backup og meta

ดูแลสุขภาพฟันลูก ควรเริ่มต้นเมื่อไหร่ และทำอย่างไรดี

ดูแลสุขภาพฟันลูก ควรเริ่มต้นเมื่อไหร่ และทำอย่างไรดี

การ ดูแลสุขภาพฟัน ตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากได้ในภายหลัง การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพฟันของลูกที่ถูกต้อง จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าควรดูแลสุขภาพฟันลูกอย่างไร หรือหากพบความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

พ่อแม่ควรเริ่ม ดูแลสุขภาพฟัน ของลูกเมื่อใด

การดูแลสุขอนามัยทางช่องปากที่ดี อาจต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนที่ฟันซี่แรกของลูกจะขึ้น โดยปกติแล้ว ฟันของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และตอนคลอด เด็กทารกแรกเกิดจะมีฟันอยู่แล้วประมาณ 20 ซี่ ฟันบางซี่อาจโผล่พ้นเหงือกให้เห็นได้บ้าง ในขณะที่บางซี่ก็ยังอยู่ใต้ขากรรไกร ยังไม่โผล่พ้นเหงือก

วิธีดูแลสุขภาพฟันให้ลูกที่เหมาะสม อาจมีดังนี้

  • ทำความสะอาดเหงือกให้ลูก โดยใช้ผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่น จากนั้นเช็ดเหงือกเบา ๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่อาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้
  • หากฟันของลูกขึ้นแล้ว สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ลูกด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มสำหรับเด็ก
  • หากฟันของลูกขึ้นหลายซี่แล้ว หลังแปรงฟันให้ลูก สามารถใช้ไหมขัดฟันได้ เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อาจตกค้างอยู่ตามซอกฟัน
  • เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ขวบ ควรหัดให้ลูกบ้วนปากหลังแปรงฟัน
  • เมื่อลูกอายุเกิน 3 ขวบ สามารถใช้ยาสีฟันได้ในปริมาณเท่าเมลํดถั่ว
  • หากลูกอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ควรดูแลระหว่างแปรงฟันอย่างใกล้ชิด เพราะลูกอาจแปรงฟันไม่ทั่วถึงและไม่สะอาดพอ

ปัญหาสุขภาพฟันเด็กที่พบได้บ่อย

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟันของลูกที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้

ฟันผุ

หากทำความสะอาดฟันและช่องปากไม่ถูกวิธี อาจทำให้มีแบคทีเรียสะสมอยู่ในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้กินน้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่มเป็นอาหาร และจะผลิตกรดที่ทำลายเคลือบฟัน หากปล่อยไว้นานเข้า อาจทำให้ฟันเป็นรูหรือเป็นโพรง ที่เรียกว่า ฟันผุ

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้กับลูกน้อยเป็นประจำ เริ่มตั้งแต่ช่วงหลังคลอด โดยควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดเหงือกและภายในช่องปากของลูกด้วยผ้าเนื้อนิ่มชุบน้ำอุ่น โดยเฉพาะหลังลูกกินนมแม่ และไม่ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ แต่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปากและฟันอื่น ๆ

  • ฟันหลุด หากฟันลูกหลุด ควรเก็บรักษาฟันซี่ที่หลุดออกมาให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา ด้วยการแช่ฟันในน้ำนม เป็นต้น แล้วรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์ทันที
  • ฟันร้าว ให้ลูกกลั้วปากด้วยน้ำอุ่น จากนั้นจึงประคบเย็นที่ใบหน้าเพื่อลดอาการบวม
  • กัดลิ้น ถ้าลูกเผลอกัดลิ้นหรือกัดริมฝีปากตัวเอง ควรเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดอย่างเบามือ แล้วประคบน้ำเย็นเพื่อลดอาการบวม
  • อาหารติดซอกฟัน ให้แปรงฟันให้สะอาด จากนั้นขัดบริเวณซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน ห้ามใช้ไม้จิ้มฟันหรือวัสดุที่มีความแหลมคมแคะฟันให้ลูกเด็ดขาด

การดูดนิ้ว

การดูดนิ้วเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของเด็ก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยปกติแล้ว เด็กจะเริ่มเลิกดูดนิ้วตอนอายุประมาณ 2-4 ปี แต่หากลูกไม่ยอมเลิกดูดนิ้ว โดยเฉพาะเมื่อมีฟันแท้ขึ้นแล้ว ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เช่น ทำให้เยื่อบุช่องปากเสียหาย ทำให้การสบฟันผิดปกติ หรืออาจส่งผลให้รูปหน้าผิดปกติได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tooth decay – young children. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/tooth-decay-young-children. Accessed February 15, 2022

Dental care for babies. raisingchildren.net.au/babies/health-daily-care/dental-care/dental-care-babies. Accessed February 15, 2022

Looking after your baby’s teeth. https://www.nhs.uk/conditions/baby/babys-development/teething/looking-after-your-babys-teeth/. Accessed February 15, 2022

Infant and Children’s Oral Health. https://www.health.ny.gov/prevention/dental/birth_oral_health.htm. Accessed February 15, 2022

Caring for Your Baby’s Teeth. https://www.webmd.com/parenting/baby/caring-babies-teeth. Accessed February 15, 2022

การดูดนิ้ว (Thumb-sucking). https://th.rajanukul.go.th/preview-5028.html. Accessed February 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/02/2022

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมสำหรับเด็กท้องเสีย ควรกินอะไร

สุขภาพฟันเด็ก กับปัญหาและสาเหตุที่แค่แปรงฟันอย่างเดียวอาจไม่พอ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา