backup og meta

วิธีเพิ่มเมตาบอลิซึม ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 05/10/2020

    วิธีเพิ่มเมตาบอลิซึม ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน

    เมตาบอลิซึมหรือ การเผาผลาญ เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งปฏิกิริยาทางเคมีเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงาน เพื่อทำกิจกรรม ทำงานต่าง ๆ ได้ ยิ่งมีอัตราการเผาผลาญที่สูงมากเท่าไรก็ยิ่งได้รับพลังงานและช่วยให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีเพิ่มเมตาบอลิซึม ง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทได้มาฝากกันค่ะ

    วิธีเพิ่มเมตาบอลิซึม ที่ควรทำมีอะไรบ้าง

    การเผาผลาญ คืออัตราที่ร่างกายเผาผลาญแคลอรีเป็นพลังงาน ซึ่งความเร็วในการเผาผลาญนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ เพศ ไขมันสะสมในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ กิจกรรมที่ทำ และพันธุกรรม แม้ว่าเราจะไม่สามารถปัจจัยอย่างพันธุกรรมได้ แต่ก็มีวิธีการเพิ่มเมตาบอลิซึมอื่นๆ อีกมากมายที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญ ดังนี้

    รับประทานอาหารให้ตรงเวลา

    การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เช้า กลางวัน และเย็นนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญได้ ร่างกายนั้นต้องการความสมดุลและความสม่ำเสมอในการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลานั้นจะช่วยรักษาสมดุลในการเผาผลาญได้ ที่สำคัญควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ระหว่างมื้อก็จะยิ่งดีต่อ การเผาผลาญ

    รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน

    การรับประทานอาหารเองก็มีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายได้ ซึ่ง พลังงานที่ใช้ย่อยอาหาร (Thermic Effect of Food) เป็นพลังงานที่ใช้ในการรับประทาน ย่อยอาหาร และเผาผลาญอาหาร โดยอาหารประเภทโปรตีนจะใช้พลังงานในการย่อยอาหารมากที่สุด นอกจากนี้การรับประทานโปรตีน ยังช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มมากขึ้นและป้องกันไม่ให้กินมากเกินไปได้อีกด้วย

    ได้รับแคลอรีที่เพียงพอต่อวัน

    หลายคนมีความเชื่อเกี่ยวกับการลดน้ำหนักแบบผิด ๆ ว่าต้องอดอาหารบางมื้อ เพื่อให้น้ำหนักลดลง เพื่อให้ผอม แต่จริง ๆ แล้วการอดอาหารบางมื้อนั้นส่งผลต่อการเผาผลาญ การได้รับปริมาณแคลอรีที่น้อยเกินไปอาจทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง เพราะร่างกายจำเป็นที่จะต้องประหยัดพลังงานไว้ สำหรับปริมาณแคลอรีที่ต้องการต่อวันนั้นจะแตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย

    ผู้หญิงต้องการแคลอรี 1,600-2,400 แคลอรีต่อวัน

    ผู้ชายต้องการแคลอรี 2,000-3,000 แคลอรีต่อวัน

    ซึ่งปริมาณที่ต้องการขึ้นอยู่กับพฤตอกรรมการใช้ชีวิต เช่น ระดับการออกกำลังกาย

    ดื่มน้ำให้เพียงพอ

    การดื่มน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล มีส่วนช่วยให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จและลดน้ำหนักได้มากกว่า ที่สำคัญการดื่มน้ำมีส่วนช่วยเร่งการเผาผลาญได้ชั่วคราว จากการศึกษา พบว่าการดื่มน้ำครึ่งชั่วโมงก่อนการรับประทานอาหารช่วยให้รับประทานอาหารได้น้อยลง

    ฝึกออกกำลังกายแบบแรงต้าน

    การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance training) คือ การออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนขา แขน หน้าท้อง โดยทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงเป็นแรงต้าน เช่น การวิดพื้น แพลงกิง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งการออกกำลังกายรูปแบบนี้มีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ที่สำคัญยังช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อเมื่ออายุมากขึ้นได้อีกด้วย

    นอนหลับให้เพียงพอ

    หากร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอ ขาดการนอนหลับ หรือว่านอนหลับไม่มีประสิทธิภาพนั้นสามารถส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วนได้ เมื่อร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอนั้นรู้สึกหิวได้ง่าย แถมการอดนอนยังส่งผลต่อการเผาผลาญอีกด้วย

    ลดความเครียด

    ความเครียดส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและยังทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมความอยากอาหาร หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่ปกติจนทำให้มีการรับประทานอาหารที่มากเกินไป รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้อาจขัดขวางการเผาผลาญได้ นอกจากนี้หากความเครียดส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับก็ยังสามารถส่งผลต่อการเผาผลาญได้เช่นกัน

    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งการลดความเครียด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 05/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา