backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ตอนนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่าผลฟักเขียว หรือฟักแฟง ที่มีความสูงจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 27.9 เซนติเมตร และหนักประมาณ 453 กรัม ซึ่งในสัปดาห์นี้ ปาก เปลือกตา และคิ้ว จะชัดเจนขึ้นแล้ว

ทารกในครรภ์กำลังเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน ๆ ปุ่มรับรสเริ่มก่อร่างขึ้นในลิ้นแล้ว และตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะแสดงอารมณ์ในขณะที่เคลื่อนไหวด้วย นอกจากนี้ อวัยวะสืบพันธุ์ของลูกน้อยยังเจริญเติบโตต่อไป และในเด็กผู้ชาย ลูกอัณฑะจะเริ่มเลื่อนต่ำลงมาจากท้อง ส่วนในเด็กผู้หญิง มดลูกและรังไข่จะอยู่เป็นที่เป็นทางแล้ว และช่องคลอดก็เริ่มพัฒนาขึ้นด้วย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

มดลูกอาจเกิดการหดตัวบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นอาการบีบรัดอาจไม่ทำให้มีอาการเจ็บปวดอะไร คุณไม่ต้องเป็นกังวลไปนะ เพราะอาการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของคุณ แต่ถ้ามีอาการบีบรัดหนักขึ้น บ่อยขึ้น หรือรู้สึกเจ็บ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 22

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ในช่วงเวลานี้ นอกเหนือจากพุงจะใหญ่ขึ้นแล้ว แขนขาของคุณยังมีอาการไม่มีแรงด้วย อาการไม่มีแรงในช่วงตั้งครรภ์นี้ เกิดจากข้อต่อและเส้นเอ็นคลายตัว หรือมีการสะสมของของเหลวใต้ผิวหนัง ซึ่งปัจจัยทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ไม่สามารถจับถืออะไรได้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่นการขาดสมาธิ และขาดความคล่องแคล่วซึ่งเป็นผลมาจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

การพบหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

เวลาที่คุณตั้งครรภ์นั้น กางเกงในมักจะมีรอยเปื้อนสีชมพูหรือสีแดง ซึ่งเป็นรอยเลือดที่เกิดขึ้นตามปกติตั้งแต่เดือนที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากปากมดลูกไวต่อความรู้สึก ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากการตรวจภายใน การมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ

แต่ถ้าคุณมีอาการตกเลือดที่ส่งสัญญาณว่ามีอะไรผิดปกติ ก็ควรแจ้งให้แพทย์รู้ด้วย ถ้าคุณมีอาการตกเลือดมาก หรือมีรอยเลือดพร้อมอาการเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ก็ควรปรึกษาคุณหมอทันที ซึ่งคุณหมออาจอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

การทดสอบใดที่ควรรู้

ตอนนี้ การไปพบคุณหมอกลายเป็นเรื่องที่คุณรู้สึกคุ้นเคยไปซะแล้ว คุณอาจคาดหวังให้คุณหมอทำการตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีอะไรที่แตกต่างจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นพิเศษของคุณนั่นแหละ

  • ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก เพื่อคำนวณหาวันที่ครบกำหนดคลอด
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • ตรวจสอบอาการบวมของมือและเท้า และตรวจหาเส้นเลือดขอดบริเวณขาด้วย
  • อาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคุณ โดยเฉพาะอาการที่ผิดปกติ
  • ควรจัดเตรียมรายการข้อสงสัยและปัญหา ที่อยากจะซักถามคุณหมอไว้ให้พร้อม

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

การกินน้ำผึ้งในช่วงตั้งครรภ์นั้นดีหรือเปล่า ? ยังไม่มีหลักฐานอะไรที่ระบุว่าคุณไม่ควรกินน้ำผึ้งในช่วงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้น หากน้ำผึ้งนั้นมีสารพิษโบทูลินัม (Botulinum toxin) ฉะนั้นหลีกเลี่ยงการกินน้ำผึ้งดิบจะดีกว่า เนื่องจากเป็นน้ำผึ้งที่ยังไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ มากไปกว่านั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรกินอะไรที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เนื่องจากอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคแฝงอยู่ในนั้น

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby? http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed date 3/30/2015.

Pregnancy calendar week 22. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week22.html. Accessed date 3/30/2015.

Your pregnancy: 22 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-22-weeks_1101.bc. Accessed date 3/30/2015.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาฆ่าแมลง อันตรายที่ แม่ท้อง ไม่ควรมองข้าม

คนท้องท้องผูก รับมืออย่างไรเพื่อให้การขับถ่ายสะดวก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา