สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

เด็กเป็นโรคเบาหวาน บุคลากรในโรงเรียนควรดูแลอย่างไร

เด็กเป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวเมื่ออยู่ที่บ้านแล้ว เมื่ออยู่ที่โรงเรียนก็ต้องได้รับการดูแลจากคุณครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียนด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็กที่เป็นโรคเบาหวานเมื่ออยู่ที่โรงเรียน จึงถือเป็นเรื่องที่บุคลากรในโรงเรียนควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เด็กเป็นโรคเบาหวาน คุณครูควรทำอย่างไร หากเด็กเป็นโรคเบาหวาน ผู้ปกครองควรแจ้งให้ครูหรือบุคลากรในโรงเรียนทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที ขณะเดียวกัน คุณครูหรือบุคลากรในโรงเรียนควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเบาหวานได้ดีขึ้น หาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่พบมากในเด็ก เรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณสำคัญต่าง ๆ เช่น อาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้รับมือ หรือพาเด็กไปพบคุณหมอได้ทันเวลา พูดคุยกับผู้ปกครองถึงข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่ครูควรจะต้องทราบ คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือแนวทางและวิธีการต่าง ๆ ต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ใส่ใจเรื่องอาหารการกินของเด็ก คุณอาจต้องแจ้งกับทางโรงอาหารให้ดูแลเป็นพิเศษ หรือสอบถามเด็กเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจะไม่ได้รับประทานอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงของโรค สร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง เด็กที่เป็นโรคเบาหวาน กับเพื่อนคนอื่น ๆ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อน ๆ จะได้รับรู้สัญญาณต่าง ๆ และแจ้งให้ครูทราบได้ ข้อที่สำคัญที่สุด คือ ครูต้องเข้าใจ และเต็มใจที่จะดูแลเด็กนักเรียน หากโรงเรียนมีพยาบาลประจำโรงเรียน ความรับผิดชอบหลักของพยาบาลประจำโรงเรียน เช่น การคอยดูแลเด็กที่เป็นมีอาการป่วย ฉะนั้นเราก็ต้องมั่นใจได้ว่า เจ้าหน้าที่คนนั้นมีความชำนาญในวิชาชีพ และเคยได้รับการฝึกอบรมวิธีดูแลเด็กมาก่อน ซึ่งทางโรงเรียนควรมีข้อปฎิบัติ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร รักษาอย่างไรจึงจะหาย

ผื่นผ้าอ้อม อาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังสวมใส่ผ้าอ้อม ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการงอแงเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบ่อย ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องสังเกตตามบริเวณผิวหนัง รวมถึงอาการผิดปกติของทารกที่อาจปรากฏให้เห็นอีกด้วย ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร ผื่นผ้าอ้อม เป็นรูปแบบทั่วไปของโรคผิวหนังอักเสบ โดยผื่นผ้าอ้อมนี้เกิดจาก ผ้าอ้อมที่เปียก หรืออับชื้น ทำให้ผิวหนังของลูกน้อยเกิดความระคายเคือง จนทำให้มีผื่นสีแดงเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ซึ่งผื่นผ้าอ้อมนี้จะทำการรบกวนตัวเด็กทารก ให้รู้สึกไม่สบายตัว และระคายเคืองผิวหนัง นั่นเอง สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมอาจมีดังนี้ ปล่อยให้ผ้าอ้อมเปียก หรือสกปรก เป็นเวลานานเกินไป ผิวหนังมีรอยถลอกที่เกิดขึ้นจากการถูกับผ้าอ้อม การติดเชื้อยีสต์ การติดเชื้อแบคทีเรีย ปฏิกิริยาต่อการแพ้ผ้าอ้อม โดยทารกอาจมีผื่นผ้าอ้อมบ่อยขึ้น เมื่อทำสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ มีอายุอยู่ในระหว่างช่วง 9-12 เดือน นอนในผ้าอ้อมสำเร็จรูป มีอาการท้องร่วง รับประทานอาหารแข็ง ใช้ยาปฏิชีวนะ อาการของผื่นผ้าอ้อม สำหรับอาการของผื่นผ้าอ้อมที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ ดังนี้ สัญญาณที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ผื่นผ้าอ้อมจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดงเกิดขึ้นบนผิวหนังที่อ่อนโยน นอกจากนั้น ยังอาจเกิดบริเวณก้น ต้นขา และอวัยวะเพศ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตเห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทากอาจจะมีอาการอึดอัดกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่เปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ทารกที่เป็นผื่นผ้าอ้อมมักจะร้องไห้ เมื่อบริเวณที่เป็นผื่นถูกล้าง หรือถูกสัมผัส วิธีการรักษาผื่นผ้าอ้อม เมื่อทารกเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามตรวจสอบผ้าอ้อมบ่อย ๆ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลูกเป็นผื่น ผิวสาก ๆ อาการและวิธีดูแลที่ควรรู้

ผิวหนังของลูกนั้นมีความบอบบางและจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อ ลูกเป็นผื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาลักษณะอาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น มีไข้ แผลพุพอง แผลจุดเล็ก ๆ เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น และจะได้สามารถทำการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้สามารถสังเกตพบอาการที่ผิดปกติ และพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที อาการที่อาจพบเมื่อ ลูกเป็นผื่น สำหรับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อลูกเป็นผื่น อาจมีดังนี้ ผื่นขณะมีไข้ มีไข้และมีจุดสีแดงที่แก้ม ลักษณะอาการเช่นนี้ลูกอาจเป็นหวัดและ เป็นผื่น ลุกลามไปทั่วร่างกาย โดยปกติจะหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์ แผลพุพองที่มือ เท้า และปาก โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในวัยเด็ก ทำให้เกิดแผลพุพองที่มือและเท้า รวมไปถึงทำให้เกิดแผลที่ลิ้นด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เด็กมีไข้ และในบางรายอาจเป็นหวัด  ผื่นจากไข้อีดำอีแดง ไข้อีดำอีแดง ทำให้เกิด เป็นผื่น แดงสีชมพูทั่วร่างกาย ลักษณะคล้ายผิวไหม้ โดยจะเริ่มต้นอาการจากลิ้นบวม เจ็บคอ ปวดศีรษะ และมีไข้ ไข้อีดำอีแดงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพอง อาการจุดแดงเล็ก ๆ และแผลพุพองที่เกิดขึ้นตามตัว อาจเกิดขึ้นจากโรคอีสุกอีใส ทำให้เกิดรอยแดง จุดสีแดงบนใบหน้า แขน และลำตัว ซึ่งมีอาการคัน เด็กบางคนอาจเผลอเกาจนทำให้เป็นแผล ผื่นจากอากาศร้อน ความร้อนและเหงื่ออาจทำให้เกิดรอยแดงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ผด หรือผดผื่น ในบางรายนอกจาก […]


สุขภาพเด็ก

แผลเป็น เด็ก จะรักษาได้อย่างไร

แผลเป็น เด็ก หมายถึงผิวหนังที่นูนขึ้นมาหรือบวมขึ้นมา หลังจากที่แผลหายแล้ว โดยไม่ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่อาจส่งผลกระทบต่อลักษณะภายนอก รวมถึงสภาพจิตใจของเด็กได้ หากรอยแผลเป็นมีขนาดใหญ่ หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ชัด เช่น ใบหน้า มือ แขน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการรักษารอยแผลเป็นของเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดรอยแผลเป็นที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแล แผลเป็น เด็ก เป็นเรื่องปกติธรรมดาของเด็ก ๆ ที่จะเล่นสนุก และซุกซนกันตามประสา จนบางครั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้ หากไม่มีการรักษาหรือดูแลที่ถูกต้อง เมื่อลูกเป็นแผล ให้ล้างแผลเบา ๆ ด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา5นาที เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อและป้องกันรอยจุดด่างดำที่เกิดจากสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ในผิวหนัง หลังทำความสะอาดแผล ทาครีมต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อรักษาแผลให้ชุ่มชื้นและปิดด้วยผ้าก็อซหรือผ้าพันแผล หรืออาจพาลูกไปพบกับคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างละเอียดและเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นได้ รอยแผลเป็นของเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเป็น คือ กระบวนการที่ผิวหนังสร้างขึ้นเพื่อรักษาแผลตามธรรมชาติ โดยปกติผิวจะมีคอลลาเจน เป็นเส้นใยโปรตีนทำหน้าที่เหมือนสะพานที่เชื่อมต่อผิวหนังที่เสียหาย ในขณะที่ร่างกายกำลังทำการรักษาแผลตัวเอง ผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลก็จะเริ่มแห้ง เรียกว่าการตกสะเก็ด โดยการตกสะเก็ดคือกระบวนการปกป้องแผลในขณะที่ผิวหนังได้รับความเสียหาย และเมื่อสะเก็ดหมดไปผิวหนังที่ได้รับการซ่อมแซมนั้นก็มักจะเป็นแผลเป็น แผลเป็น เด็ก ส่งผลอย่างไร ในบางครั้งแผลเป็นอาจทำให้เด็ก ๆ หลายคนสูญเสียความมั่นใจ เด็กบางคนอาจจะชอบใส่กางเกงขาสั้นไปโรงเรียน หรือทำกิจกรรม แต่บางครั้งถ้าผิวบริเวณนั้นมีแผลเป็น เพื่ออาจจะล้อ ทำให้ลูกหมดความมั่นใจในการสวมกางเกงตัวเก่ง  หรือโดยเฉพาะกับแผลเป็นที่ส่วนใหญ่มักจะพบบริเวณใบหน้านั้นมีส่วนที่จะทำให้เด็กๆ หมดความมั่นใจในตนเองได้สูงมาก เด็ก ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

ทารกเป็นแผลในปาก คือ อาการที่ทารกมีแผลอยู่ในปาก แผลอาจจะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นตุ่มขาว และทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด จนบางไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มนมได้ มักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริม โดยมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อมาหอมแก้มหรือสัมผัสทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้ สัญญาณและอาการแผลในปากของทารก แผลในปากของทารก มักจะมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นตุ่มขาวภายในช่องปาก รวมทั้งเป็นแผลบนริมฝีปาก ภายในกระพุ้งแก้ม หรือเป็นแผลภายในช่องปาก บนเหงือกและบนลิ้น ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณแผลได้ ทำให้ในบางครั้งทารกไม่ยอมดื่มนมและร้องไห้ไม่หยุดเพราะความเจ็บปวด หากพบว่าทารกมีแผลในปากควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน สาเหตุที่ทำให้ ทารกเป็นแผลในปาก แผลในปากของเด็กทารกสามารถเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริมได้ ซึ่งอาจติดเชื้อมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หอมแก้มหรือมาสัมผัสผิวหนัง นอกจากนั้น การที่ทารกเป็นแผลในปาก อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หากทารกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารโดยได้สารอาหารไม่ครบถ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนเกิดเป็นแผลในปากได้ง่าย ความเครียดและความกังวล การเคี้ยวหรือกัดกระพุ้งแก้มตัวเองโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้เกิดเป็นแผลในปากได้ด้วย ใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับวัย จนทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องปากของทารกเกิดความเสียหาย บาดเจ็บเนื่องจากนำวัตถุบางอย่างที่มีคมหรือเป็นอันตรายเข้าปาก แผลในปากของเด็ก ๆ คล้ายของผู้ใหญ่ ที่เมื่อเป็นแล้วก็จะหายได้ภายในเวลาไม่นาน แต่ทั้งนี้ ทารกควรได้รับการรักษาจากคุณหมอเนื่องจากผิวที่บอบบางและภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีนักอาจติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

แผลในปาก เกิดจากอะไร และวิธีดูแลเมื่อ ลูกเป็นแผลในปาก

แผลในปาก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากการกัดริมฝีปาก การแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมือเท้าปาก การติดเชื้อราในปาก แผลในปากอาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง และมีอาการเจ็บ จนอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หากพบว่าเด็กมีแผลในปาก ควรรีบดูแลรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] แผลในปาก คืออะไร แผลในปาก คือ อาการที่เนื้อเยื่อเสียหายจนมักมีสีผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง มีอาการเจ็บแสบ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หรืออาจทำให้กินอาหารลำบาก หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เด็กกินอาหารได้น้อยลงจนเสี่ยงขาดสารอาหารได้ แผลในปาก เกิดจากอะไร แผลในปากเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการกัดริมฝีปาก หรือการแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไป จนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดแผลในปากได้ นอกจากนี้ แผลในปากอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเพนิซิลลามิน (Penicillamine) ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) รวมถึงเกิดจากการวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 วิตามินบี 9 หรือโฟเลต สำหรับเด็กที่ฟันเพิ่งขึ้น เวลาเด็กดูดนมหรือรับประทานอาหาร อาจทำให้ฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ไปขบกับริมฝีปากจนทำให้มีแผลในปากได้เช่นกัน อาการของแผลในปากชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้ ปัญหาสุขภาพในเด็กที่อาจทำให้เด็กมีแผลในปาก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องบริเวณสะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ จึงส่งผลให้มีรูเล็ก ๆ บริเวณสะดือที่ลำไส้เล็กสามารถโผล่ออกมาได้ โดยทั่วไป สะดือจุ่นมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี แต่บางรายอาจมีภาวะสะดือจุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สะดือจุ่น คืออะไร สะดือจุ่น เป็นคำที่นิยมใช้เรียกภาวะไส้เลื่อนที่บริเวณสะดือ (Umbilical hernia) ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องใกล้ ๆ สะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ และส่งผลให้ลำไส้เล็กบางส่วนโผล่ออกมาได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี แต่ในบางกรณีก็อาจมีภาวะสะดือจุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเกร็งหน้าท้องตอนยกของหนัก การไอเรื้อรัง การท้องลูกแฝด ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสะดือจุ่นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีภาวะสะดือจุ่นเมื่อเด็กร้องไห้ ไอ จาม หรือท้องตึง ส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วดแต่อย่างใด แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ แต่หากผู้ใหญ่มีภาวะสะดือจุ่น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ วิธีรักษา สะดือจุ่น ภาวะสะดือจุ่นในเด็กมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 1-2 ปี แต่หากเด็กมีอาการปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน ผิวหนังบริเวณสะดือบวม กดแล้วเจ็บ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้เล็กหรือเนื้อเยื่อบริเวณท้องที่ยื่นออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จนส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนและเนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจและเกิดความเครียด โดยปกติแล้วเมื่อลูกร้องไห้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว เหนื่อย ความเครียด หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ส่งผลทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก ดังนั้น การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้ลูกรู้สึกสบายตัว จึงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยร้องไห้น้อยลง ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร การร้องไห้ของลูกเป็นการสื่อสารที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถพูดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ว่าพวกเขากำลังจะสื่อสารอะไร ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจมีดังนี้ อาจมีอาการเหนื่อย เด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นหากเด็กรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กพักผ่อนทันที โดยอาจสังเกตลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงความเหนื่อยล้า เช่น การขยี้ตา หาว ทำสีหน้าอ่อนเพลีย และในบางครั้งอาจ ร้องไห้งอแงออกมานั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้ในเด็กเล็ก ๆ หากเป็นเด็กที่โตกว่าจะมีอาการร้องไห้น้อยลง อาจกำลังหิว อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าพวกเขากำลังหิว อาจต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการทำให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ ดังนั้น เมื่อเด็กร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยผ่าน หรือควรมีการพูดคุยให้เข้าใจถึงเหตุและผลอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากคาเฟอีนในนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน อาจต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในขณะให้นมลูก เพราะอาจส่งผลต่อน้ำนม ทำให้เด็กไม่ง่วงนอน ตื่นกลางดึกบ่อยและอาจทำให้งอแงมากขึ้น ถึงแม้การร้องไห้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กใช้ในการสื่อสาร แต่หากเด็กร้องไห้นานกว่า 15 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของอาการป่วยหรือมีบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายตัว ลูกน้อยร้องไห้บ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยร้องไห้บ่อยอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ อุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ […]


วัคซีน

วัคซีนสำหรับเด็ก สำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง

วัคซีนสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้เตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากลูกน้อยได้รับวัคซีนไม่ครบตามที่กำหนดอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจรายละเอียดวัคซีนเด็กแต่ละชนิดและพาลูกน้อยไปรับวัคซีนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยอย่างครบถ้วน [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนสำหรับเด็ก คืออะไร ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เด็กทารกควรดื่มน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่นอกจากจะมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากกว่า 200 ชนิดแล้ว ยังถือเป็นวัคซีนธรรมชาติที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ได้ด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมแม่ก็จะค่อย ๆ หมดไปภายในเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ทารกทั้งที่กินนมแม่และไม่ได้กินนมแม่ต้องได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ เพราะวัคซีนเด็กไม่เพียงแค่ป้องกันการเกิดโรค แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ได้อีกด้วย วัคซีนทำงานโดยเลียนแบบการติดเชื้อโรคบางชนิดในเด็ก วัคซีนเด็กที่เข้าสู่ร่างกายจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กพัฒนาอาวุธที่เรียกว่า สารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดเดียวกับแต่ละวัคซีนที่เด็กได้รับ ทำให้ร่างกายของเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อโรคในอนาคตต่อไปได้ วัคซีนสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง เด็กควรได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี โดยการให้วัคซีนเด็กจะต้องเป็นไปตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โดยวัคซีนสำหรับเด็กสามารถแบ่งได้เป็น วัคซีนพื้นฐาน คือ วัคซีนจำเป็นที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กเล่นโทรศัพท์ ข้อควรระวังกับผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการ

เด็กเล่นโทรศัพท์ เป็นพฤติกรรมของเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อดูรายการโทรทัศน์ เล่นเกม ส่งข้อความ โทรหรือวิดีโอคอลคุยกับเพื่อน ซึ่งหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่มีคลื่นไมโครเวฟที่่อาจเป็นอันตรายได้ ยิ่งโดยส่วนใหญ่เด็กในปัจุบันนี้มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองทำให้โทรศัพท์อยู่กับตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาถึงผลเสียจากการเล่นโทรศัพท์ รวมทั้งข้อควรระวังและวิธีแก้ไข เหตุผลที่เด็กเล่นโทรศัพท์ คลื่นที่ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ อาจถึงขั้นทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันนี้เด็กนิยมเล่นโทรศัพท์เพราะสาเหตุ ดังนี้ โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และทำกิจกรรมได้หลายอย่าง ทั้งดูโทรทัศน์ ค้นคว้าหาข้อมูล ฟังเพลง ถ่ายรูป แชทหรือโทรคุยกับเพื่อน ดูวิดีโอ เล่นโซเชี่ยลมีเดีย ติดตามดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียงที่่ชื่นชอบ จึงทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกรวมทั้งจำนวนเด็กเล่นโทรศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็วตามไปด้วย การพัฒนาประสิทธิภาพต่าง ๆ ดีขึ้น รวมถึงสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น มีสิ่งน่าสนใจ เร้าอารมณ์ความรู้สึก กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งตอบสนองพฤติกรรมของเด็กและเป็นไปตามช่วงวัยและพัฒนาการ ไม่ควรปิดกั้นแต่ควรหาวิธีจำกัดการใช้งาน อันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ  หากคุณแม่ใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากจนเกินไปขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงในการได้รับคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กที่คลอดออกมาแล้วมากพอสมควร เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองของเด็กทารกนั้นสามารถดูดซึมคลื่นไมโครเวฟได้ถึง 2 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น คลื่นนี้ยังถูกดูดซึมไปยังกระดูกสันหลังได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า ทั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีบทความวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นมือถือกับเนื้องอกในสมอง เผยแพร่ในวารสาร Pathophysiology พ.ศ. 2552 ระบุว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน