backup og meta

พลาสเตอร์ปิดแผล VS ไม่ปิดแผล แบบไหนหายเร็วกว่ากัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/03/2024

    พลาสเตอร์ปิดแผล VS ไม่ปิดแผล แบบไหนหายเร็วกว่ากัน

    เมื่อได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นแผลบาดลึก แผลเปิด รอยถลอก หรือบาดแผลอื่น ๆ หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ระหว่างการใช้ พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้าก๊อซปิดแผล หรือปล่อยแผลทิ้งไว้ แบบไหนที่จะช่วยให้แผลหายเร็วที่สุด

    การรักษาบาดแผลอาจทำให้บางคนเกิดความเครียด เพราะหากรักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้แผลหายช้าได้ แต่อย่ากังวลไป บทความนี้พร้อมจะแนะนำวิธีทำแผลอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้แผลสมานตัวเร็วยิ่งขึ้น

    ใช้ พลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายเร็วขึ้นรึเปล่า?

    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่ได้ปิดแผล?  

    คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การปล่อยบาดแผลทิ้งไว้ให้สัมผัสกับอากาศนั้นเป็นเรื่องที่ดีและอาจช่วยให้แผลหายไวขึ้น เนื่องจากทำให้แผลได้ “หายใจ” หรือระบายอากาศ 

    อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้แผลเปิดโล่งอาจไม่ได้ดีเสมอไป เพราะแผลจำเป็นต้องได้รับความชุ่มชื้นเพื่อช่วยในการฟื้นฟู การปล่อยแผลทิ้งไว้อาจทำให้ผิวหนังแห้ง และส่งผลให้แผลสมานตัวได้ช้าลง

    การไม่ใช้ พลาสเตอร์ปิดแผล หรือ ผ้าก๊อซปิดแผล อาจทำให้แผลเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่แผลข่วนเล็ก ๆ ก็ตาม

    นอกจากนี้ การเปิดบาดแผลทิ้งไว้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสัมผัส ถู หรือขูดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อีกทั้งยังอาจกระทบต่อการฟื้นฟูของบาดแผล ทำให้แผลเปิด มีเลือดออก หรือสะเก็ดแผลหลุดก่อนเวลาอันควร

    ทำไมแผลจึงหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ พลาสเตอร์ปิดแผล

    การปิดแผลอาจช่วยให้แผลคงความชุ่มชื้นไว้ได้ งาานวิจัย3 เผยให้เห็นว่า ความชุ่มชื้น ในปริมาณที่พอเหมาะ อาจมีส่วนช่วยให้แผลหายไวขึ้น ลดการอักเสบ และลดโอกาสในการเกิด รอยแผลเป็น การใช้พลาสเตอร์ปิดแผล หรือ ผ้าก๊อซปิดแผล จะช่วยคงความชุ่มชื้นนั้น

    การเก็บรักษาความชุ่มชื้นที่บริเวณบาดแผลและโดยรอบ จะช่วยให้ผิวไม่แห้ง และทำให้เซลล์ผิวสามารถฟื้นฟูตัวเองได้เร็วยิ่งขึ้น

    ดร.คาร์ลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิว

    สำหรับการรักษาบาดแผล ผู้เชี่ยวชาญอาจทายาปฏิชีวนะในรูปแบบครีมหรือขี้ผึ้งลงบนแผลบาง ๆ หากสังเกตว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จากนั้นจึงตามด้วย พลาสเตอร์ปิดแผล หรือ ผ้าก๊อซปิดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลแห้ง

    วิธีทำแผล ที่ถูกต้อง 

    จากคำแนะนำของสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Family Physicians1) เราสามารถทำแผลได้เองที่บ้านอย่างปลอดภัยสำหรับบาดแผลเล็กน้อย ไม่รุนแรง

    วิธีทำแผล ที่ถูกต้อง มีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

    • ห้ามเลือด โดยการใช้ทิชชู่ ผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาดกดลงบนแผลสักครู่หนึ่งเพื่อให้เลือดหยุดไหล หากมีเลือดซึมให้เพิ่มผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาดแล้วกดแผลต่อไป หลีกเลี่ยงการตรวจดูแผลเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้เลือดไม่แข็งตัว หากเลือดไม่ยอมหยุดไหลหลังจากกดแผลไว้ประมาณ 10-15 นาที ควรเข้ารับการรักษาในทันที
    • หลังจากที่เลือดหยุดไหล ให้ล้างแผลด้วยน้ำเย็น ระวังอย่าให้เลือดออกอีก ใช้สบู่และผ้านุ่ม ๆ ทำความสะอาดรอบ ๆ แผล ระวังอย่างให้สบู่เข้าไปในแผลเพราะอาจทำให้ระคายเคืองได้ อย่าใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือไอโอดีนบนแผลโดยตรงเพราะอาจทำลายเซลล์ผิวที่บาดแผลได้
    • หลังจากล้างแผล ให้ทาปิโตรเลียมเจลหรือยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้แผลแห้ง ตกสะเก็ด ที่อาจทำให้แผลสมานช้าลงได้ นอกจากนี้ อาจใช้พลาสเตอร์ปิดแผลที่มีไฮโดรเจล (Hydrogels) ที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้โดยการเก็บรักษาความชุ่มชื้นบริเวณแผล อีกทั้งยังมีสัมผัสเย็นที่ช่วยปลอบประโลมผิวได้5
    • ปิดด้วยผ้าพันแผล คุณไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าพันแผลทุกครั้ง บางครั้งสำหรับแผลเล็ก ๆ แค่ล้างทำความสะอาดแผลก็เพียงพอ อย่างไรก็ตาม หากมีแผลใหญ่ ควรทำความสะอาดแผล จากนั้นจึงปิดด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด ปลอดเชื้อ และไม่เกาะติดกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

    คุณสามารถเลือกซื้อผ้าพันแผลและเทปผ้าพันยืดหยุ่นชนิดต่าง ๆ ได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน การเลือกใช้เทปกระดาษพันแผลอาจเป็นทางเลือกที่อ่อนโยนกว่าเหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย อย่าลืมเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อผ้าพันแผลชื้นหรือสกปรก

    หลังจากที่แผลหายดีแล้วและสะเก็ดแผลหลุดออกไปหมดแล้ว อาจรักษารอยแผลเป็นได้ด้วยการใช้เจลซิลิโคนที่มีส่วนผสมของ Cyclopentasiloxan และ วิตามิน C Ester เพื่อช่วยให้แผลเป็นนุ่มขึ้น จางลง และเรียบเนียน6-8

    เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    โดยปกติแล้ว คุณสามารถรักษาบาดแผลเล็ก ๆ ได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ควรไปพบคุณหมอหากมีอาการ ดังต่อไปนี้4:

    • แผลเปิดขนาดใหญ่กว่า 2 นิ้ว
    • เลือดไหลไม่หยุดแม้ว่าจะกดแผลแล้ว
    • มีเลือดออกนานกว่า 10 นาที
    • รู้สึกไม่สบายหรือเป็นไข้

    คุณหมออาจใช้วิธีต่างๆ เพื่อรักษารอยแผลเปิดของคุณ 

    ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณสังเกตพบอาการของการติดเชื้อ เช่น มีรอยแดงหรือบวมเพิ่มขึ้น อาการปวดรุนแรงขึ้น ได้กลิ่นเหม็นเวลาล้างแผล เป็นไข้ และหนาวสั่น ควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ในทันที

    หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นคำแนะนำทางการแพทย์ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับบาดแผลและรอยแผลเป็น โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

    บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Menarini 

    [To add: usual mandatories, Menarini approval code and date of approval]

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/03/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา