่ายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องทำการเจาะถ่ายน้ำคร่ำออกเพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำ  หากทารกอยู่ในตำแหน่งผิดที่ (กลับหัว) แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะ น้ำคร่ำเยอะ สามารถป้องกันตนเองได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำคร่ำมาก ดังนั้น หากรู้ตัวว่าเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาคุณหมอและนัดตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อน อย่างการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Polyhydramnios. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polyhydramnios/symptoms-causes/syc-20368493.  Accessed July 27, 2023.

What is polyhydramnios?. https://www.childrensmn.org/services/care-specialties-departments/fetal-medicine/conditions-and-services/polyhydramnios/. Accessed July 27, 2023.

Evaluation and management of polyhydramnios. https://www.contemporaryobgyn.net/view/evaluation-and-management-polyhydramnios. Accessed July 27, 2023.

Amniotic fluid index. Gestational age-specific values for normal human pregnancy. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8277480/. Accessed July 27, 2023.

Polyhydramnios. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polyhydramnios/symptoms-causes/syc-20368493. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

น้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน สัญญาณและวิธีรับมือที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา