สุขภาพจิตคุณแม่

สุขภาพจิตคุณแม่ เป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจดูแลไม่แพ้กับการดูแลสุขภาพกายคุณแม่ เพราะสุขภาพจิตที่แข็งแรงสมบูณณ์ ก็จะส่งผลให้คุณแม่มีสุขภาพกายที่แข็งแรงได้พร้อม ๆ กันอีกด้วย เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพจิตคุณแม่ ตั้งแต่ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในคุณแม่ ไปจนถึงการดูแลรักษาสุขภาพจิตของคุณแม่ให้มีสุขภาพดี ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิตคุณแม่

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

อาการหลังลูกหลุดจากการแท้งลูก นอกจากอาการทางกายอย่างเลือดออกจากช่องคลอด รู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจมีอาการทางจิตใจเนื่องจากความเสียใจจากการสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด อาจส่งผลให้ นอนไม่หลับ ฝันร้าย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่ความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้น คนรอบข้างจึงควรดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่การสูญเสียมากกว่าเดิม สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด ซึ่งมักพบได้ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อาจมาจากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ ปัญหาโครโมโซมผิดปกติ โครโมโซมหรือสารพันธุกรรมมีความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเซลล์ของร่างกาย อวัยวะเเละโครงสร้างระบบต่างๆ สีดวงตา สีผิวของทารก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายทารกไม่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ จนนำไปสู่การแท้งบุตรหรือทำให้ลูกหลุด ปัญหาเกี่ยวกับรก เนื่องจากรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงระหว่างคุณแม่และทารก มีหน้าที่คอยรับเลือดและสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อสู่ลูก หากรกมีปัญหา เช่น รกเกาะต่ำ รกมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กผิดปกติ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ ปากมดลูกอ่อนแอ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดบริเวณปากมดลูก เคยมีการถ่างขยายปากมดลูกมาก่อน ความผิดปกติของคอลลาเจลที่ปากมดลูก การบาดเจ็บที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณปากมดลูกอ่อนแรง จนอาจทำให้ปากมดลูกเปิดขยายเร็วจนเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ และส่งผลให้แท้งลูก ความผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เนื้องอกในมดลูก อาจพบได้ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) […]

สำรวจ สุขภาพจิตคุณแม่

สุขภาพจิตคุณแม่

รู้หรือไม่? ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยนะ

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วควรหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะ ความเครียดของแม่ นั้นไม่ส่งผลดีต่อใครทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวคุณแม่เอง หรือแม้แต่ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อคุณและลูกน้อยอย่างไร ความเครียดเรื้อรังหรือเครียดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงอาการปวดหัว การนอนหลับ การหายใจผิดปกติ และชีพจรเต้นเร็วขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาด้านการกิน (การกินอาหารมาก/น้อยเกินไป หรืออาหารผิดประเภท) ผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าความเครียดในครรภ์ของคุณแม่อาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมเมื่อทารกโตขึ้น และปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างในช่วงวัยเด็ก รวมไปถึงความเครียดสามารถเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด (เกิดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) หรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ อะไรทำให้เกิดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุของความเครียดสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นแตกต่างกันไป ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในช่วงระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้ อาจกำลังเผชิญกับความรู้สึกไม่สบายจากการตั้งครรภ์ เช่น แพ้ท้อง ท้องผูก เหนื่อย หรือปวดหลัง ฮอร์โมนภายในกำลังเปลี่ยนแปลง อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน ทำให้การควบคุมอารมณ์ต่ำลง อาจจะกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด รวมไปถึงวิธีการดูแลลูกน้อย อาจจะกังวลว่าสิ่งที่คุณจะกินหรือดื่มเข้าไปนั้นจะส่งผลต่ออะไรต่อลูกน้อยหรือไม่ วิธีการลดความเครียดของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพจิต เพื่อลดความเครียด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ การกินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงหาข้อมูลสิ่งที่คนท้องห้ามกิน และอาหารสิ่งใดที่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถึงแม้อาจจะทำยาก แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกระทำ การออกกำลังกายเบา ๆ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพกาย เพราะภาวะอารมณ์และจิตใจของคุณแม่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะทางอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์ ในขณะที่ด้านร่างกาย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ด้านจิตใจ คุณแม่ควรพยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หาสิ่งที่ชอบทำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เก็บเรื่องต่าง ๆ มาคิดหรือเป็นกังวลจนทำให้เกิดความเครียด  คุณแม่คนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองเครียดง่าย อาจลองหาวิธีดูแลสุขภาพจิตแบบง่าย ๆ มาลองปฏิบัติตามดู [embed-health-tool-due-date] เคล็ดลับการ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ การ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์  เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย คุณแม่ไม่ควรละเลย โดยมีเคล็ดลับเพื่อการดูแลตนเองง่าย ๆ ดังนี้ จัดลำดับความสำคัญในการดูแลตนเอง อย่าทำงานหนักเกินไปและรู้ขีดจำกัดของตนเอง พยายามวางแผนงานประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวลที่ไม่จำเป็นรวมไปถึงหาเวลาว่างในการสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง รับประทานอาหารที่ดี เช่น การรับประทานข้าวโอ๊ต 1 ถ้วยจะทำให้ได้รับวิตามินบี 1 ซึ่งช่วยเพิ่มการผลิตเซโรโทนิน  (Serotonin) ในสมอง เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข และช่วยลดอารมณ์แปรปรวน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันอาการป่วยทางจิตและความเครียดจากการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากสารเอ็นดอร์ฟินจากการออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวและนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยแก้ท้องผูก พยายามเล่าความรู้สึกต่าง ๆ ให้เพื่อน สมาชิกในครอบครัว คุณหมอ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ฟัง ไม่ควรเก็บความรู้สึกไว้กับตนเองเพียงคนเดียว เข้าคอร์สเกี่ยวกับการดูแลทารก การเตรียมตัวคลอด ที่ทางสถานพยาบาลจัดเตรียมไว้ เพื่อพบเจอและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์คนอื่น […]


สุขภาพจิตคุณแม่

โรคจิตหลังคลอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)  คือความผิดปกติทางจิตของคุณแม่ในช่วงเวลาหลังคลอดบุตร ที่อาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลังคลอด ร่วมกับการมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคไบโพลาร์ การตั้งครรภ์ขณะที่มีอายุมาก การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนมาก่อน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคจิตหลังคลอดได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คำจำกัดความ โรคจิตหลังคลอด คืออะไร โรคจิตหลังคลอด คือ เป็นปัญหาสุขภาพจิตหลังคลอด ที่อาจเกิดจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนคุณแม่หลังคลอด โดยจะมีอาการทางระบบประสาท รวมไปถึงอารมณ์ของคุณแม่ช่วงหลังคลอดที่ไม่มั่นคง เดาทางได้ยาก เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรง สามารถพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 500 คน อาการ อาการของโรคจิตหลังคลอด อาการโรคจิตหลังคลอดมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด มีอาการมากกว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สัญญาณที่คุณแม่หลังคลอดควรระวังและสังเกต ได้แก่ ภาพหลอน ไม่ว่าจะเป็นการได้ยิน มองเห็น การได้กลิ่น หรือความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริง ภาพลวงตา มีความคิด หรือความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นความจริง รู้สึกสับสน หงุดหงิด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ ความอยากอาหาร หรือพฤติกรรมในการกินเปลี่ยนไป รู้สึกว่าทุกอย่างแย่ไปหมด ไม่มีความสมเหตุสมผล มีการคิดทำร้ายตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลูกน้อย มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือเชื่อว่าถ้าตายไปจะดีต่อลูกและครอบครัวมากกว่า ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไร

ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เป็นหนึ่งในปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่อาจเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ได้ ดังนั้น คู่รักจึงควรทำความเข้าใจและหาทางแก้ไขปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่อย่างยั่งยืนยาวนาน [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาชีวิตคู่หลังมีลูก เกิดจากอะไร การมีลูกถือเป็นก้าวสำคัญของชีวิตคู่ หรือชีวิตครอบครัว แต่การมีลูกก็อาจสร้าง ปัญหาชีวิตสมรส ให้กับคู่สามีภรรยาหลาย ๆ คู่ได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่การมีลูกอาจส่งผลให้เกิดปัญหาชีวิตสมรสได้ เช่น การอดหลับอดนอนหลังคลอดลูกน้อย นาฬิกาชีวิตของทารกน้อยอาจจะไม่สัมพันธ์กับเวลานอนของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งบางครั้งตอนดึกอาจมีอาการงอแง ร้องไห้หิวนม หรือปวดท้อง ตามประสาของเด็กน้อย และนั่นอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้นอน จนรู้สึกหงุดหงิดง่าย หรือต้องแยกห้องนอน จนส่งผลต่อชีวิตคู่ได้ หน้าที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ซักผ้า กวาดบ้าน หรืออะไรต่าง ๆ บางครั้งลูกน้อยอาจจะดึงเวลาเหล่านี้ไป ทำให้คุณแม่ไม่สามารถทำงานบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเดิม ปัญหาทางด้านการเงิน เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับใครที่คิดจะมีลูก หรือมีลูกแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายในแต่ละอย่างของพวกคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว เหมือนสำนวน “รายรับซื่อสัตย์ รายจ่ายทรยศ” เนื่องจากจำเป็นจะต้องคำนวณค่าใช้ของลูกน้อยด้วย ไม่ว่าจะค่านม ค่าผ้าอ้อม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกจิปาถะ ไม่มีเวลาให้กันและกัน ไม่มีช่วงเวลาสวีทเหมือนแต่ก่อน เพราะต้องใช้เวลาไปกับการดูแลลูกน้อย และหมดพลังงานไป ทำให้บางครั้งภรรยาอาจละเลยสามีได้ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blues ควรรับมืออย่างไร

วิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เป็นการจัดการกับภาวะทางอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ระดับฮอร์โมน รวมทั้งสถานะและหน้าที่ความรับผิดชอบ อาจสร้างความกดดันหรือความคาดหวังให้คุณแม่จนเกิดเป็นภาวะเศร้าหลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับภาวะหลังคลอดและหมั่นสังเกตตนเองเพื่อหาวิธีรับมือและกลับมาเป็นปกติเพื่อตักตวงช่วงเวลาแห่งความสุขกับลูกน้อยให้ได้มากที่สุด [embed-health-tool-due-date] ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คืออะไร ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue เป็นอาการของหญิงคลอดบุตรที่ไม่สามารถจัดการกับสภาพจิตใจหลังจากคลอดบุตรไปแล้วได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลา 2-3 วัน หลังคลอดหรือเมื่อกลับมาอยู่บ้าน หรืออาจนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ปกติ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลังจากคลอดบุตร รวมทั้งภาวะนอนน้อย อดนอน เนื่องจากต้องตื่นขึ้นมาดูแลลูก รวมไปถึงให้นม จึงทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด มีอาการอย่างไร คุณแม่หลังคลอดบุตร อาจสังเกตตนเองว่ามีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือและหาวิธีดูแลตนเอง อารมณ์แปรปรวน เบื่ออาหาร หรือมีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น (ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล) นอนไม่หลับ กลัวการเป็นแม่ที่ไม่ดี กลัวว่าทำหน้าที่เลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ รู้สึกผูกพันกับลูกลดลง มีความวิตกกังวลตลอดเวลา ไม่สามารถมีความสุขกับช่วงเวลาที่ได้เป็นแม่ สาเหตุภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลังจากคลอดลูก ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายและจิตใจอาจปรับตัวไม่ทันจนเกิดอารมณ์แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หลังจากคลอดลูกแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกแบบคลอดธรรมชาติและแผลจากการฉีกขาดของช่องคลอด […]


สุขภาพจิตคุณแม่

โรคซึมเศร้าหลังคลอด ภัยเงียบที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

1 ใน 7 ของคุณแม่ที่เพิ่งให้กำเนิดลูกน้อย พบว่า มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่เรียกว่า เบบี้บลู (Baby Blue) ภาวะนี้มักเกิดขึ้นไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่ซึมเศร้าหลังคลอดนานกว่านั้น นั่นอาจหมายถึงคุณแม่กำลังเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาจส่งผลให้มีอารมณ์แปรปรวน คิดหรือตัดสินใจอะไรได้ช้า มีปัญหาในการนอนหลับ หรืออาจมีปัญหาในการสร้างความผูกพันกับลูกได้ด้วย อาการของ โรคซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่มักประสบกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ เบบี้บลู (Baby Blue) ทำให้มีอาการ เช่น อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เศร้าโศก ฉุนเฉียวง่าย รู้สึกกดดัน ร้องไห้ง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่อยากอาหาร มีปัญหาในการนอนหลับ โดยคุณแม่อาจมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้ได้ตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ อาจหมายถึงคุณแม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งถือเป็นภาวะอันตราย ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที โดยอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาจมีดังนี้ รู้สึกเศร้าหรือร้องไห้บ่อยอย่างไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง แต่กลับนอนไม่หลับ นอนมากเกินไป […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม