backup og meta

ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

    ทารกเป็นแผลในปาก คือ อาการที่ทารกมีแผลอยู่ในปาก แผลอาจจะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นตุ่มขาว และทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด จนบางไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มนมได้ มักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริม โดยมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อมาหอมแก้มหรือสัมผัสทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้

    สัญญาณและอาการแผลในปากของทารก

    แผลในปากของทารก มักจะมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นตุ่มขาวภายในช่องปาก รวมทั้งเป็นแผลบนริมฝีปาก ภายในกระพุ้งแก้ม หรือเป็นแผลภายในช่องปาก บนเหงือกและบนลิ้น ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณแผลได้ ทำให้ในบางครั้งทารกไม่ยอมดื่มนมและร้องไห้ไม่หยุดเพราะความเจ็บปวด

    หากพบว่าทารกมีแผลในปากควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน

    สาเหตุที่ทำให้ ทารกเป็นแผลในปาก

    แผลในปากของเด็กทารกสามารถเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริมได้ ซึ่งอาจติดเชื้อมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หอมแก้มหรือมาสัมผัสผิวหนัง นอกจากนั้น การที่ทารกเป็นแผลในปาก อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่

    • ความเหนื่อยล้า หากทารกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารโดยได้สารอาหารไม่ครบถ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนเกิดเป็นแผลในปากได้ง่าย
    • ความเครียดและความกังวล
    • การเคี้ยวหรือกัดกระพุ้งแก้มตัวเองโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้เกิดเป็นแผลในปากได้ด้วย
    • ใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับวัย จนทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องปากของทารกเกิดความเสียหาย
    • บาดเจ็บเนื่องจากนำวัตถุบางอย่างที่มีคมหรือเป็นอันตรายเข้าปาก

    แผลในปากของเด็ก ๆ คล้ายของผู้ใหญ่ ที่เมื่อเป็นแล้วก็จะหายได้ภายในเวลาไม่นาน แต่ทั้งนี้ ทารกควรได้รับการรักษาจากคุณหมอเนื่องจากผิวที่บอบบางและภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีนักอาจติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ง่าย

    วิธีลดความเสี่ยงทารกเป็นแผลในปาก

    เนื่องจากแผลมักเกิดขึ้นภายในช่องปากของเด็ก อาจทำให้การดูแลและป้องกันไม่ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่อาจปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงทารกเป็นแผลในปาก ดังนี้

    • ดูแลให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
    • ทารกควรนอนหลับตรงเวลา โดยเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
    • หมั่นสังเกตความเครียดของทารก ว่ามีความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ฝันร้ายหรือเปล่า
    • ควรให้ทารกดื่มนมหรือรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
    • ลดปริมาณอาหารที่เป็นกรด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

    เมื่อไรที่ควรไปหาคุณหมอ

    ถ้าทารกมีอาการแผลในปาก และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรพาไปพบคุณหมอทันที

    • มีไข้ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่รุนแรงได้
    • อุจจาระปนเลือด
    • มีตุ่มแผลขึ้นบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก เพราะบางครั้ง แผลในปาก อาจมีสาเหตุมาจากโรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) หรือโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (Inflammatory Bowel Disease: IBD)

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา