สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เป็นการติดเชื้อราที่อาจพบได้ในเด็กช่วงขวบปีแรก โดยเชื้อราอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณหัวนมของแม่และภายในช่องปากของทารก ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อราในปาก ทำให้เห็นเป็นฝ้าขาวที่ลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้แม่กังวลใจ ดังนั้น การเรียนรู้ถึงอาการและการรักษา อาจช่วยให้แม่สังเกตสัญญาเตือนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เกิดจากอะไร ส่วนใหญ่เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ มักพบได้ในร่างกายของทุกคน โดยอาจพบได้ในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอด ปกติแล้วร่างกายจะมีแบคทีเรียที่คอยควบคุมสมดุลอยู่เสมอ แต่บางครั้งเมื่อแบคทีเรียลดลงเนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้เชื้อราชนิดนี้เติบโต และมีการแพร่กระจายจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้ อีกทั้งปัญหาการ ติดเชื้อราในปาก ยังอาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังกินนมแม่ โดยเชื้อราช่องปากมักจะเติบโตได้ดีในที่อุ่น ชื้น และมีความหวาน ซึ่งก็คือ สภาพภายในช่องปากของทารกขณะที่กำลังดูดนมแม่นั่นเอง เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้ได้รับเชื้อและเกิดเป็นเชื้อราในปากขึ้น นอกจากนี้ หากทารกคลอดในขณะที่แม่เป็นเชื้อราในช่องคลอดก็อาจก่อให้เกิดเชื้อราในปากภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอดได้เช่นกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่าแม่ติดเชื้อราในปาก สัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อราในปากขณะให้นมลูกอาจมีดังนี้ เจ็บหัวนม โดยเฉพาะเวลาให้นมลูก หัวนมแตกบ่อย รักษาไม่หาย แม้จะเอาลูกเข้าเต้าถูกวิธีแล้วก็ตาม หัวนมเปลี่ยนสี เช่น สีซีดขึ้น แดงขึ้น ดูมันวาว รู้สึกแสบร้อนที่หัวนม โดยเฉพาะหลังให้นมเสร็จ และอาการอาจคงอยู่เป็นชั่วโมง รู้สึกคันที่บริเวณหัวนมหรือหัวนมไวต่อการสัมผัสเกินไป แค่ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการของการติดเชื้อราได้ที่หน้าอกข้างเดียว หรือสองข้างได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อราในระยะแรกอาจยังไม่แสดงอาการใด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก เป็นอย่างไร

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก สังเกตได้ยากกว่าอาการเจ็บป่วยทางจิตในผู้ใหญ่ ทำให้เด็กหลาย ๆ คนควรที่จะได้รับการรักษา แต่กลับไม่ได้รับการรักษาเพราะสัญญาณและการแสดงออกในเด็กนั้นยากเกินกว่าที่จะสังเกตได้ ดังนั้น การเข้าใจหรือรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในเด็กอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีเยียวยาอาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กได้เร็วขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก มีอะไรบ้าง อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กมีหลายประเภท คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ซึ่งมีดังต่อไปนี้ กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคในกลุ่มนี้จะมี โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือOCD) ภาวะความเครียดหลังได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ โรคหวาดกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) และโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalised Anxiety Disorder, GAD) เด็กที่เป็นโรคในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการใช้ชีวิต และมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ โรคสมาธิสั้น โดยปกติจะมีปัญหาในการให้ความสนใจ โดยจะมีอาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง และมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น เด็กที่เป็นโรคนี้บางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่บางรายอาจมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมา กลุ่มอาการออทิสติก เป็นอาการรุนแรงที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด มักจะพบได้ก่อนอายุ 3 ขวบ ซึ่งจะมีการแสดงอาการที่หลากหลาย อีกทั้งโรคออทิสติกยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย กลุ่มโรคพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ เป็นอาการที่อาจส่งผลให้มีการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติจนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หรือเป็นอาการในรูปแบบของการเบื่ออาหารไปจนถึงอดอาหาร และในบางรายเป็นหนักจนกระทั่งพัฒนาไปสู่โรค Anorexia nervosa หรือโรคคลั่งผอม สัญญาณเตือน อาการป่วยทางจิตในเด็ก การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ให้สังเกตความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรืออารมณ์ที่แปรปรวนอย่างรุนแรงของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 […]


สุขภาพเด็ก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีดูแล

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก (Childhood Leukemia) คือ ภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติถูกสร้างขึ้นแต่ไม่สามารถทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายได้ เนื่องจากมีข้อบกพร่อง คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก (Childhood Leukemia) คืออะไร คำว่า ลูคีเมีย (leukemia) หมายถึง มะเร็งในเซลล์เม็ดเลือดขาว (หรือเรียกอีกอย่างว่าลูโคไซต์ (leukocytes) หรือ white blood cells: WBCs) เมื่อเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติจำนวนมากจะถูกสร้างขึ้นมาจากไขกระดูก (bone marrow) เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติเหล่านี้ จะรวมตัวกันที่ไขกระดูก และกระจายตัวไปในกระแสเลือด แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ที่เหมาะสม ในการปกป้องร่างกายจากโรค เนื่องจากมีข้อบกพร่อง เมื่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการเพิ่มมากขึ้น มะเร็งจะเข้าแทรกแซงการสร้างเม็ดเลือดประเภทอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจาง (จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ) และภาวะเลือดออก นอกเหนือจากความเสี่ยงที่มากขึ้นในการติดเชื้อ ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว (white cell abnormalities) โดยทั่วไปแล้ว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำแนกได้เป็นชนิดฉับพลัน (เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว) และชนิดเรื้อรัง (เกิดขึ้นอย่างช้าๆ) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มักเป็นชนิดฉับพลัน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชนิดฉับพลัน ยังแบ่งออกเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (acute lymphoblastic leukemia: ALL) และมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (acute […]


สุขภาพเด็ก

เด็กอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอย่างไรบ้าง

องค์กรอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า เด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาวะน้ำหนักเกินและเป็น เด็กอ้วน เพิ่มขึ้น 150% โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 4.2 ล้านคนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งการเป็นโรคอ้วนสามารถส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ให้เหมาะสม และให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน เด็กอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอย่างไรบ้าง เด็กเป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งความอ้วนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคมะเร็งอีกหลายชนิดด้วย มากไปกว่านั้นเด็กที่เป็นโรคอ้วน สามารถโดนเพื่อนแกล้งหรือล้อมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ และเด็กอ้วนยังมีแนวโน้มที่จะปลีกตัวออกจากสังคม เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงมีความนับถือตนเองต่ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปจนถึงตอนที่โตเป็นผู้ใหญ่ และเด็กที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังมากกว่า เช่น โรคหอบหืด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ กระดูกและข้อต่อมีปัญหา โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูง วิธีดูแลเมื่อ เด็กอ้วน กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารครบ 5 หมู่ และอาหารไขมันต่ำ เป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการและจะช่วยให้เด็กๆ มีนิสัยการกินที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารอย่างธัญพืชเต็มเมล็ด ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว พืชตระกูลถั่ว และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ควรให้เด็กเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก เนื่องจากร่างกายของเด็กกำลังพัฒนา […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

เด็ก ๆ จะได้รับแคลอรี่จากการกินอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป อาจส่งผลทำให้มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ขาดสารอาหาร ฟันผุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจปริมาณน้ำตาลจากอาหารแต่ละมื้อที่เด็กกิน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย เด็กกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เด็กที่อายุ 2-18 ปี ควรกินน้ำตาลไม่เกิน 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา เพื่อมีสุขภาพหัวใจที่ดี นอกจากนี้ สมาคมกุมารเวช ประกาศว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ และเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปี อาจดื่มน้ำผลไม้ได้ไม่เกิน 118 มิลลิลิตร/วัน นอกจากนี้ การให้เด็กกินน้ำตาลมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน และความอ้วน นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ 1. อาจทำให้ขาดสารอาหาร คุณพ่อคุณแม่หลายคงอาจเข้าใจว่า การขาดสารอาหารเกิดจากการกินอาหารไม่เพียงพอ แต่ความจริงแล้ว การกินอาหารที่ไม่เพียงพอ และการกินอาหารที่มากเกินไปอาจทำให้ขาดสารอาหารได้ ดังนั้น เด็กที่น้ำหนักเกินก็อาจขาดสารอาหารได้เช่นกัน […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

เด็กแพ้แลคโตส สาเหตุ และวิธีการรับมือ

เด็กแพ้แลคโตส (Lactose Intolerance) คือภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถย่อยแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ต เนย ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเสีย ปวดท้อง และอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เมื่อรับประทานนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเข้าไป หากเด็กมีอาการแพ้แลคโตส ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีการรับมือที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เด็กแพ้แลคโตส คืออะไร แพ้แลคโตส เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ เนื่องจากร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ที่จะย่อยแลคโตสในลำไส้เล็ก โดยแลคโตส คือ น้ำตาลที่พบในนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว ถ้าเด็กแพ้แลคโตส พวกเขาอาจมีอาการบางอย่างหลังจากดื่มนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว โดยอาการเหล่านี้ ได้แก่ ท้องอืด ท้องเสีย มีแก๊สในกระเพาะ ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ ร่วมด้วยอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารที่สามารถปรากฏขึ้นได้ นอกจากนี้การแพ้แลคโตสจะแตกต่างกับการแพ้นม และต่างจากการแพ้โปรตีนในนมวัวด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกๆและติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการแพ้แลคโทสที่สามารถเกิดขึ้นได้ เด็กแพ้แลคโตส เกิดจากสาเหตุใด การแพ้แลคโตสสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยสามารถเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ การเป็นโรคหรือการติดเชื้อระบบย่อยอาหาร บาดเจ็บที่ลำไส้เล็ก คนในครอบครัวมีประวัติการแพ้แลคโตส กรณีนี้เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้ร่างกายสร้างเอนไซม์ย่อยแลคโตสน้อยลง โดยอาการจะเกิดขึ้น ในช่วงที่เป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการแพ้แลคโตสจะเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ และจะหายไปในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้แลคโตส การแพ้แลคโตสเป็นอาการที่พบบ่อยในชาวเอเชีย ชาวพื้นเมืองอเมริกัน ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และชาวลาตินอเมริกา โดยคนส่วนใหญ่ที่แพ้แลคโตสจะเป็นไปตลอดชีวิต แต่สำหรับเด็กบางคนการแพ้แลคโตสเป็นอาการชั่วคราว […]


วัคซีน

แพ้วัคซีน ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไร

วัคซีน มีความสำคัญในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรวมถึงโรคร้ายแรง ถึงแม้วัคซีนจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่สำหรับบางคนอาจก่อให้เกิดอาการ แพ้วัคซีน หลังฉีดได้ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีอาการแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้ารับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการแพ้วัคซีน อาการแพ้วัคซีนในระดับไม่รุนแรงอาจส่งผลให้มีอาการบวมแดงบริเวณที่ได้รับการฉีด มีผื่นขึ้นตามตัว และอาจมีไข้ระดับต่ำ แต่หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดอาการหลังฉีดภายในไม่กี่นาที และควรรับการรักษาจากคุณหมอทันที ดังนี้ หายใจหอบ หายใจถี่ วิงเวียนศีรษะ ไอ อาเจียน ระดับความดันโลหิตต่ำ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรง เกิดลมพิษ ผิวซีด คอบวม ผู้ที่มีความเสี่ยง แพ้วัคซีน ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้อาหารอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้วัคซีน เนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจมีส่วนประกอบจากอาหารที่ทำให้แพ้ เช่น โปรตีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในไข่ ดังนั้นหากมีประวัติการแพ้อาหาร ต่อไปนี้ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนการฉีด กลุ่มคนที่แพ้ไข่ วัคซีนบางชนิดมีโปรตีนไข่ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน รวมถึงวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐาน อย่างวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ กลุ่มคนที่แพ้เจลาติน หากแพ้เจลาติน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนฉีดวัคซีน เพราะมีวัคซีนหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเจลาติน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคหัด […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ลูกท้องผูก อาการ สาเหตุ วิธีบรรเทาอาการ

ลูกท้องผูก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น เด็กอาจถ่ายอุจจาระไม่ออก อุจจาระมีลักษณะแข็งหรือแห้ง ทำให้เวลาถ่ายอุจจาระแต่ละทีต้องใช้เวลานาน หรือต้องพยายามเบ่งจนเหนื่อย โดยส่วนใหญ่ลูกท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เและเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้  แต่ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินไป หากเป็นบ่อยครั้งควรรีปปรึกษาแพทย์ อาการแบบไหนที่ถือว่า ลูกท้องผูก การขับถ่ายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่หากการขับถ่ายอุจจาระของลูกคุณ มีลักษณะเหล่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า “ลูกท้องผูก” เข้าแล้ว ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระแข็ง แห้ง และถ่ายอุจจาระยาก อุจจาระก้อนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการขับถ่าย มีอาการเจ็บปวดขณะขับถ่าย มีอาการปวดท้อง อุจจาระเหลวหรือมีลักษณะคล้ายดินเหนียว อุจจาระแข็งและมีเลือดปน ทำไมเด็กถึงท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ อั้นอุจจาระ เด็กๆ อาจไม่สนใจการขับถ่าย เนื่องจากพวกเขาอาจกลัวการเข้าห้องน้ำ หรือติดเล่นจนไม่อยากไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เด็กบางคนอาจอั้นอุจจาระ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก อาหาร เมื่อเด็กกินอาหารที่มีไฟเบอร์อย่างผักและผลไม้ไม่เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำน้อย ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกในเด็กได้ การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น การไปท่องเที่ยว อาจส่งผลกระทบต่อเวลาในการขับถ่ายของลูก จนทำให้ลูกท้องผูกได้ ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ การแพ้นมวัว การแพ้นมวัวหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัวมากเกินไปอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก ปัญหาสุขภาพ อาการท้องผูกสามารถบ่งบอกได้ว่า เด็กๆอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร หรือมีโรคอื่น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

อันตรายจากปัญหา ลูกไม่นอน และวิธีการแก้ไข

ลูกไม่นอน เป็นปัญหาหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจต้องพบเจอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางอารมณ์และการเข้าสังคมอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพัฒนาการทางด้านต่างๆของร่างกายและจิตใจ จะได้มีความพร้อมสมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกควรนอนวันละเท่าไหร่ ทารกวัยแรกเกิด (อายุต่ำกว่า 6 เดือน) นาฬิกาชีวิตของทารกวัยแรกเกิดยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน จะนอนเป็นเวลา 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นตอนกลางคืนและตอนกลางวันเท่ากัน ในช่วงสองสามสัปดาห์แรก ทารกแรกเกิดควรตื่นทุกๆ 3-4 ชั่วโมงจนกระทั่งพวกเขามีน้ำหนักตัวปกติ หลังจากนั้นทารกวัยแรกเกิดจะสามารถนอนติดต่อกันเป็นเวลานานขึ้นได้ และสำหรับทารกวัย 3 เดือน โดยเฉลี่ยจะนอนหลับ 14 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลานอน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน และจะงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้ง ทารกวัย 6-12 เดือน ทารกวัยนี้ต้องการนอนโดยเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อวัน และงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้งๆ ละ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มไม่ตื่นมากินนมกลางคืน หรือหากตื่นขึ้นมากลางดึก ก็ไม่จำเป็นต้องป้อนนมแล้ว วัยเตาะแตะ ในวัย 1-3 ปี เด็กส่วนใหญ่จะนอนหลับประมาณ 12-14 ชั่วโมง […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

อีสุกอีใส ใน เด็ก มีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสงูสวัด (herpes virus) ประเภทหนึ่ง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นอีสุกอีใสได้ แต่โดยปกติมักจะพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก โดยเฉพาะสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อติดเชื้ออีสุกอีใส ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี ซึ่งทำหน้าที่ต้านไวรัสขึ้นมา ดังนั้น เมื่อผู้ใหญ่หรือ เด็กเป็นอีสุกอีใส หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล แค่พักรักษาตัวที่บ้านก็เพียงพอแล้ว [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแลและการรักษาอีสุกอีใสในเด็ก ลดอาการคัน เมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใสจะมีอาการคัน แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเกา เพราะอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อหรือเกิดแผลเป็นหลังจากตกสะเก็ด ควรบรรเทาอาการคันให้ลูกด้วยวิธีอื่น เช่น อาบน้ำที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตบดหยาบ ประคบเย็น ใช้ยาแก้แพ้ แต่พ่อแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ยาลูก ลดอุณหภูมิร่างกาย อาการไข้เป็นเพียงการตอบสนองตามปกติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดโรค เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ผู้ป่วยควรใช้เพียงยาที่ซื้อได้เองจากร้าน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง ก่อนให้ยาใดๆ แก่เด็ก พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเรย์ (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการรุนแรงที่มักพบในเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ อีสุกอีใสเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ หากพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก อย่าให้ลูกไปโรงเรียน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน