backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19

พัฒนาการทารกในการตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 19

ลูกจะเติบโตอย่างไร

สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะขนาดตัวเท่ากับ มะม่วง มีน้ำหนักตัวประมาณ 240 กรัม และสูงประมาณ 15 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

ผิวหนังของทารกน้อยเริ่มพัฒนาเม็ดสี พร้อมมีไขมันในทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ซึ่งมีลักษณะคล้ายแว็กซ์สีขาว ๆ เคลือบผิวเอาไว้ เพื่อช่วยปกป้องผิวของทารกจากน้ำคร่ำ โดยไขมันทารกแรกเกิดนี้จะหายไปในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ นั่นจึงทำให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีไขมันทารกแรกเกิดนี้ติดผิวหนังออกมาตอนคลอดด้วย ในสัปดาห์นี้ชั้นไขมันสีน้ำตาลจะมีการพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ลูกน้อยหลังคลอด และชั้นไขมันนี้จะยังพัฒนาต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ในช่วงเวลานี้จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวแรกนั้นจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบเบา ๆ เป็นช่วงสั้น ๆ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะได้ แต่หลังจากนั้นจะรู้สึกได้ถึงแรงถีบ แรงต่อย และอาการสะอึกของลูกน้อยได้ เด็กแต่ละคนจะมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป แต่หากสังเกตได้ว่าอาการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ลดลง ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจถือเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน จึงไม่ควรกังวลมากเกินไป ควรพยายามลองปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกร้อนหรืออึดอัด ก็ลองอาบน้ำให้สบายตัว ลองคิดถึงแต่ด้านบวกของการตั้งครรภ์ เช่น ช่วงเวลาของการเป็นแม่คือช่วงเวลาแห่งความสุขสันต์ เพราะหากคิดแต่ด้านลบ นอกจากจะส่งผลกระทบกับสุขภาพของตัวเองแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบไปยังทารกในครรภ์ด้วย

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

วันหนึ่งอาจรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์อย่างต่อเนื่อง แต่พอวันถัดไปทารกในครรภ์อาจหยุดนิ่งไปเฉย ๆ แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะนี่ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่ไม่มีแบบแผนแน่นอน แต่เมื่ออายุครรภ์ถึง 28 สัปดาห์ ทารกน้อยในครรภ์ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากถึงเวลานั้นแล้วพบว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวผิดแปลกไป ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

หากทารกในครรภ์ไม่เคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน ก่อนนอนลองกระตุ้นลูกน้อยด้วยการดื่มนมหนึ่งแก้ว หรือน้ำส้มสักถ้วย หรืออาหารว่างที่มีประโยชน์ รอประมาณ 1-2 ชั่วโมงแล้วเอนกายนอน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายในไม่ช้า หากครั้งแรกยังไม่ได้ผล ให้รอสัก 2-3 ชั่วโมงแล้วลองทำวิธีนี้ใหม่อีกครั้ง คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นเวลา 1-2 วัน หรือบางคนอาจนานถึง 3-4 วัน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ถือว่าเป็นอันตรายอะไร แต่หากกังวล หรือไม่สบายใจ ก็สามารถปรึกษาคุณหมอได้

การทดสอบที่ควรรู้

คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นการทดสอบในกรณีพิเศษ ไม่ใช่การทดสอบตามอายุครรภ์ สำหรับการทดสอบน้ำคร่ำ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะนำตัวอย่างน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวทารกในครรภ์ออกมาตรวจ เพื่อหาความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) อย่างไรก็ตาม การทดสอบน้ำคร่ำถือเป็นการทดสอบที่มีความเสี่ยง จึงควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินประโยชน์ที่ได้รับ ความเสี่ยง และข้อจำกัดต่าง ๆ ของการทดสอบชนิดนี้ให้ดี

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • การมีเพศสัมพันธ์

คุณแม่อาจเป็นกังวลว่าจะต้องงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การมีเพศสัมพันธ์นั้นมีความปลอดภัยในทุกอายุครรภ์ ตราบใดที่การตั้งครรภ์ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลเป็นพิเศษ แต่ถึงแม้จะมีความปลอดภัย คู่รักหลายคู่ก็อาจต้องงดเรื่องนี้ไปโดยปริยาย เนื่องจากฝ่ายหญิงหรือคุณแม่ตั้งครรภ์มักประสบปัญหาไม่มีอารมณ์ทางเพศ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพร่างกาย สภาพจิตใจที่มาพร้อมกับการตั้งครรภ์ รวมไปถึงขนาดของทารกในครรภ์ด้วย 

  • นมวัวที่มีฮอร์โมน bST

ผู้หญิงตั้งครรภ์หลายคนนิยมดื่มนมวัว เพราะเชื่อว่าเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีสำหรับทารกในครรภ์ แต่อาจไม่ทราบว่า นมวัวอาจมีการฉีดฮอร์โมนที่เรียกว่า Bovine growth hormone (bGH) หรือ Bovine Somatotropin (bST) ซึ่งเป็นโปรตีนฮอร์โมน ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นเต้านมแม่วัว ทำให้แม่วัวสามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้น ซึ่งว่ากันว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะการพาสเจอไรส์อาจทำลายฮอร์โมนดังกล่าวได้กว่า 90% ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำนมวัวดิบ ควรดื่มนมวัวที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์แล้วเท่านั้น

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 30, 2015

Pregnancy calendar week 19. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week19.html. Accessed March 30, 2015

Your pregnancy: 19 weeks. https://www.babycenter.com/19-weeks-pregnant. Accessed March 30, 2015

19 weeks pregnant. https://www.babycenter.com/pregnancy/week-by-week/19-weeks-pregnant. Accessed August 22, 2022

19 weeks pregnant. https://raisingchildren.net.au/pregnancy/week-by-week/second-trimester/19-weeks. Accessed August 22, 2022

19 weeks pregnant: Bonding with bump. https://www.smababy.co.uk/pregnancy/week-by-week/19-weeks-pregnant/. Accessed August 22, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องทำงานบ้าน อันตรายหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

คนท้องท้องผูก รับมืออย่างไรเพื่อให้การขับถ่ายสะดวก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 22/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา