2. การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง
การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน” ช่วยให้หัวใจความแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อ และมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก พัฒนาการจัดระเบียบร่างกาย และควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยมีปัญหาหัวใจล้มเหลว ไม่ควรออกกำลังกายชนิดเพิ่มความแข็งแรงประเภทนี้
ตัวอย่างของการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง ได้แก่ การยกน้ำหนัก การวิดพื้น และการใช้ท่าบริหารร่างกายแบบที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน นักกายภาพบำบัด หรือครูฝึกส่วนตัว อาจช่วยออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้สามารถออกกำลังกายที่บ้านหรือในยิมได้ เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีควรออกกำลังกายแบบนี้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
3. การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ (Stretch) จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ พัฒนาการยืดหยุ่น และช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น ก้มตัว ผูกเชือกรองเท้า
ก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง เช่น วิ่งอยู่กับที่ หมุนแขน ซึ่งจะช่วยให้สามารถเตรียมกล้ามเนื้อสำหรับการออกกำลังกาย และป้องกันการเป็นตะคริว
ทั้งนี้ อาจใช้เวลาในการฝึกยืดกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวาย กล้ามเนื้อต้นขา หรือกล้ามเนื้อหลัง คอ หัวไหล่ ซึ่งควรทำทุกวัน แต่ถ้าไม่มีเวลาจริง ๆ ก็ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย