backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23 อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลมะม่วงลูกใหญ่ ๆ มีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกาย ผิวหนังเหี่ยวย่น และอาจเคลื่อนไหวบ่อย คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจตามกำหนดของคุณหมอ เพื่อให้แน่ใจว่าทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตโดยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 23

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ในช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับมะม่วงลูกใหญ่  ๆ ที่มีน้ำหนักประมาณ 454 กรัม และสูงประมาณ 27.9 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

ถึงแม้จะมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว แต่ผิวของทารกก็ยังย่นอยู่ และมีริ้วรอยปรากฎให้เห็นด้วย นอกจากนี้ทารกยังมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน และขา ส่งผลให้รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวอยู่ในท้อง

นับจนถึงตอนนี้ทารกน้อยในครรภ์ จะมีน้ำหนักตัวมากกว่า 454 กรัมแล้ว ถ้ามีการคลอดก่อนกำหนวดในช่วงสัปดาห์นี้ ทารกจะสามารถมีชีวิตรอดได้ด้วยการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ แต่อาจมีความผิดปกติเล็กน้อย หรือจนถึงขั้นมีความผิดปกติรุนแรงได้ และจากผลงานวิจัยทางด้านสูตินรีเวชวิทยา ที่มีอยู่มากมายนั้น กรณีที่เด็กคลอดก่อนกำหนดนั้นกำลังค่อย  ๆ ลดลงทุก  ๆ ปี

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ยิ่งใกล้ถึงวันกำหนดคลอดมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งนอนหลับได้ยากมากขึ้นเท่านั้น มากไปกว่านั้นอาจมีความวิตกกังวล การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย  ๆ อาการแสบร้อนกลางอก อาการปวดขา และความรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวต่าง  ๆ อาจรบกวนการนอนหลับของผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ แต่สุขภาพของลูกน้อยนั้นก็ต้องอาศัยการนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียงด้วย ฉะนั้น ลองฟังเพลงสบาย  ๆ อ่านหนังสือ หรือจิบชาสมุนไพร เพื่อช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้น

คุณหมอหลายต่อหลายคนได้แนะนำ ให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ทั้งหลายนอนตะแคง โดยหลีกเลี่ยงการนอนหงายหรือนอนคว่ำ เพื่อช่วยให้เลือดไหวเวียนไปที่รกได้สะดวก ถ้ารู้สึกไม่สบายตัว ก็ลองวางหมอนไว้ตรงระหว่างเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยแรงกดของลูกน้อยในขณะนอนตะแคงข้าง

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

อาจเป็นตะคริวที่ขาในตอนกลางคืน ที่อาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โดยปกติแล้วการเป็นตะคริวนี้จะเกิดในบริเวณน่อง ซึ่งจะพบบ่อยเมื่อมีอายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป และยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุ แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม สามารถใช้เคล็ดลับดี  ๆ เหล่านี้ในการป้องกันและบรรเทาอาการตะคริวที่ขาได้

  • เวลาที่เป็นตะคริว ต้องเหยียดขาให้ตรงแล้วค่อย ๆ งอปลายเท้าเข้ามา (ไม่ใช่เหยียดปลายเท้าไปข้างหน้า) วิธีนี้จะช่วยให้หายปวดได้ในไม่ช้า
  • การออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยป้องกันตะคริวให้ได้
  • ในการลดแรงกดบริเวณขานั้น ก็ควรยกเท้าขึ้นบ่อย ๆ นอกจากนี้ก็ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุงกล้ามเนื้อขาในช่วงกลางวัน และควรงอขาเป็นระยะ ๆ ด้วย
  • อาจใช้วิธีนวด หรือใช้ลูกประคบ เพื่อลดความเจ็บปวดลงก็ได้
  • อย่าลืมดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

อาการแรกเริ่มของโรคครรภ์เป็นพิษนั้นก็ได้แก่ น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว มือและใบหน้าบวม ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง เจ็บบริเวณหลอดอาหาร เกิดอาการคันตามร่างกาย และ/หรือ มีการมองเห็นที่ผิดปกติ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาคุณหมอ

การทดสอบที่ควรรู้

คุณหมออาจตรวจสอบร่างกายตามรายการต่อไปนี้

  • ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก เพื่อดูว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดหรือยัง
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • อาการต่าง  ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับ โดยเฉพาะอาการที่ผิดปกติ
  • จัดเตรียมรายการข้อสงสัยและปัญหา ที่อยากซักถามคุณหมอไปให้พร้อม

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดี และปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • ควรกินอาหารที่ปรุงสุก เนื้อสัตว์แปรรูป อย่างเช่น เบอน ไส้กรอก และแฮม อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายได้ แต่สามารถฆ่าเชื้อพวกนั้นด้วยอุณหภูมิความร้อนสูง ๆ ฉะนั้นในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่นี้ ก็ควรปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทาน
  • มีแนวโน้มจะเกิดโรคในขณะตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้เชื้อจุลินทรีย์ ยังสามารถผ่านรกเข้าไปโจมตีลูกน้อยได้ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยก็ไม่พร้อมจะทำการต่อสู้กับเชื้อโรคพวกนี้ด้วย
  • ถ้ารู้สึกชาหรือตึง ๆ บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยล่ะก็ นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ถึงแม้อาการเจ็บปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ แต่อาจจะรู้สึกปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งการนอนทับมือจะทำให้ปัญหาเลวร้ายเข้าไปกันใหญ่

ฉะนั้น จึงควรหนุนหมอนแยกออกจากมือ เวลาที่มีอาการชาเกิดขึ้น ก็สะบัดมือเบา ๆ เพื่อช่วยลดอาการชานั้นลง ถ้าทำแล้วไม่ได้ผล และอาการชานี้ทำให้หลับไม่สนิทล่ะก็ ควรปรึกษาคุณหมอ การใส่เฝือกข้อมือหรือการฝังเข็ม อาจช่วยลดอาการเจ็บปวดให้ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby? http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 30, 2015

Pregnancy calendar week 23. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week23.html. Accessed March 30, 2015

Your pregnancy: 23 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-23-weeks_1101.bc. Accessed March 30, 2015

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/10/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 2 มีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

คนท้องทำงานบ้าน อันตรายหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 24/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา