backup og meta

เลือดกำเดาไหลบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

เลือดกำเดาไหลบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

เลือดกำเดาไหลบ่อย อาจมีหลายสาเหตุ เช่น หลอดเลือดใกล้โพรงจมูกแตก เนื้องอกหรือริดสีดวงจมูก หรืออาจเป็นอาการที่มาจากโรคอื่น ๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหลบ่อย อาจช่วยให้สามารถสังเกตพบความผิดปกติ และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-bmr]

เลือดกำเดาไหลบ่อย คืออะไร  

เลือดกำเดาไหล คือ เลือดที่ไหลออกมาจากทางรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเลือดอาจไหลออกมาน้อยหรือมากก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและร่างกายของแต่ละบุคคล เลือดกำเดามักจะไหลในช่วงเวลาสั้น ๆ และหยุดไหลไปเองภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ถ้าหากเลือดกำเดายังไม่หยุดไหลเป็นเวลานานกว่า 10 นาที แม้จะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ควรไปพบคุณหมอ เพราะหากเลือดไหลออกมามากเกินไป ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อคได้ นอกจากนี้ หากมีเลือดกำเดาไหลมากกว่า 4 ครั้ง/สัปดาห์ หรือ 2-3 ครั้ง/เดือน ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการของเลือดกำเดาไหลบ่อย เพราะอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง

สาเหตุของเลือดกำเดาไหลบ่อย 

เลือดกำเดาไหลอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • เส้นเลือดในเยื่อบุโพรงจมูกแตก
  • คัดจมูก จามบ่อย 
  • แคะจมูกบ่อย ๆ 
  • เป็นหวัด ภูมิแพ้
  • สั่งน้ำมูกบ่อย หรือสั่งน้ำมูกแรง 
  • อากาศหนาว หรืออากาศแห้ง รวมถึงอากาศที่ร้อนก็สามารถก่อให้เกิดเลือดกำเดาไหลได้เช่นกัน 
  • หกล้มหรือจมูกกระแทกกับบางสิ่ง 
  • ติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงจมูก ไซนัสอักเสบ 
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าไปภายในจมูก 
  • ภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดตามปกติ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เป็นโรคทางพันธุกรรม เลือดไหลออกง่ายหยุดยาก
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยา เช่น ยาแก้คัดจมูก ยาแก้แพ้ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs) ยาไอไพริน ยาพ่นจมูก ที่อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อโพรงจมูกแห้ง 

รวมถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลบ่อย เช่น 

  • หลอดเลือดใกล้โพรงจมูกแตก
  • หลอดเลือดผิดปกติในจมูก เช่น Osler-Weber-Rendu syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีลักษณะการก่อตัวของหลอดเลือดที่ผิดปกติ อาจส่งผลทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลบ่อยได้
  • ภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด  
  • มีติ่งเนื้อ หรือเนื้องอกในจมูก

วิธีหยุดเลือดกำเดาไหล

วิธีหยุดเลือดกำเดาไหล อาจมีขั้นตอนดังนี้ 

  • นั่งอยู่กับที่ เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบบริเวณรูจมูก ประมาณ 10-15 นาที โดยใช้ปากหายใจแทนก่อน 
  • ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบลงบนสันจมูก
  • หลังจากเลือดกำเดาหยุดไหลแล้ว ไม่ควรแคะจมูก หรือสั่งน้ำมูก เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหลออกมาอีกครั้งได้ 

ทั้งนี้ เมื่อเลือดกำเดาไหลไม่ควรเงยหน้าขึ้น เพราะอาจทำให้เลือดไหลลงไปในกระเพาะ และอาจส่งผลทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ หากเลือดกำเดายังไม่หยุดไหลภายใน 10-15 นาที ควรไปพบคุณหมอ

วิธีป้องกันเลือดกำเดาไหล 

ไม่มีวิธีการป้องกันเลือดกำเดาไหล แต่อาจมีวิธีบางอย่างที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดเลือดกำเดาไหล ดังนี้ 

  • ทำให้จมูกชุ่มชื้น โดยใช้ยาทาปิโตรเลียม (Petroleum Jelly) ในรูจมูกวันละ 3 ครั้ง
  • เมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกิจกรรมที่อาจได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างหมวกกันน็อค 
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีสภาพอากาศหนาว และแห้ง หากอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน ควรใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อให้ห้องมีความชื้นเพิ่มขึ้น ป้องกันโพรงจมูกแห้ง  
  • หลีกเลี่ยงการแคะจมูกบ่อยครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่อาจทำให้ภายในจมูกระคายเคืองและแห้งได้ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nosebleeds. https://www.webmd.com/first-aid/nosebleeds-causes-and-treatments. Accessed June 13, 2023.

Nosebleed. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/ears-nose-and-throat/nosebleed. Accessed June 13, 2023.

Nosebleeds. https://www.mayoclinic.org/symptoms/nosebleeds/basics/causes/sym-20050914. Accessed June 13, 2023.

Frequent Nosebleeds. https://www.uofmhealth.org/health-library/sig56370. Accessed June 13, 2023.

Nosebleeds. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/nosebleeds. Accessed June 13, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธี เพิ่มการไหลเวียนเลือด ง่ายๆ ทำแล้วเลือดไหลเวียนดี ร่างกายแข็งแรง

เลือดกำเดาไหลออกจากจมูกส่วนไหนกันแน่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา