backup og meta

ไวรัสตับอักเสบบี พาหะ และผลที่อาจเกิดกับทารก

ไวรัสตับอักเสบบี พาหะ และผลที่อาจเกิดกับทารก

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นภาวะที่ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทยปี พ.ศ.2561 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรหรือประมาณ 3 ล้านคน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก และหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ด้วย การเรียนรู้และศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี พาหะ และผลกระทบที่อาจเกิดกับทารกหากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคนี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคไวรัสตับอักเสบบีได้ดีขึ้น

[embed-health-tool-due-date]

ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ ภาวะที่ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แม้ว่าเชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในเลือดและของเหลวในร่างกาย แต่ตับเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจมีไวรัสอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต หรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี และเชื้ออาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อตับได้ทุกเมื่อ

ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีบางรายอาจไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ และอาจไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม และอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ไวรัสตับอักเสบบี พาหะ อาจติดต่อสู่กันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือการให้เลือด วิธีที่จะทราบได้ว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกายหรือไม่ คือ การเข้ารับการตรวจเลือดโดยเฉพาะ

อาการที่อาจพบได้เมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการเหล่านี้ หรือสงสัยว่าตัวเองเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที

อันตรายจากไวรัสตับอักเสบบีที่มีต่อทารก

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตร แต่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทารก เพราะทารกอาจติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ในระหว่างคลอด ทั้งการคลอดแบบธรรมชาติหรือการผ่าคลอดทางหน้าท้อง

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถือเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับทารก หากทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบบเรื้อรังตลอดชีวิตสูงถึง 90%

ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจำนวน 1 ใน 4 จะเกิดปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง ทารกที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจเกิดความผิดปกติของตับ โรคตับ หรือมะเร็งตับเมื่อโตขึ้น และอาจแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในทารกแรกเกิด

โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจากผู้หญิงตั้งครรภ์สู่ทารกแรกเกิด อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจดูแลตนเองเพื่อป้องกันและปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์

ตรวจสุขภาพและตรวจครรภ์ตามกำหนด

ผู้หญิงที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและกำลังตั้งครรภ์ ควรตรวจสุขภาพและตรวจครรภ์ตามกำหนด โดยคุณหมออาจตรวจสุขภาพตับ และจำนวนไวรัสในร่างกายด้วย การตรวจเหล่านี้อาจช่วยให้ทราบถึงสภาวะการเจ็บป่วย และหากจำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้สั่งจ่ายยาได้อย่างเหมาะสม โดยยาฆ่าเชื้ออาจช่วยลดจำนวนไวรัสในร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พาหะที่อาจส่งผ่านระหว่างตั้งครรภ์ได้

ฉีดวัคซีนให้ลูก

เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทารกแรกเกิดที่คุณแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต้องได้รับ Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และรับต่อเนื่องเมื่ออายุครบ 1 เดือน 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ ซึ่งอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้มากกว่า 90% ไปตลอดชีวิต และเมื่อทารกอายุครบ 12 เดือน ต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันให้แน่ชัดว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากคุณแม่หรือไม่

อย่าเคี้ยวอาหารแล้วนำมาป้อนลูก

แม้การเคี้ยวอาหารแล้วนำมาป้อนทารกจะเป็นสิ่งที่อาจพบได้ทั่วไป แต่สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว เพราะเลือดของคุณแม่อาจปนเปื้อนในอาหาร หากนำอาหารที่เคี้ยวมาป้อนทารกอาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hepatitis B Foundation – Pregnant Women. http://www.hepb.org/patients/pregnant_women.htm. Accessed June 20, 2022.

Protect Your Baby For Life. http://www.cdc.gov/hepatitis/HBV/PDFs/HepBPerinatal-ProtectWhenPregnant.pdf. Accessed June 20, 2022.

Viral Hepatitis: Perinatal Transmisstion. https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/perinatalxmtn.htm. Accessed June 20, 2022.

Hepatitis B and Hepatitis C in Pregnancy. https://www.acog.org/womens-health/faqs/hepatitis-b-and-hepatitis-c-in-pregnancy. Accessed June 20, 2022.

แนวทางการดำเนินงานการกำจัดการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่สู่ลูก. http://odpc9.ddc.moph.go.th/vaccine/Document/การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก.pdf. Accessed June 20, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/10/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้องเลือดกำเดาไหล อันตรายหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา