backup og meta

วิธีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูก ไฟดูด ไฟช็อต อย่างปลอดภัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/09/2020

    วิธีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูก ไฟดูด ไฟช็อต อย่างปลอดภัย

    เรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องอันตรายที่เราควรให้ความใส่ใจ ป้องกันไว้เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและคนที่เรารัก โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ภายในบ้านที่เราต้องคอยดูแล สังเกตอย่างใกล้ชิด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลและวิธีการป้องกันอันตรายจากการถูก ไฟดูด ไฟช็อต มาฝากคุณผู้อ่านกันในบทความนี้

    ไฟดูด ไฟช็อต (Electric Shock) เกิดจากอะไร

    ไฟดูดหรือไฟช็อต (Electric Shock) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับพลังงานไฟฟ้า บาดแผลจากการถูกไฟดูดหรือช็อตอาจส่งผลให้เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง รวมถึงรอยแผลเป็นต่าง ๆ บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

    อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดูดไฟช็อตนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วย เช่น ความผิดปกติของระบบไฟฟ้า ไฟรั่ว การสัมผัสกับปลั๊กไฟ

    อาการของผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อต เป็นอย่างไร

    ผู้ที่ถูกไฟดูดไฟช็อต ส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้

    • กล้ามเนื้อกระตุก
    • อาการชา
    • หมดสติ
    • ชัก
    • หัวใจเต้นผิดปกติ
    • หายใจติดขัด
    • การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ
    • ปวดศีรษะ

    การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อต

    ในเบื้องต้น การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตที่ดีที่สุดคือการตัดกระแสไฟฟ้า และแยกผู้ป่วยออกจากพื้นที่ที่มีกระแสไฟอย่างรวดเร็วที่สุด

    • ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น (หากปลั๊กไฟไม่เสียหาย) หรือปิดคัตเอาท์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าออก
    • ในกรณีที่ไม่สามารถปิดคัตเอาท์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าออกได้ ให้ยืนบนพื้นที่แห้งและไม่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า เช่น หนังสือพิมพ์แห้ง สมุดโทรศัพท์ กระดานไม้ เป็นต้น
    • แยกผู้ป่วยให้ออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังช็อตอยู่ด้วยการใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าดันตัวผู้ถูกไฟช็อตออก เช่น ด้ามไม้กวาดพลาสติก เก้าอี้ หรือพรมเช็ดเท้ายาง

    ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด

  • ให้รีบโทรแจ้งบริษัทไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณดังกล่าว
  • หลีกเลี่ยงการแยกผู้ป่วยออกจากที่เกิดอุบัติเหตุ  หากคุณอยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวนั้นด้วย และเริ่มรู้สึกชาที่ขาหรือส่วนล่างของร่างกาย ให้กระโดดเท้าข้างเดียวไปยังที่ปลอดภัยจนกว่ากระแสไฟฟ้าตรงบริเวณนั้นจะถูกตัดออก
  • การวินิจฉัย และการรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟดูดหรือไฟช็อต

    ในเบื้องต้นแพทย์จะดูอาการเบื้องต้นของผู้ได้รับบาดเจ็บ เช่น รอยไหม้ กระดูกไม่การแตกหนักหรือไม่ รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยโรคดังต่อไปนี้

    • การตรวจคลื่นหัวใจ (Electrocardiogram : ECG)
    • การตรวจปัสสาวะ
    • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN)
    • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะได้บาดเจ็บจากการถูกไฟดูด ไฟช็อต ถึงแม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจหาอาการบาดเจ็บภายในร่างกาย โดยวิธีการรักษานั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บของแต่ละบุคคล ดังนี้

    • การรักษาบาดแผลไฟไหม้ด้วยการใช้ยาทาปฏิชีวนะ
    • ยาบรรเทาอาการปวด
    • ฉีดยากันบาดทะยัก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา