กินนมขวด อาจเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยฝึกและเตรียมความพร้อมให้กับลูก เพื่อให้ลูกสามารถดื่มนมจากขวดได้ในช่วงขวบปีแรก โดยอาจให้ลูกได้ลองใช้มือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคบกับขวดนมด้วยตัวเองเสียก่อน นอกจากนี้ การช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม จัดท่าให้ถูกต้อง เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม ก็อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินนมจากขวดได้อีกด้วย
[embed-health-tool-baby-poop-tool]
วิธีฝึกให้ลูก กินนมขวด
สำหรับวิธีการฝึกให้ลูกกินนมนวดนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้ความพยายามและใจเย็นในการฝึกฝนให้กับลูก โดยวิธีการฝึกให้ลูกกินนมขวด อาจทำได้ดังนี้
ทำความคุ้นเคยกับขวดนมก่อนกินนมขวด
หากว่าคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกอาจไม่ยอมกินนมขวด อาจลองให้ลูกสำรวจขวดนม โดยใช้ทั้งมือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับขวดนมด้วยตัวเอง การทำแบบนี้อาจทำให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยและจะไม่มีอาการปฏิเสธ เมื่อต้องถือขวดนม
ช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม
เนื่องจากลูกอาจจะยังไม่รู้จักทิศทาง หรือวิธีการดูดนมในช่วงระยะแรก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยกระตุ้นเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะกินนมขวด โดยเริ่มจากการนำจุกขวดนมไปแตะที่ริมฝีปากของลูก ค่อย ๆ ใส่จุกขวดนมเข้าไปในปาก แล้ววางจุกขวดนมไว้ที่กลางลิ้น ลูกอาจมีปฏิกิริยาห่อลิ่นโดยสัญชาตญาณ ทำให้สามารถดูดนมได้เอง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกดูดนมได้ โดยการเอาปลายนิ้วไปแตะบริเวณแก้ม หรือหยดน้ำนมบริเวณริมฝีปาก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกกินนมขวด
จัดท่าให้ถูกต้อง
ท่าทางในการกินนมขวดที่ถูกต้อง คือ ควรจะเอียงขวดนมเล็กน้อย ให้ลูกกอดขวดนมไว้ที่ท้อง ส่วนหัว คอ และลำตัวควรจะอยู่ในแนวตรง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจหาหมอนหรือผ้าห่มมารองที่เท้า เพื่อทำให้ลูกอยู่นิ่งมากขึ้น การเอียงขวดอาจทำให้ลูกดูดน้ำนมออกจากขวดได้เลย โดยไม่ต้องดูดอากาศเข้าไป ซึ่งอาจทำให้ไม่มีอาการท้องอืด
เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่ควรจะเลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม โดยจุกขวดนมส่วนใหญ่อาจทำจากซิลิโคนหรือยาง และมีรูปแบบแตกต่างกันไป ดังนั้น อัตราการไหลผ่านของน้ำนมก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรูในจุกขวดนม คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้จุกขวดนมต่าง ๆ เพื่อหาจุกที่ลูกสามารถดูดนมได้ง่ายที่สุด นอกจากนี้ ยังควรตรวจดูว่าจุกนมแตกหรือไม่ หากจุกนมแตกอาจต้องเปลี่ยนใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกดูดนมง่ายขึ้น
ระวังอุณภูมิของน้ำนม
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวัง คือ อุณหภูมิของน้ำนมและขวดนม เนื่องจาก ทารกมีความบอบบาง หากใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป อาจทำให้ลวกปากได้ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ไม่ควรเกินอุณหภูมิร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้ให้ขวดเย็นเกินไปแล้ว อาจจะนำขวดนมไปผ่านน้ำร้อนหรือใช้เครื่องอุ่นขวดนม อย่าอุ่นด้วยไมโครเวฟ จากนั้นเขย่าขวดนมและลองหยดน้ำนมลงบนหลังมือเพื่อทดสอบอุณหภูมิก่อนนำไปป้อนให้ลูก
วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ลูกสามารถกินนมจากขวดได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูปฏิกิริยาของลูกอยู่เสมอ และหลังจากลูกกินนมอิ่มแล้ว ควรตบหลังเบา ๆ เพื่อให้ลูกเรอออกมา เพียงเท่านี้ลูกก็จะกินอิ่มนอนหลับ และอาจทำให้อารมณ์ดีตลอดวัน