backup og meta

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ กับสัญญาณเตือนที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ กับสัญญาณเตือนที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นช่วงเวลาที่มีอารมณ์หลากหลายมากมาย จนคุณแม่อาจจะรับมือไม่ทัน สาเหตุของอารมณ์ที่หลากหลาย อาจจะมากจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน แต่ถ้าหากเป็นอารมณ์แบบนี้นาน ๆ อาจจะดีต่อสุขภาพจิต ดังนั้น ลองมาดูกันว่าภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์มีอาการอย่างไร

[embed-health-tool-due-date]

คำจำกัดความ

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่ส่งต่อทางอารมณ์ อาจทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ มีการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นไปในทางด้านลบ อารมณ์ที่มีการแปรปรวน อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ พบได้บ่อยแค่ไหน

ช่วงเวลาการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีความสุข แต่ก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเครียดเหมือนกัน ซึ่งมีการวิจัยเผยว่า ผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 7% นั้นมีภาวะซึมเศร้า โดยอาจมีอัตราสูงขึ้นตามแต่ละภูมิภาค หรือประเทศที่อยู่อาศัย

อาการ

อาการของ ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่คนในครอบครัวที่ควรสังเกตุอาการหรือสัญญาณ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกหดหู่ เศร้าหมองตลอดเวลา เกือบทุกวัน หรือเกือบทุกสัปดาห์
  • รู้สึกหงุดหงิด โกรธ วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน
  • รู้สึกอยากร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด
  • เริ่มมีปัญหากับการนอน เช่น การนอนเยอะ หรือน้อยเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารก็เช่นกัน
  • กังวลไปก่อนว่าจะเลี้ยงลูกน้อยอย่างไร จะปกป้องได้หรือไม่ จะเป็นแม่ที่ดีได้หรือเปล่า และอื่น ๆ
  • มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งใด สิ่งหนึ่งได้ไม่นาน หรือสมาธิสั้นลง
  • รู้สึกว่ากิจกรรมที่เคยทำ เคยชอบ ไม่สนุกสนานเหมือนเมื่อก่อน

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการที่แตกต่างออกไปและมีความกังวล ควรไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจสอบ และปรึกษาเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุของ ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีหลายสิ่งเป็นตัวกระตุ้น ได้แก่

  • ครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้า หรือสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เคยมีภาวะซึมเศร้ามาก่อน
  • เคยสูญเสีย หรือแท้งจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • ภาวะมีบุตรยาก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เช่น

  • อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่กดดัน มีคนคาดหวังจากตัวคุณสูง
  • สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร
  • มีความวิตกกังวลในเรื่องต่าง ๆ
  • มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
  • การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม หรือไม่พึงประสงค์
  • มีปัญหาชีวิตคู่ เช่น การแยกกันอยู่
  • ความเครียดสะสมจากการทำงาน หรืออื่น ๆ ที่ทำให้เป็นกังวล
  • อายุอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ยิ่งถ้าหากคุณแม่อายุน้อย ความเสี่ยงอาจยิ่งสูงขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

แพทย์จะมีการสอบถามจากแบบสอบถามการตรวจคัดกรองที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ โดยจะประกอบไปด้วยคำถามที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความวิตกกังวล ซึ่งเมื่อตอบคำถามเสร็จทั้งหมด การประเมินจะออกมาในรูปแบบของคะแนนที่มีการแบ่งแยกชัดเจนว่าคุณแม่มีอาการ ไม่มีอาการ หรือเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงที่จะเริ่มเป็น

การรักษาซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

การรักษาภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์อาจจะต้องดูหลาย ๆ ปัจจัยรวมไปถึงอาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยว่าอยู่ในระดับไหน โดยทางที่ดีคุณแม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษา โดยวิธีการรักษา ได้แก่

  • การใช้ยา การใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า ยาอาจส่งกระทบระยะยาวของทารกหรือไม่ แต่การรักษาภาวะซึมเศร้าก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น แพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด
  • จิตบำบัด เป็นการรักษากับคุณแม่ที่มีอาการภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ซึ่งอาจสามารถจัดการกับอาการได้ด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจและร่างกายของแต่ละคน

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ได้

  • ลดการทำงานบ้านให้น้อยลง โดยให้คู่ชีวิต หรือเพื่อน ๆ หากเขาเสนอมา คุณก็ไม่ควรปฎิเสธ
  • หาอะไรทำที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เช่น การหางานอดิเรกที่อาจไม่เคยทำมาก่อน
  • พยายามพูดคุยมากขึ้น เมื่อคุณเริ่มรู้สึกเครียด หรือกังวลใจ ที่คุณไม่ควรเก็บไว้เพียงคนเดียว
  • การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มระดับเซโรโทนินและลดระดับคอร์ติซอล ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายเหมือนกัน แต่ก็ควรดูด้วยว่าประเภทกีฬานั้นปลอดภัยหรือไม่
  • การเปลี่ยนแปลงนิสัยด้านการกิน เนื่องจากอาหารบางอย่างอาจมีคุณประโยชน์ต่อคนตั้งครรภ์

ที่สำคัญ คือ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่นอนมากหรือน้อยเกินไป หากคุณแม่สามารถจัดตารางเวลาการนอนได้อาจเป็นสิ่งที่ดี รวมไปถึงการไปหาคุณหมอตามเวลานัด เพื่อติดตามอาการ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression during pregnancy: You’re not alone. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/depression-during-pregnancy/art-20237875. Accessed August 5, 2021

Depression During Pregnancy. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9310-depression-during-pregnancy. Accessed August 5, 2021

Depression During Pregnancy. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-health-wellness/depression-during-pregnancy/. Accessed August 5, 2021

Facing Depression During Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/features/facing-depression-during-pregnancy#1. Accessed August 5, 2021

Depression & pregnancy. https://www.thewomens.org.au/health-information/pregnancy-and-birth/mental-health-pregnancy/depression-pregnancy. Accessed August 5, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/05/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา