backup og meta

วิ่ง พร้อมเข็นลูก เทคนิคออกกำลังกาย สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่อยากกลับมาฟิตแอนด์เฟิร์ม

วิ่ง พร้อมเข็นลูก เทคนิคออกกำลังกาย สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่อยากกลับมาฟิตแอนด์เฟิร์ม

ปัญหาหนักใจของคุณแม่หลังคลอดก็คงหนีไม่พ้น ปัญหาไขมันส่วนเกิน ที่ทำให้รุบร่างไม่เป๊ะปังดังเดิม หน้าท้องก็ใหญ่ ขาแขนก็บวม การจะไปฟิตเนสออกกำลังกายก็ทำได้ยากเพราะจะต้องเลี้ยงลูกไปด้วย หากไปเข้าคลาสก็คงจะไม่สะดวกมากนัก วันนี้ Hello คุณหมอ มีทางเลือกในการออกกำลังกายสำหรับแม่หลังคลอดมาฝากกันค่ะ เป็นการ วิ่ง พร้อมเข็นลูก เป็นอีกทางเลือกที่ถือว่าลงตัวอีกวิธีหนึ่ง ได้ออกกำลังกายไปด้วย แถมยังได้เลี้ยงลูกด้วยได้ ใครที่อยากรู้ว่ารูปแบบการออกกำลังกายนี้เป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

ลูกควรอายุเท่าไรคุณแม่จึงสามารถ วิ่ง พร้อมเข็นลูก ได้

วิ่ง พร้อมเข็นลูกนั้นเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่คุณแม่จะวิ่งออกกำลังกาย ไปพร้อมๆ กับการเข็นรถเข็นของลูกไว้ข้างหน้า ซึ่งถือเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ช่วยให้คุณแม่ได้ออกกำลังกายและอยู่กับลูกด้วยได้ โดยลูกจะอยู่ในรถเข็นที่เป็นรถเข็นสำหรับการวิ่งโดยเฉพาะ ที่สำคัญลูกจะต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในวัยนี้เป็นวัยที่ เขาจะเริ่มตั้งคอ และมีการควบคุมศีรษะในท่าที่มีความเหมาะสมสำหรับการต้านทานการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้ ทำให้เมื่อคุณแม่เข็นไปวิ่งไปจะช่วยให้เขาปลอดภัย หากคุณวิ่ง พร้อมเข็นลูกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนนั้นอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ เพราะการควบคุมคอและศีรษะของเขานั้นยังไม่แข็งแรง

ข้อควรรู้ก่อนการวิ่ง พร้อมเข็นลูก

ก่อนที่จะเริ่มต้นการวิ่ง พร้อม ๆ กับเข็นลูกนั้นพ่อแม่ควรจะรู้ก่อนว่าควรจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้มีความปลอดภัย

ล็อคล้อหน้า

รถเข็นเด็กสำหรับออกกำลังกายบางรุ่นนั้นจะมีล้อหน้า ซึ่งจะมีทั้งแบบที่ต้องล็อคล้อด้วยตัวเองหรือแบบอัตโนมัติที่เพียงกดสวิตช์ก็ล็อคได้ ก่อนจะวิ่งคุณแม่จะต้องเช็กให้ดีว่าล็อคแล้วหรือยัง ซึ่งการล็อคล้อหน้านั้นเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้รถเข็นนั้นเลี้ยวเองโดยกะทันหันจนจนสิ่งกีดขว้างจนล้มได้

ปกป้องลูกให้เหมาะสม

คุณแม่ควรตรวจสอบอากาศก่อนออกไปวิ่งว่าเป็นเช่นไร ลมแรง อากาศร้อน หรือว่าอากาศเย็น ซึ่งคุณแม่จะต้องแต่งตัวให้เขาอย่างเหมาะสม เพื่อที่เขาจะได้ไม่รู้สึกอึดอัดที่ต้องอยู่ในรถเข็น ที่สำคัญหากวันที่ไปวิ่งนั้นมีแดดค่อนข้างแรง คุณแม่จะต้องดึงที่บังแดดของรถเข็นลงมาเพื่อกันให้ลูก

ใส่สายรัด อุปกรณ์เซฟตี้ให้ลูก

การใส่สายรัดจะช่วยปกป้องลูกจากการล้ม การกระเด็นออกจากรถเข็น หรือการสั่นสะเทือนขณะวิ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณแม่จะต้องสวมใส่ รัดให้เขาอย่างรอบครอบ ที่สำคัญการใส่เซฟตี้จะไม่ทำให้เขายื่นมือออกมาที่ล้อรถเข็นขณะวิ่งได้

วิ่งบนความเร็วที่ควบคุมรถเข็นได้

หากคุณวิ่ง ขณะที่เข็นลูกไปด้วยนั้น คุณไม่ควรที่จะวิ่งเร็วเกินไปเพราะอาจจะทำให้คุณหลุดการควบคุมรถเข็นของลูกได้ คุณแม่ควรใช้ความเร็วที่มีความเหมาะสม ที่จะเข็นพร้อมควบคุมรถของลูกเพื่อความปลอดภัยสูงสุด

ประโยชน์ของการวิ่ง พร้อมเข็นลูก

การได้ไปออกกำลังกายกับลูกนอกบ้านนั้นเป็นประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แถมยังเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้ลูกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และช่วยให้เขาได้เรียนรู้สี แสง เสียงจากธรรมชาติได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงใบไม้ไหว เสียงนกร้อง เสียงลมพัด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่ก็ได้ออกกำลังกายลูกก็ได้เรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ซึ่งรูปแบบการออกกำลังกายนี้เป็นประโยชน์มากมาย เช่น

  • ช่วยจัดการกับความเครียด
  • ช่วยจัดการกับอารมณ์และพลังงาน
  • เผาผลาญพลังงานแคลอรี
  • ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
  • ทำให้นอนหลับดีขึ้น
  • มีส่วนช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด

แม้ว่าวัยที่เหมาะสมในการพาลูกไปวิ่งในรถเข็นนั้นจะคือตั้งแต่วัย 6 เดือนขึ้นไป แต่ว่าคุณแม่ควรสังเกตด้วยว่าลูกนั้นพร้อมแล้วจริง ๆ ไหม เพราะเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป บางครั้งเด็กที่เข้าสู่วัย 6 เดือนก็อาจจะยังไม่มีความพร้อม ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตลูกของตัวเอง หากคุณไม่สามารถประเมินได้ว่าลูกนั้นพร้อมแล้วหรือยัง เมื่อเข้าปรึกษากุมารแพทย์รายเดือน คุณสามารถถามคุณหมอถึงความแข็งแรงของศีรษะและคอของทารกได้ว่าพร้อมแล้วหรือยัง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

A Quick Guide to Running with Baby

https://www.healthline.com/health/baby/jog-with-baby
13 Tips for Running With a Jogging Stroller

https://www.verywellfit.com/tips-for-running-with-jogging-strollers-2911387

5 Things to Remember Before Running with Baby

https://www.parents.com/parenting/moms/healthy-mom/5-things-to-remember-before-running-with-baby/

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/07/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

5 สาเหตุที่ทำให้ น้ำหนักหลังคลอด ไม่ลดลง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 23/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา