backup og meta

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่พบเจอส่วนใหญ่มักมาจากสภาพแวดล้อมรอบด้านพวกเขา จนทำให้ลูกรักมักเผชิญกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก และอารมณ์ หากคนในครอบครัวไม่รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากที่เด็ก ๆ เลือกจะเก็บไว้ภายในจิตใจ อาจนำมาสู่การแสดงออกในรูปแบบเหตุการณ์รุนแรงก็เป็นได้

สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้ปกครองควรสังเกต

หากเป็นอาการแรกเริ่มลูกรักของคุณอาจปวดศีรษะบ่อย นอนหลับยาก พร้อมน้ำหนักที่ลดลง แต่กรณีเมื่อสภาวะจิตใจของพวกเขาย่ำแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ทุกควรควรสังเกตถึงสัญญาณเตือนจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปของลูกรัก ดังต่อไปนี้

  • ความโศกเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และรุนแรง
  • รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมใด ๆ
  • หาที่ระบายด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือใช้สารเคมีผิดกฎหมายเข้ามาช่วยคลายความเครียด
  • อยากอยู่คนเดียว เลี่ยงการเจอกับผู้คนรอบข้าง
  • บางครั้งอาจมีการพูดถึงความตาย
  • ผลการเรียนไปในเชิงลบ หรือมีการขาดเรียน โดดเรียนบ่อยครั้ง เป็นต้น

แน่นอนว่าเมื่อสัญญาณเตือนข้างต้นปรากฏขึ้น คุณควรพาเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเภททันที เนื่องจากแพทย์อาจมีหลักจิตวิทยา และทักษะการสื่อสารที่อาจทำให้เด็กช่วงวัยรุ่นนี้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น บางคนอาจไม่มีความกล้าพอที่จะพูดคุยกับคนในครอบครัวได้อย่างเปิดเผย

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

เมื่อปัญหาต่าง ๆ รุมเร้าเกินกว่าที่จิตใจของพวกเขาจะรับไหว อาจทำให้เด็ก ๆ นั้นเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพจิต โดยไม่รู้ตัว ดังนี้

1. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล คือความวิตกกังวลที่มากจนเกินไปของผู้ป่วย และมาจากปัจจัยหลาย ๆ ทาง เช่น สถานการณ์แต่ละวันในสังคม เหตุการณ์รุนแรงที่ฝังอยู่ในความทรงจำตั้งแต่อดีต ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนก หวาดระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา

2. โรคซึมเศร้า (Depressive Episode)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ช่วงวัยรุ่นเป็นกันบ่อย และเสี่ยงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเองมากที่สุด โดยจะพบในวัยรุ่นผู้หญิงมากกว่าวัยรุ่นผู้ชาย บางกรณีปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกรักของคุณเป็นโรคซึมเศร้านั้น อาจมาจากโรควิตกกังวลร่วมด้วย

3. โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder)

โรคบุคลิกภาพผิดปกติสามารถส่งผลให้ช่วงวัยรุ่น 1-3 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ แต่ไม่ถึงกับฆ่าตัวตาย หากสภาวะจิตใจลูกรักยังไม่ถึงระดับรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจทำให้พวกเขามีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์อ่อนไหวง่ายจากความกลัวการถูกทอดทิ้ง

4. ภาวะโซมาติก (Somatic Symptom Disorder)

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นผู้หญิง โดยเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์รุนแรง ปวดแสบช่องคลอด อีกทั้งวัยรุ่นที่เป็นโรควิตกกังวลทางสังคมอยู่แต่เดิม ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะโซมาติกร่วมด้วยเช่นกัน

5. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder)

เรียกได้ว่าเป็นปัญหาทาง สุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการถูกทารุณกรรมจนฝังใจ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นที่มีประวัติเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ และแน่นอนว่าอาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะกลับมาใช้ชีวิตปกติดังเดิมได้อีกครั้ง ซึ่งต้องหมั่นเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาด

วิธีการดูแล สุขภาพจิตของวัยรุ่น

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ สุขภาพจิตของวัยรุ่น ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้ปกครองทุกคน ควรมีการพูดคุย หรือหากิจกรรมเพิ่มความทำร่วมกันสม่ำเสมอ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และทำให้พวกเขารู้สึกว่าครอบครัวเป็นพื้นที่ที่อบอุ่น ปลอดภัย เมื่อมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นจะทำให้ลูกรักกล้าที่จะเข้ามาปรึกษาคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับ หรือให้อิสระลูกจนเกินไปควรดูแล ฝึกสอน ตักเตือนด้วยเหตุผล และพร้อมจะสนับสนุนใหกำลังใจ หากลูกรักอยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ที่พวกเขาชื่นชอบ แต่ในกรณีที่พวกเขากำลังเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อยู่นั้น การพาเข้ารับการบำบัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับประทานยาตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการเอาใจใส่ของผู้ปกครองที่บ้าน ก็อาจส่งผลให้จิตใจพวกเขาฟื้นฟู มีสุขภาพจิต ที่ดีเร็วขึ้นได้ค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mental Health. https://www.cdc.gov/healthyyouth/mental-health/index.htm. Accessed July 19, 2021

Adolescent mental health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health. Accessed July 19, 2021

Child and Adolescent Suicide and Self Harm: Treatment and Prevention. https://www.psychiatrictimes.com/view/child-and-adolescent-suicide-and-self-harm-treatment-and-prevention. Accessed July 19, 2021

Mental Health Disorders in Adolescents. https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/committee-opinion/articles/2017/07/mental-health-disorders-in-adolescents. Accessed July 19, 2021

Mental illness in children: Know the signs. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/mental-illness-in-children/art-20046577. Accessed July 19, 2021

Children and Mental Health: Is This Just a Stage?. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/children-and-mental-health/. Accessed July 19, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา