พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามารถทำได้โดยการเลือกสิ่งที่ดีต่อร่างกายของคุณ ตลอดไปจนถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และทำให้คุณภาพชีวิตของเราดียิ่งขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และผลกระทบที่อาจตามมา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ที่ควรรู้

ควรใช้ผ้าพันแผลหรือเปล่า? หลายคนอาจคุ้นเคยกับขั้นตอนการ ทำแผล ตั้งแต่การหยุดเลือด ทำความสะอาดบริเวณแผลและโดยรอบ และปิดด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการทำแผลอยู่มากมาย และนี่คือตัวอย่าง 5 ความเชื่อผิด ๆ นั้น 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ความเชื่อที่ 1: ควรทำให้แผลแห้งตลอด ความเชื่อนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ๆ แม้ว่าการทำให้แผลแห้งอยู่เสมออาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูแล้วดูสมเหตุสมผล เพราะแผลมักจะแห้งเมื่อเกิดสะเก็ดแผล แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การรักษาความชุ่มชื้นของแผลจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น บาดแผลที่มีความชุ่มชื้นอย่างพอเหมาะมักจะมีโอกาสอักเสบน้อยกว่าและหายได้ไวกว่าแผลที่แห้ง วิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แผลคือการทาปิโตเลียมเจล² เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นและยังช่วยเป็นเกราะป้องกันการเกิด แผลติดเชื้อ ซึ่งอาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นน้อยลง นอกจากนี้ คุณก็อาจทาไฮโดรเจล ซึ่งมีส่วนประกอบของวัสดุสังเคราะห์ที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับบาดแผลโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของบาดแผล9 ไฮโดรเจลจะช่วยคงความชุ่มชื้นของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น สังเกตว่าถ้าหากมีสะเก็ดแผลเกิดขึ้น แสดงว่าแผลใกล้จะหายดีแล้ว ไม่ควรแกะสะเก็ดแผล ดร.คาร์ลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิว อย่างไรก็ตาม หากดูเหมือนบาดแผลไม่หายดี หรือมีสัญญาณของ แผลติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที ความเชื่อที่ 2: ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อ ทำแผล อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการทำแผลคือการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดแผล ในความเป็นจริงแล้ว การใช้สารเคมีเหล่านี้เพื่อฆ่าเชื้อเกินความจำเป็นอาจส่งผลให้แผลหายช้าลงได้ แม้ว่าแอลกอฮอล์³ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์4 จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูของแผล และทำให้แผลหายช้าลงได้ ทางเลือกที่ดีกว่าคือการทำความสะอาดแผลโดยใช้น้ำสะอาดและไอโอดีน5 ทั้งสองอย่างนี้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อโรค ความเชื่อที่ 3: การทายาสีฟันบนแผลไหม้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่าการทายาสีฟันลงบนแผลไหม้ แผลลวก เป็นเรื่องที่ปกติและควรทำ เพราะยาสีฟันมีฤทธิ์ทำให้ผิวเย็นลง […]

หมวดหมู่ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มเติม

การเลิกบุหรี่

สำรวจ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

การปฐมพยาบาล

แมงมุมกัด แบบไม่รู้ตัว จะสังเกตอาการและปฐมพยาบาลอย่างไรดี

แมลง สัตว์ กัดต่อยนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และบางครั้งคุณอาจจะโดนกัดแบบไม่รู้ตัว จะมารู้อีกทีก็มีอาการคัน หรือมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนัง การถูกแมงมุมกัด ก็เช่นกัน บางครั้งคุณอาจจะโดนกัดแบบไม่รู้ตัว และไม่รู้ด้วยว่าแมงมุมที่กัดนั้นมีพิษหรือไม่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เป็นแผล หรือมีอาการทางร่างกายเกิดขึ้นเสียแล้ว ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จะมีวิธีสังเกตแมงมุมแต่ละชนิด รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อ โดนแมงมุมกัด มาฝากกัน ทำไมแมงมุมถึงกัดคน ความจริงแล้วแมงมุมเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับคนสักเท่าไหร่นัก มันจะพยายามหลีกเลี่ยงผู้คนอยู่เสมอเท่าที่มันจะทำได้ แต่เมื่อแมงมุมรู้สึกว่าตัวมันกำลังถูกคุกคาม มันก็จะทำการกัด การที่แมงมุมกัดอาจจะเกิดจากการที่คุณทำให้มันตกใจ เหยียบมันโดยไม่ตั้งใจ หรือปัดมือไปยังทิศทางที่แมงมุมอยู่ ในหลายๆ กรณี เมื่อถูก แมงมุมกัด จะสามารถรักษาที่บ้านได้ แม้ว่าแมงมุมทุกสายพันธ์ุจะฉีดพิษผ่านเขี้ยวของมัน เพื่อทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต แต่พิษของแมงมุมส่วนใหญ่ไม่ได้รุนแรงขนาดที่จะเป็นพิษในมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พิษของแมงมุมบางชนิดก็อาจจะเป็นพิษต่อคนและอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ก็มีเช่นกัน ชนิดของแมงมุมและอาการที่เกิดขึ้น ก่อนอื่นลองมาทำความรู้จักกับแมงมุมแต่ละชนิดกันก่อนดีกว่า เพื่อจะได้รู้ว่าเมื่อเจอแมงมุมแบบไหนแล้วคุณควรจะหลีกเลี่ยง เพื่อการป้องกันการโดนกัดและได้รับพิษของมัน ซึ่งแมงมุมแต่ละชนิดนั้น มีดังนี้ แมงมุมสีน้ำตาล (Brown Recluse) แมงมุมสีน้ำตาลเป็นแมงมุมที่ชอบความสันโดษ มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว มันมักจะซ่อนตัวอยู่ในที่มืดและเงียบสงบ มันจะกัดเฉพาะตอนที่มันอยู่ติดกับผิวหนังของคุณเท่านั้น บางครั้งมันมักจะถูกเรียกว่า “แมงมุมไวโอลิน (Violin Spider)” เนื่องจากมันมีรอยสีเข้มที่ด้านหลัง แมงมุมสีน้ำตาล (Brown Recluse) อาการเมื่อถูกแมงมุมสีน้ำตาลกัด การโดนแมงมุมสีน้ำตาลกัดในครั้งแรกอาจจะไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ภายในเวลา 8 ชั่วโมงจะเริ่มมีอาการคัน […]


การปฐมพยาบาล

วิธีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูก ไฟดูด ไฟช็อต อย่างปลอดภัย

เรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องอันตรายที่เราควรให้ความใส่ใจ ป้องกันไว้เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและคนที่เรารัก โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ภายในบ้านที่เราต้องคอยดูแล สังเกตอย่างใกล้ชิด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลและวิธีการป้องกันอันตรายจากการถูก ไฟดูด ไฟช็อต มาฝากคุณผู้อ่านกันในบทความนี้ ไฟดูด ไฟช็อต (Electric Shock) เกิดจากอะไร ไฟดูดหรือไฟช็อต (Electric Shock) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับพลังงานไฟฟ้า บาดแผลจากการถูกไฟดูดหรือช็อตอาจส่งผลให้เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง รวมถึงรอยแผลเป็นต่าง ๆ บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดูดไฟช็อตนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วย เช่น ความผิดปกติของระบบไฟฟ้า ไฟรั่ว การสัมผัสกับปลั๊กไฟ อาการของผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อต เป็นอย่างไร ผู้ที่ถูกไฟดูดไฟช็อต ส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อกระตุก อาการชา หมดสติ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจติดขัด การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ ปวดศีรษะ การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อต ในเบื้องต้น การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตที่ดีที่สุดคือการตัดกระแสไฟฟ้า และแยกผู้ป่วยออกจากพื้นที่ที่มีกระแสไฟอย่างรวดเร็วที่สุด ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น (หากปลั๊กไฟไม่เสียหาย) หรือปิดคัตเอาท์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าออก ในกรณีที่ไม่สามารถปิดคัตเอาท์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าออกได้ ให้ยืนบนพื้นที่แห้งและไม่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า เช่น หนังสือพิมพ์แห้ง สมุดโทรศัพท์ กระดานไม้ เป็นต้น แยกผู้ป่วยให้ออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังช็อตอยู่ด้วยการใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าดันตัวผู้ถูกไฟช็อตออก เช่น ด้ามไม้กวาดพลาสติก เก้าอี้ หรือพรมเช็ดเท้ายาง ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด ให้รีบโทรแจ้งบริษัทไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณดังกล่าว หลีกเลี่ยงการแยกผู้ป่วยออกจากที่เกิดอุบัติเหตุ  หากคุณอยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวนั้นด้วย และเริ่มรู้สึกชาที่ขาหรือส่วนล่างของร่างกาย ให้กระโดดเท้าข้างเดียวไปยังที่ปลอดภัยจนกว่ากระแสไฟฟ้าตรงบริเวณนั้นจะถูกตัดออก การวินิจฉัย และการรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟดูดหรือไฟช็อต ในเบื้องต้นแพทย์จะดูอาการเบื้องต้นของผู้ได้รับบาดเจ็บ […]


การปฐมพยาบาล

ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น และวิธีการใช้อย่างถูกต้องในการปฐมพยาบาล

โดยปรกติคนทั่วไปมักจะรู้เพียงแค่ว่า ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น นั้น เอาไว้ใช้พันตามข้อต่าง ๆ ของร่างกายที่มีอาการเคล็ดขัดยอก อักเสบหรือแพลง แต่บางครั้งคุณอาจไม่รู้ว่าการพันผ้าของคุณนั้นเป็นวิธีถูกต้องหรือไม่ มากไปกว่านั้นแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับการใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นอีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องผ้าผันแผลแบบยืดหยุ่น และวิธีการใช้อุปกรณ์ชนิดในการปฐมพยาบาลมาฝากกัน [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น (Compression Wrapping) ผ้าพันแผลยืดหยุ่น เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าผันแผลแบบบีบอัด” มักถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเช่น รอยฟกช้ำ และเคล็ดขัดยอก นอกจากนั้นผ้าพันแผลยืดหยุ่นยังทำหน้าที่ในการบีบอัดอาการบาดเจ็บ หรืออาการอักเสบ ทั้งยังช่วยลดอาการบวม ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ผ้าพันแผลยืดหยุ่นจะมีระยะเวลาจำกัดในการใช้บีบอัดบาดแผล เนื่องจากอาการบาดเจ็บบางจุดยังต้องการการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นการรักษา ขนาดของ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผ้าพันแผลยืดหยุ่นมักจะมีความกว้าง 2-6 นิ้ว ซึ่งมันจะช่วยทำให้คุณได้รับการบีบอัดที่มากขึ้น โดยไม่ขวางกันการไหลเวียนของเลือด โดยทั่วไปแล้วขนาดผ้าพันแผลยืดหยุ่นสำหรับแขนและขาของผู้ใหญ่ จะใช้ขนาด 3-4 นิ้ว ส่วนแขนและขาสำหรับเด็กจะใช้ผ้าผันแผลที่มีความยืดหยุ่นที่มีความกว้าง 2 นิ้ว ซึ่งแคบกว่าของผู้ใหญ่นั่นเอง วิธีการใช้งานผ้าพันแผลยืดหยุ่นโดยทั่วไป ผ้าพันแผลยืดหยุ่น มักจะถูกนำมาใช้สำหรับการกดบริเวณที่เฉพาะเจาะจง หรือบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้จะช่วยลดอาการบวม โดยป้องกันไม่ให้ของเหลวมารวมตัวกันตรงบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ […]


การปฐมพยาบาล

ของร้อนลวกปากและลิ้น รับมือได้ทันทีด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้

ปัญหาการถูก ของร้อนลวก ที่บริเวณปากและลิ้นนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเวลาที่รับประทานอาหาร ซึ่งการถูกของร้อนลวกภายในช่องปากก็จะสร้างความเสียหายที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจถูกลวกรุนแรงมากจนต้องไปพบคุณหมอในทันที แต่บางคนอาจสามารถทำการปฐมพยาบาลด้วยตัวเองก่อนได้ ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปดูว่าเราจะสามารถใช้วิธีใดในการปฐมพยาบาลอาการของร้อนลวกปากและลิ้น ได้บ้าง [embed-health-tool-bmi] ของร้อนลวกปากและลิ้น เกิดขึ้นจากอะไร อาการของร้อนลวกปากและลิ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย แต่สาเหตุที่มักจะพบได้บ่อยๆ ของแผลที่ถูก ของร้อนลวก ในช่องปาก นั้นส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูงหรือกำลังร้อนอยู่ เช่น อาหารที่ผ่านความร้อนและเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ เช่น อาหารทอด พิซซ่า ซุป เป็นต้น รวมถึงเครื่องดื่มที่ต้องใช้น้ำร้อนเป็นส่วนผสม เช่น ชา กาแฟ เป็นต้น นอกจากความเสี่ยงของการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนภายในช่องปากแล้ว โรคภัยไข้เจ็บก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่มีส่วนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ปากและลิ้นได้ นั่นคือ กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก (Burning mouth syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนภายในบริเวณช่องปาก ซึ่งไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ แพ้สารเคมี หรือมีปัญหาภาวะการขาดแคลนวิตามินบี 12 หรือขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ รวมถึงปัจจัยทางด้านฮอร์โมนด้วย ทำอย่างไรเมื่อถูก ของร้อนลวกปากและลิ้น อาการที่ถูก ของร้อนลวก บริเวณปากและลิ้นนั้น สามารถที่จะทำการปฐมพยาบาลด้วยตนเอง โดยใช้ของที่มีอยู่ในบ้านซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ ใช้น้ำเย็น American Academy […]


การปฐมพยาบาล

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก หอยเม่น ตำเท้า

หลายๆ คนคงจะทราบกันดีว่า ท้องทะเลนั้นมักเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดทั้งสัตว์มีพิษ และแบบไม่มีพิษที่อาศัยอยู่ ซึ่งอุบัติเหตุจากสัตว์มีพิษที่คนส่วนใหญ่เสี่ยงประสบพบเจอกันเป็นประจำเมื่อต้องไปดำน้ำ หรือท่องเที่ยวใต้ทะเลนั่นก็คือการถูก หอยเม่น ตำเท้า ดังนั้นจึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลงเบื้องต้น เพื่อป้องกันพิษในหนามแหลมของเม่นทะเล ทำความรู้จักกับ หอยเม่น เม่นทะเล (Sea Urchin) หรือ หอยเม่น เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในทะเล หรือมหาสมุทรทั่วโลก ในบางครั้งก็อาจอาศัยอยู่ตามชายฝั่ง โขดหินในน้ำตื้นร่วมด้วย โดยเม่นทะเลมีลักษณะเด่น ที่คุณสามารถสังเกตได้อย่าง่ายดาย นั่นก็คือ หนามแหลมยาวสีดำรอบตัวของพวกมันที่เรียกว่า เพดิเซลลาเรีย (Pedicellariae) ที่คอยเอาไว้ป้องกันจากภัยรอบตัว และเอาไว้ทิ่มแทงเหยื่อ หรืออาหารของพวกมันเมื่อว่ายผ่าน พิษในหนามของเม่นทะเลแต่ละตัวมักแตกต่างกัน บางตัวอาจมีฤทธิ์แค่น้อยนิด แต่ในขณะเดียวกันบางตัวกับมีพิษที่ออกฤทธิ์อย่างรุนแรง หากผู้ใดที่มีโรคภูมิแพ้ หรือสุขภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เมื่อโดนหนามแหลมของพวกมันตำไปแล้วนั้น ก็อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับต่ำ จนไปถึงขั้นเสียชีวิตได้อีกด้วย หอยเม่นตำเท้า อาการเป็นอย่างไร พวกมันไม่ได้นำหนามแหลมทิ่มคุณเพียงอย่างเดียว แต่พวกมันจะสลัดเข็มนั้นทิ้ง ให้ฝังเข้าไปในชั้นผิวหนังของคุณอีกด้วย เนื่องจากเม่นทะเลมีหนามค่อนข้างเปราะบาง และแตกหักง่ายจึงทำให้เข็มของพวกมันมักคาอยู่บริเวณที่เราถูกทิ่ม หรือถูกตำแทน ซึ่งอาจเป็นที่มาของอาการความเจ็บปวดเหล่านี้ขึ้น รู้สึกบวมบริเวณที่โดนหนามทิ่ม ผิวหนังมีความแดงงขึ้นเรื่อย ๆ รอบ ๆ บริเวณที่โดนหนามตำ รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนหอยเม่นตำเท้า เช็กเข็มของเม่นทะเล ว่าตำผิวหนังคุณลึกหรือไม่ หากมีตอโผล่ขึ้น และไม่ลึกจนเกินไป […]


การดูแลสุขอนามัย

รู้หรือไม่! ปลอกหมอน ที่เรานอนหนุน อาจกักตุนแบคทีเรียเอาไว้ก็ได้นะ

บางครั้งสาเหตุของปัญหาผิวหนังก็อาจจะมาจากสิ่งใกล้ตัวที่เราใช้อยู่เป็นประจำทุกวันก็ได้ บางคนอาจเป็นสิวบ่อย รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที หรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับหนังศีรษะ โดยที่อาจไม่รู้เลยว่าสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาเหล่านั้นอาจจะมาจาก ปลอกหมอน ที่เรานอนหนุนอยู่ทุกคืนก็ได้ แต่ปลอกหมอนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพได้อย่างไรนั้น วันนี้มาทำความรู้จักปลอกหมอนให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีอะไรซ่อนอยู่ใน ปลอกหมอน ของเราบ้าง ปลอกหมอนที่เราเลือกสรรมาสำหรับใช้สวมใส่กับหมอนใบใหญ่สำหรับหนุนนอนนั้น อาจไม่ได้มีเพียงความสวยงามของลวดลาย สีสัน และกลิ่นหอมของผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม เพราะในปลอกหมอนอาจเต็มไปด้วยสิ่งเหล่านี้ ไรฝุ่น ไรฝุ่น เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากผลการศึกษาพบว่าห้องนอนเป็นสถานที่ที่สามารถพบไรฝุ่นได้มากกว่าหลายๆ ที่ในบ้าน เนื่องจากอุณหภูมิมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของไรฝุ่น ผลกระทบของไรฝุ่นอาจไม่ได้สร้างแนวโน้มของการเป็นโรคเรื้อรังที่ร้ายแรง แต่สำหรับคนที่มีอาการแพ้ไรฝุ่น นั่นถือว่าเป็นอันตรายและมีความเสี่ยงต่ออาการแพ้ที่เป็นอยู่ เชื้อรา เชื้อรา มักจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศชื้น หากห้องนอนอยู่ในจุดที่มีความชื้นสูง ใกล้แหล่งน้ำ หรือติดห้องน้ำ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเชื้อราอยู่ในห้องนอนและที่นอนได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่นอนโดยไม่รอให้ผมแห้งก่อน หรือแนบใบหน้าลงบนหมอโดยที่ยังมีหยดน้ำเกาะอยู่ ก็จะสะสมความชื้นไว้ที่ปลอกหมอนและหมอน ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะมีเชื้อราได้ และยังรวมถึงคราบน้ำลายที่อาจไหลเปื้อนปลอกหมอนหรือที่นอนขณะที่กำลังนอนหลับด้วย แบคทีเรีย แบคทีเรียนั้นอยู่รอบๆ ตัวเรา แม้แต่ในร่างกายเราก็มีแบคทีเรียอยู่เหมือนกัน เช่น แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ที่คอยทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร แต่สำหรับที่นอนของเรานั้นอาจไม่ได้มีแบคทีเรียชนิดดีสะสมเอาไว้ แต่เป็นแบคทีเรียที่อาจเกิดขึ้นจากการสะสมสิ่งสกปรกจากร่างกาย เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ความชื้น หรือจากอุณหภูมิที่ส่งผลให้จำนวนแบคทีเรียเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผิวหนัง เช่น สิวหรือสิวอักเสบได้ ทำไมถึงต้องทำความสะอาดปลอกหมอนเป็นประจำ เหตุผลเดียวกับที่เราต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกาย ก็เพื่อให้ร่างกายของเรานั้นสะอาดและไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง ปลอกหมอนก็เช่นกัน จำเป็นที่จะต้องมีการทำความสะอาดและเอาใจใส่ไม่แพ้เสื้อผ้าที่ต้องมีการซักทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ เพราะหากละเลยการทำความสะอาดปลอกหมอน อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนี้ อาการแพ้ไรฝุ่น สิวหรือสิวอักเสบ โรคหอบหืด อาการหวัด ปัญหาสุขภาพปอด ผื่นผิวหนัง อาการคัน ทำความสะอาดปลอกหมอนอย่างไรดี การทำความสะอาดปลอกหมอนนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ ก่อนนำไปซักทำความสะอาด […]


การปฐมพยาบาล

วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร อาหารติดคอ ช่วยอย่างไรให้ปลอดภัย

ปัญหาสำลักอาหาร อาหารติดคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในทางเดินหายใจ จนทำให้หายใจไม่ออกนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น เห็นอะไรก็คว้าเข้าปาก ซึ่ง อาการสำลักอาหาร เป็นอาการที่ถือว่าอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร อย่างไรให้ปลอดภัย สิ่งที่ทำให้เด็กเกิดอาการสำลักอาหาร อาการสำลักอาหาร ในเด็กนั้นมักจะเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยที่ชอบคว้าสิ่งของรอบ ๆ กายเข้าหู จมูก และปาก ที่สำคัญเด็กในวัยนี้ยังบดเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มที่เพราะฟันยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ อาจทำให้มีอาหารชิ้นใหญ่ที่บดเคี้ยวไม่ละเอียดหลุดลงไปได้ ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งที่ทำให้เด็กสำลักก็คือ อาหาร อาหารบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่มีความเหมาะสมกับวัยพวกเขา อย่าง องุ่น ผลไม้และผักสด ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ มาร์ชแมลโล หมากฝรั่ง นอกจากอาหารแล้วยังมีวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เขาสำลักได้อีกเช่นกัน อย่าง หิน เหรียญ ฝาปากกา ลูกเต๋า หรือของใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร ในวัยต่าง ๆ วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร ที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ เมื่อทารกที่มี อาการสำลักอาหาร จนไม่สามารถหายใจได้ให้โทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันที […]


การดูแลสุขอนามัย

อันตรายจาก คลอรีน (Chlorine) ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

คลอรีน เป็นสารที่ฟังดูแล้วเหมือนจะไกลตัว แต่กลับใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะเราสามารถพบเจอคลอรีนได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในสระว่ายน้ำ น้ำประปา หรือแม้แต่ในน้ำดื่ม คลอรีนนี้แม้ว่าจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่ก็อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับอันตรายของคลอรีน ที่หลายคนมักจะมองข้าม [embed-health-tool-heart-rate] คลอรีน คืออะไร คลอรีน (Chlorine) คือธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีกลิ่นที่รุนแรงเตะจมูก และอาจอยู่ในรูปแบบแก๊สหรือของเหลว คลอรีนนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ในการนำมาใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น การฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาและน้ำดื่ม หรือการฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ หรือผสมลงในน้ำยาทำความสะอาดสำหรับฆ่าเชื้อบนพื้นผิวอื่น ๆ เป็นต้น คลอรีนพบได้ที่ไหนบ้าง น้ำ น้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำประปา น้ำดื่ม หรือแม้แต่น้ำในสระว่ายน้ำ ล้วนแล้วแต่ก็มีการใช้คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อทั้งสิ้น คลอรีนจะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำและสามารถทำให้เกิดโรคได้ เช่น โรคท้องร่วง ผื่นผิวหนัง หรือแม้แต่โรคน้ำกัดเท้า นอกจากนี้ยังทำให้น้ำสะอาดพอที่จะสามารถดื่มได้อีกด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน คลอรีนนั้นได้รับความนิยมในการนำมาใช้เพื่อผลิตเป็นน้ำยาสำหรับทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ที่ใช้ได้ภายในครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน หรือแม้แต่ผงซักฟอก และน้ำยาทำความสะอาดอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ก็มีส่วนผสมของคลอรีนด้วยกันทั้งสิ้น โดยปริมาณของคลอรีนที่พบได้ในน้ำยาทำความสะอาดนี้ จะมีมากกว่าคลอรีนที่พบได้ในน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค อีกทั้งยังอาจตกค้างอยู่บนพื้นผิว และทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ อาหาร ในอุตสาหกรรมการเกษตรมักจะนิยมนำสารคลอรีนมาฉีดพ่นพืชผล เพื่อป้องกันพืชผลจากแมลงและศัตรูพืช […]


การปฐมพยาบาล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว

การถูก ประตูหนีบนิ้ว เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่สร้างความเจ็บปวดให้อย่างมากต่อนิ้วอันแสนบอบบางของเรา แต่หลาย ๆ คนกลับเลือกที่จะไม่ปฐมพยาบาล หรือปฐมพยาบาลอย่างไม่ถูกวิธี และปล่อยแผลที่ถูกประตูหนีบทิ้งไว้ จนนิ้วเกิดการบวม อักเสบ และอาจนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อได้ในภายหลัง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว ให้ทุกคนได้ทราบ และสามารถจัดการกับแผลที่ถูกประตูหนีบได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-bmr] การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว ตรวจดูบาดแผล ตรวจดูว่านิ้วที่โดนประตูหนีบนั้นมีบาดแผล หรือมีเลือดออกหรือไม่ หรือมีอาการเล็บฉีกหรือเปล่า หากมี ควรทำความสะอาดบาดแผลนั้นด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับให้แห้ง และทำแผลหรือปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล ประคบเย็น ใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นทำความเย็น ห่อด้วยผ้าขนหนูสะอาด แล้วมาประคบในบริเวณนิ้วที่โดนประตูหนีบ การประคบเย็นในทันที สามารถช่วยลดอาการปวดและอาการบวมลงได้ ประคบเย็นเป็นเวลาประมาณ 10 นาที และประคบทุก ๆ 20 นาที ตลอดวัน ระวังอย่าให้น้ำแข็งสัมผัสกับผิวโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงโดนน้ำแข็งกัดได้ และอย่าประคบแรงเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการช้ำและปวดรุนแรงขึ้น ยกนิ้วขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ การยกนิ้วขึ้นให้สูงกว่าระดับของหัวใจ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณที่บาดเจ็บได้ช้าลง และช่วยลดแรงดัน อาการบวม และอาการอักเสบได้ พัก อย่าเพิ่งใช้นิ้วที่โดนประตูหนีบในทันที แต่ควรหยุดพัก ให้นิ้วมีอาการดีขึ้น เพราะการรีบใช้นิ้วที่ได้รับบาดเจ็บเร็วเกินไป […]


การดูแลสุขอนามัย

วิธีทำทิชชู่เปียก หรือผ้าเช็ดอเนกประสงค์ ไว้ใช้เองที่บ้าน ประหยัดและสะอาดชัวร์

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคกลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความต้องการของตลาดสูงมาก หากรู้ว่าที่ไหนมีขาย หลายคนเป็นต้องรีบไปหาซื้อมาไว้เพื่อใช้ต่อสู้กับเจ้าไวรัสตัวร้ายนี้ให้ได้ จนสินค้าเหล่านี้ขาดตลาดในหลาย ๆ พื้นที่ นอกจากแอลกอฮอล์น้ำ เจลแอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว ทิชชู่เปียก หรือผ้าเช็ดอเนกประสงค์สูตรแอนตี้แบคทีเรีย หรือชนิดมีแอลกอฮอล์ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนหาซื้อได้ลำบาก วันนี้ Hello คุณหมอ เลยมี วิธีทำทิชชู่เปียก ใช้เองมาฝาก บอกเลยว่าฆ่าเชื้อโรคได้ แถมยังประหยัดด้วย วิธีทำทิชชู่เปียก แบบง่ายๆ คุณสามารถทำทิชชู่เปียกสูตรฆ่าเชื้อโรค ไว้ใช้ที่บ้านหรือพกติดตัวไว้เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ตามต้องการได้ง่ายๆ ด้วยวิธีทำทิชชู่เปียกดังนี้ วิธีทำทิชชู่เปียก แบบใช้แล้วทิ้ง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ทิชชู่เนื้อหนา                  1 ม้วน น้ำยาซักผ้าขาว              ⅓ ถ้วยตวง (สำหรับสูตรเข้มข้น) หรือ ½ ถ้วยตวง (สำหรับสูตรธรรมดา) น้ำเปล่า                          1 แกลลอน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน