backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36

ลูกจะเติบโตอย่างไร

สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับมะละกอลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 47 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

บัดนี้ทารกน้อยดูอ้วนจ้ำม่ำขึ้นมาแล้ว แก้มของลูกน้อยมีไขมันสะสม และมีกล้ามเนื้ออันทรงพลัง ที่จะช่วยให้ทารกน้อยสามารถดูดนม ดูดนิ้วได้อย่างคล่องแคล่ว

แผ่นกระดูกที่จะกำลังก่อตัวขึ้นเป็นกะโหลกศีรษะ อาจเคลื่อนซ้อนทับกันในขณะที่ศีรษะของทารกน้อยอยู่ข้างในเชิงกราน ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “การเปลี่ยนรูปศีรษะ’ ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถผ่านออกไปทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น

ตอนคลอด ศีรษะของทารกน้อยบางคนอาจดูแหลมผิดปกติ หรือผิดรูป แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ในขณะที่ลูกน้อยกินเนื้อที่ในครรภ์มากขึ้นนั้น ก็อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด แม้จะกินอาหารในปริมาณปกติก็ตาม ฉะนั้น ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อขึ้น เช่น เปลี่ยนจากกินอาหารวันละ 3 มื้อเป็นวันละ 5 มื้อ และกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยลง

เมื่ออยู่ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด ลูกน้อยจะเคลื่อนตัวต่ำลงไปอยู่ใกล้เชิงกรานมากขึ้น กระบวนการนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนถึงวันคลอด 2-3 วัน ซึ่งอาจจส่งผลให้คุณแม่เดินไม่สะดวกเท่าใดนัก และรู้สึกเหมือนมีแรงกดทับในช่องคลอดมากขึ้น ซึ่งหญิงตั้งครรภ์บางคนถึงกับเปรียบเปรยว่า รู้สึกเหมือนใช้ขาหนีบลูกโบว์ลิ่งไว้อย่างไรอย่างนั้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36

สัปดาห์นี้ มดลูกอาจมีการบีบรัดตัวบ่อยขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณแม่บางคนสับสนว่า อาการที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการเจ็บท้องหลอก ซึ่งหมายถึงการเจ็บท้องที่ไม่มีการคลอดลูกตามมา หรือเจ็บท้องจริง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายพร้อมคลอดจริงๆ แล้วกันแน่ สิ่งสังเกตง่ายๆ คือ หากเจ็บท้องหลอก คุณแม่จะรู้สึกปวดท้องเหมือนเวลามีประจำเดือน มดลูกจะบีบรัดตัวแบบไม่สม่ำเสมอ มักหายเจ็บเมื่อเปลี่ยนท่า แต่หากเป็นการเจ็บท้องจริง คุณแม่จะรู้สึกปวดหลัง และปวดท้องมากขึ้น มดลูกบีบรัดตัวทุก 10 นาทีอย่างสม่ำเสมอ แต่ละครั้งนาน 30-70 นาที เปลี่ยนท่าก็ไม่หายปวด รวมถึงมีมูกเลือด หรือน้ำคว่ำไหลออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรียกว่า “น้ำเดิน‘ นั่นเอง

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ก่อนที่จะถึงช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีน้ำหนักตัวคงที่ น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ส่งผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์แต่อย่างใด การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวคงที่ เป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายของคุณพร้อมสำหรับการคลอดลูกแล้วนั่นเอง

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

คุณหมอจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก เช่น สัญญาณของการคลอดลูก การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด เพื่อให้คุณสามารถเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด อย่างไรก็ตาม สัญญาณการคลอดลูกอาจจะไม่เกิดขึ้นตามปกติ ฉะนั้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยอะไร ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การทดสอบที่ควรรู้

ในช่วงเนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องเข้าพบคุณหมอบ่อยขึ้น และต้องตรวจสอบร่างกายหลายรายการเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณหมอต้องประเมินขนาดของทารกในครรภ์ รวมไปถึงคำนวณวันคลอด โดยการตรวจ หรือทดสอบร่างกายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 34 นี้ ได้แก่

  • ชั่งน้ำหนัก โดยส่วนใหญ่น้ำหนักตัวของคุณแม่จะคงที่หรือลดลง
  • วัดความดันโลหิต ซึ่งความดันโลหิตอาจสูงกว่าในช่วงไตรมาสที่ 2
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • ตรวจหาเส้นเลือดขอดที่ขา รวมทั้งอาการบวมที่มือและเท้า
  • วัดขนาดมดลูก โดยการตรวจภายใน เพื่อตรวจเช็คความหนาของผนังมดลูก และดูว่าปากมดลูกเริ่มเปิดหรือยัง
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดทารก ตรวจสอบท่าทางก่อนคลอด ว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าเอาหัวลงหรือเอาก้นลง และก้มหน้าหรือเงยหน้าขึ้น)

คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจต้องมีการตรวจร่างกายนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่เหลือ หรือการคลอดบุตร เช่น การเจ็บท้องคลอด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • การฝังเข็ม

การฝังเข็มนั้นมีความปลอดภัยและใช้ได้ผลดีในช่วงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฝังเข็มสามารถช่วยลดความเครียด เยียวยาอาการแพ้ท้อง เยียวยาอาการปวดสะโพกและหลังส่วนล่าง รวมทั้งช่วยเยียวยาอาการซึมเศร้าแบบอ่อนๆ จนถึงปานกลางได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การฝังเข็มจะส่งผลดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์หลายด้าน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนการดูแลทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแลก่อนตัดสินใจฝังเข็ม 

  • การมีเพศสัมพันธ์

คุณไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 หากมีภาวะเหล่านี้

  • ภาวะรกเกาะต่ำ เพราะหากอวัยวะเพศชายสัมผัสกับปากมดลูก อาจทำให้เกิดความผิดปกติหลังคลอด และทำให้ทารกเลือดออกได้
  • ภาวะตกเลือด
  • น้ำคร่ำแตก เพราะจะทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อโรคได้
  • มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะปากมดลูกหลวมหรือปิดไม่สนิท

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 3, 2015

Pregnancy calendar week 36. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week36.html. Accessed March 3, 2015

Your pregnancy: 36 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-36-weeks_1101.bc.  Accessed March 3, 2015

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

แม่หลังคลอด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่พบได้บ่อย

ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา