อุจจาระสีนี้มักจะพบได้กับเด็กทารกที่กินนมแม่ สาเหตุที่พบได้โดยทั่วไปก็เกิดจากการที่ทารกได้รับนมส่วนหน้า (ที่มีไขมันต่ำ) เกินปริมาณที่เหมาะสม ในขณะที่ได้รับนมส่วนหลัง (ที่มีแคลอรี่มากกว่า) ซึ่งน้ำนมที่ลูกน้อยดูดกินในช่วงแรกๆ นั้นมักเป็นน้ำตาลแลคโตส ซึ่งถ้าได้รับเข้าไปภายในร่างกายของลูกน้อยปริมาณมากก็อาจทำให้อุจจาระเป็นสีเขียวได้ ส่วนถ้าลูกน้อยกินนมผงแล้วมีอุจจาระสีนี้ ก็อาจบ่งบอกว่านมยี่ห้อนั้นไม่เข้ากับร่างกายของลูกน้อย คุณแม่อาจต้องเพียงจำกัดปริมาณ และเลือกนมที่ถูกกับสุขภาพลูกน้อย พร้อมตรวจสอบดูว่าอุจจาระยังเป็นสีเขียวสดอยู่หรือไม่
อุจจาระที่มีสีเขียวเข้มอาจมีสาเหตุมาจากการที่ลูกน้อยกินอาหารเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งก่อนที่จะให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมชนิดนี้ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางถึงความจำเป็นเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพตามมาได้
อุจจาระทารกสีน้ำตาล เป็นสีที่คุณแม่ส่วนใหญ่คาดคิดไว้ว่าลูกน้อยหลังคลอดออกมาจะถ่ายเป็นสีน้ำตาล แต่อุจจาระสีน้ำตาลนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทารกเริ่มกินอาหารแข็งได้มากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามสีและกลิ่นอุจจาระของลูกน้อยอาจผันแปรไปตามอาหารที่ลูกน้อยกินเข้าไป อย่างเช่น การกินแครอทบดเละๆ อาจทำให้อุจจาระกลายเป็นสีส้ม หรือการกินบีทรูทก็อาจทำให้สีอุจจาระทารกกลายเป็นสีแดงอมชมพูได้เช่นเดียวกัน
สีอุจจาระทารกที่คุณแม่ควรสังเกตเป็นพิเศษ
สีอุจจาระทารกอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ ซึ่งถ้าลูกน้อยถ่ายอุจจาระเป็นสีต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที
- สีขาว ถ้าลูกอุจจาระเป็นสีขาวหรือสีซีด อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีการย่อยอาหารที่ผิดปกติ นอกจากนี้ ยังอาจบ่งบอกว่าระบบการทำงานของตับผลิตน้ำดีได้ไม่เพียงพอด้วย
- สีแดง อุจจาระสีแดงอาจบ่งบอกถึงอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หากลูกกินนมแม่ก็ควรหยุดป้อนนม แล้วสังเกตดูว่ามีอาการดีขึ้นหรือไม่ หรือแย่ลง แต่ก่อนจะให้ลูกงดอาหารหลักใดๆ ก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน นอกจากนี้ ถ้ามีริ้วสีแดงปะปนอยู่กับอุจจาระแห้งๆ ด้วย ก็อาจบ่งบอกถึงอาการท้องผูก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยเช่นกัน
- สีดำ ถึงแม้อุจจาระสีดำจะถือเป็นเรื่องปกติในช่วงสองสามวันแรก แต่ถ้าเลยจากนั้นแล้วยังเป็นสีดำ ก็อาจบ่งบอกว่าลูกน้อยมีอาการเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องรีบพาไปพบคุณหมอเป็นการด่วน นอกจากนี้ ก็อาจเกิดจากการที่ลูกน้อยย่อยเลือดของแม่ตอนป้อนนมได้เหมือนกัน (ถ้าหัวนมเป็นแผลมีเลือดออก) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อย แต่จะส่งผลต่อผู้เป็นแม่มากกว่า เนื่องจากจะป้อนนมลูกได้ไม่สะดวกสบายมากนัก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย