สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดวิตามินดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

วิตามินและแร่ธาตุสำคัญมีส่วนช่วยสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก เด็กขาดวิตามินดี ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน รวมไปถึงอาหารเสริมและกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงอยู่เสมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงไม่ควรให้ เด็กขาดวิตามินดี วิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาการของกระดูกและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เสริมสร้างกระดูกและสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีส่วนช่วยในการสร้างและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นการผลิตสารอินซูลิน และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์ หาก เด็กขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ทั้งยังอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของกระดูกล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามพันธุกรรม ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยปกป้องให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน ปริมาณวิตามินดีสำหรับเด็ก สำหรับปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux)

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เป็นภาวะที่อาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เด็กอาเจียน หรือที่มักเรียกกันว่า “แหวะนม” มักเกิดกับเด็กทารก เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง และส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อเด็กมีอายุเกิน 18 เดือน คำจำกัดความกรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) คืออะไร กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เกิดขึ้นเมื่ออาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหารของเด็ก จนทำให้เด็กอาเจียน หรือแหวะนม เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง กรดไหลย้อน นี้มักหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเด็กอายุ 18 เดือนแล้วอาการยังไม่หายไป หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เด็กอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) เด็กบางคนอาจเกิดภาวะกรดไหลย้อนวันละหลายครั้ง แต่หากเด็กสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เติบโตและมีพัฒนาการตามปกติ กรดไหลย้อนในเด็กนี้ไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงมากนัก ในกรณีหายาก กรดไหลย้อนในเด็กอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินอาหารถูกรบกวน หรือโรคกรดไหลย้อน  พบได้บ่อยแค่ไหน กรดไหลย้อนในเด็กนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กทารก โดยในช่วงสามเดือนแรก เด็กมักอาเจียน หรือแหวะนมวันละหลายครั้ง และอาการนี้มักหายไปในช่วงอายุ 12-14 เดือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของ กรดไหลย้อนในเด็ก โดยทั่วไปแล้วกรดไหลย้อนในเด็กไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวล และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ในกระเพาะอาหารจะมีกรดมากพอจนทำให้ลำคอหรือหลอดอาหารเกิดการระคายเคือง หรือทำให้มีสัญญาณหรืออาการแทรกซ้อนใด ๆ อย่างไรก็ตาม อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

ไข้เลือดออกในเด็ก อาการและวิธีรับมือที่ควรรู้

ยุงมักเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายของโรคไข้เดงกี่ (Dengue fever) ที่คนไทยนิยมเรียกว่าไข้เลือดออก โดยปกติแล้ว ไข้เดงกี่หรือไข้เลือดออกจะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองในภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็อาจมีอาการรุนแรง จนกลายเป็น โรคไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue hemorrhagic fever) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในปัจจุบัน สัญญาณของปัญหา ไข้เลือดออกในเด็ก หรือ ไข้เดงกี่ในเด็ก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปกครองจึงควรรับทราบถึงอาการไข้ เพื่อหาทางจัดการได้อย่างทันท่วงที สัญญาณและอาการ ในอดีต ไข้เดงกี่มักถูกเรียกว่าไข้กระดูกแตก (Breakbone fever) เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการเจ็บกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ จนทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกกำลังจะแตก ลูกของคุณอาจพบกับสัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ มีไข้สูง ซึ่งอาจสูงถึง 40° องศาเซลเซียส เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกตามไรฟัน ลูกของคุณอาจโวยวายจากอาการปวดศีรษะรุนแรง มีอาการเจ็บนัยน์ตาด้านหลัง ในข้อต่อ กล้ามเนื้อหรือกระดูก ลำตัวส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยผื่น โดยทั่วไป ไข้เลือดออกในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก และผู้ติดเชื้อไข้เดงกี่เป็นครั้งแรก จะมีอาการที่ไม่รุนแรง ในขณะที่ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่และผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เดงกี่ อาจมีอาการของโรคปานกลางจนถึงรุนแรง การวินิจฉัยไข้เลือดออกในเด็ก ไวรัสเดงกี่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด แต่คุณหมอที่มีประสบการณ์ส่วนมาก จะสามารถประเมินและวินิจฉัยโรคไข้เดงกี่ได้จากลักษณะภายนอกของลูกคุณ แต่กระนั้น การตรวจเลือดก็ยังเป็นวิธีที่แนะนำในการตรวจหาไวรัสเดงกี่ คุณหมออาจแนะนำให้คุณตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูว่าเชื้อไวรัสสร้างความเสียหายรุนแรงต่อลูกของคุณแค่ไหน เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถสร้างความเสียหายแก่เกล็ดเลือด หากคุณสงสัยว่า […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง

ทารกท้องอืด ที่มีสาเหตุจากแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ นับเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กแรกเกิด แต่เด็กบางคนอาจมีปัญหาในการระบายแก๊สออกมาทำให้เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจนร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ เมื่อลูกเกิดอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกน้อยให้รู้สึกดีขึ้นได้เพียงแต่รู้วิธีรับมือทารกท้องอืดที่เหมาะสม แก๊สในกระเพาะอาหารเด็กทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการทารกท้องอืด อาจนับเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กทารก เด็กทุกคนมักจะมีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ เนื่องจากกินไม่หยุด และระบบการย่อยอาหารของเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารขึ้นมา เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยนมแม่และนมผงได้ แต่หากอาการเหล่านี้ทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยไม่ได้หลับไม่ได้นอน คุณพ่อคุณแม่ต้องหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน วิธีช่วยแก้ปัญหาทารกท้องอืด เมื่อลูกท้องอืด จากแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้ ตรวจเช็กท่าป้อนนม และจุกนม ในช่วงที่ให้ลูกน้อยกินนมแม่หรือป้อนนมขวด ลองพยายามยกศีรษะลูกให้สูงกว่าท้อง เพราะจะช่วยให้น้ำนมไหลลงไปอยู่ตรงกระเพาะอาหารส่วนล่าง และไล่อากาศให้มาอยู่ด้านบน ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยเรอออกมาได้ง่ายขึ้น วางขวดนมให้ตั้งขึ้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ลดฟองอาการในจุกนมลง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป้อนนมขวดให้ลูกกิน อาจลองเปลี่ยนไปใช้จุกนมแบบที่ทำให้น้ำนมไหลออกมาช้าๆ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารลงได้   ช่วยทำให้ลูกน้อยเรอออกมา  วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบายแก๊สออกมา ก็คือ การทำให้ลูกน้อยเรอออกมาในช่วงระหว่างและหลังป้อนนม ถ้าลูกน้อยไม่ยอมเรอ อาจลูกนอนหงายซักสองสามนาที จากนั้นลองทำให้เรอใหม่อีกครั้ง ถ้าลูกน้อยเกิดอาการเคลิ้มหลับในระหว่างป้อนนม ควรพาออกไปเดินเล่นให้เรอออกมา เมื่อเด็กเรอออกมาแล้ว จะทำให้สบายตัว การเรอช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้เด็กนอนหลับได้ยาวขึ้น  ทารกท้องอืด นวดช่วยได้ การนวดเนื้อตัวให้ลูกเบา ๆ พร้อมกับจับขาหมุนวนเหมือนท่าถีบจักรยานอากาศ รวมถึงการลูบท้องลูกวนตามเข็มนาฬิกา จะช่วยแก้ปัญหาท้องอืดได้ นอกจากนี้การอาบน้ำอุ่นก็ช่วยไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร และทำให้ลูกน้อยหลับสบายได้เช่นกัน ตรวจสอบอาหาร คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับคุณหมอ เกี่ยวกับอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้มากเป็นพิเศษ พ่อแม่บางคนให้ลูกน้อยดื่มน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของซอร์บิทอล (Sorbitol) ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายของทารกไม่สามารถดูดซึมได้ จนทำให้ทารกท้องอืด  แน่นท้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการท้องอืดจากอาหารควรปรึกษาคุณหมอว่าควรให้ลูกกินอาหารชนิดใด และหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดบ้าง ระมัดระวังอาหารที่กิน ถ้าลูกกินนมแม่ อาจมีปัญหาในเรื่องการย่อยอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานเข้าไปซึ่งส่งผ่านให้ทางน้ำนม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาเฟอีน […]


วัคซีน

วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง

วัคซีนป้องกันงูสวัด เป็น วัคซีนที่ฉีดสำหรับป้องกันโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อ หากได้สัมผัสกับแผลของผู้ป่วยก็จะทำให้สามารถติดเชื้อได้ โดยปกติแล้วเมื่อเป็นโรคงูสวัดจะเกิดเป็นผื่นแดง มีอาการปวด แสบ แต่ในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้น ผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด โรคงูสวัดคืออะไร โรคงูสวัด (Shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Aricella-Zoster ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แม้ว่าจะหายจากโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด ไม่มีอาการของโรคแล้ว แต่เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะยังอยู่ในระบบประสาทไปอีกหลายปี เมื่อไรที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ่ลงหรือในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอเชื้อที่ยังอยู่ในร่างกายก็จะออกมาเล่นงานทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกครั้ง อาการผู้ป่วยโรคงูสวัดคือจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ปวดและแสบร้อนบริเวณที่เป็น โดยปกติแล้วโรคงูสวัดมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในบางรายซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ตาบอดได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค กลุ่มเสี่ยงโรคงูสวัด โรคงูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกคน แม้จะเคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือเคยเป็นงูสวัดมาแล้วก็ตาม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะเป็นโรคงูสวัดได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคงูสวัด ได้แก่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเอชไอวี โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็ง เคยเข้ารับเคมีบำบัดหรือเคยได้รับการรักษาด้วยรังสี ใช้ยาที่มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น สเตียรอยด์ หรือยาที่ได้รับหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ ใครควรได้รับ วัคซีนป้องกันงูสวัด องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้มีการอนุมัติว่า วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้ คือ วัคซีน Zostavax และ วัคซีน Shingrix […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรระวัง

โรคติดต่อหน้าฝน เป็นโรคที่เกิดจากความเปียกแฉะและความอับชื้นของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม โดยมักทำให้เด็ก ๆ เจ็บป่วยเนื่องจากร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายของลูก และระมัดระวังให้ร่างกายของลูกแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคติดต่อหน้าฝน ที่พ่อแม่ควรระวัง โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก ที่พบได้บ่อยและควรระวัง ได้แก่ โรคต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ ภาวะอาหารเป็นพิษ โรคเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ ปวดบิดในท้อง และหากติดเชื้อบิดอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องใส่ใจและระมัดระวังกับเรื่องอาหารการกินของลูกมากเป็นพิเศษ คอยตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ต้องสะอาดสดใหม่ และผ่านการปรุงสุกอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อหน้าฝนที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขา และตาแดง ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อคได้ โรคนี้มักเกิดกับเด็ก ๆ ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม หากเด็ก ๆ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนู หรืออยู่ในพื้นที่ทางการเกษตร […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดหัว อาการแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

ลูกปวดหัว เป็นภาวะสุขภาพในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม แม้จะปวดหัวเพียงเล็กน้อย เพราะอาการปวดหัวบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรหมั่นสังเกตอาการปวดหัวของลูกน้อย และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัวว่าแบบไหนที่ต้องระวัง และควรปรึกษาคุณหมอหากลูกปวดหัวเรื้อรัง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดหัว แบบไหนที่ควรระวัง 1. ปวดหัวบ่อย จนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าลูกมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ทำการบ้านไม่ได้ เล่นไม่สนุก หรือไม่อยากแม้กระทั่งดูการ์ตูนเรื่องโปรด คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปหาคุณหมอ แม้ว่าอาการปวดหัวอาจจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากลูกปวดหัวจนไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ นอกจากนี้ หากลูกปวดหัวนานหลายชั่วโมง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ควรให้ยารับประทานเอง 2. ลูกปวดหัว จนรบกวนการนอนหลับ เด็ก ๆ อาจจะตื่นนอนกลางดึกได้เป็นปกติ หากแต่ตื่นนอนเพราะปวดหัวควรพาไปพบคุณหมอเพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่หากต้องตื่นกลางดึกเพราะปวดหัว อาจหมายถึงความผิดปกติหรือความกังวลใจ นอกจากจะทำให้ลูกสุขภาพแย่ลง เพราะนอนไม่เต็มอิ่มแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไมเกรนในเด็ก โรคเครียด โรคเกี่ยวกับสมอง 3. ปวดหัวและวิงเวียนศีรษะ อยากอาเจียน หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย หากลูกปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องด้วย อาจเป็นอาการของโรคไมเกรนในเด็ก ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารก หากเด็ก ๆ ร้องไห้ เอามือกุมหัวด้วยความเจ็บปวด […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

เด็กนอนกรน แบบไหนที่ไม่ปกติ

อาการนอนกรนในเด็ก หรือ เด็กนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามพ่อแม่ เด็กนอนกรน อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก วามสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร อาการนอนกรนในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจาก อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก หรือมีทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่เกิด อีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กนอนกรน คือ ต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่หลักในการดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และต่อมอดีนอยด์ขยาย (Adenoids) ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย จากการศึกษาพบว่า ปกติแล้ว 11%-12% ของเด็ก ๆ วัย 1-9 ปี มักจะมีอาการกรน โดยจะกรนอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเสียงดังพอที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ยิน หากกรนมากกว่านี้คือเริ่มไม่ปกติแล้ว หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอนกรน แบบนี้ ไม่ดีแน่ กรนเสียงดัง นอนอ้าปากกรน หรือมีอาการสำลัก ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกสมาธิสั้น สัญญาณเตือน และวิธีรับมือ

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่า ลูกสมาธิสั้น แค่ชั่วคราวตามประสาเด็กวัยซน ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้อาจละเลยการดูแลที่เหมาะสม จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตอาการหรือสัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้นในเด็ก จึงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการเบื้องต้นได้ หากพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาคุณหมอทันที เพราะโรคนี้ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ก็อาจยิ่งช่วยให้ลูกมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกสมาธิสั้น เป็นอย่างไร โรคสมาธิสั้น หรือ  ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่พบได้ในเด็กวัย 2-17 ปี ซึ่งอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น ขาดสมาธิ ไม่มีความอดทน ขาดความสนใจ อยู่นิ่งไม่ได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคสมาธิสั้นได้ แต่อาการมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่เป็นเด็ก เด็ก ๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีปัญหา คือ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ไม่สามารถทำตามคำสั่ง และทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่เสร็จ อาการของ ลูกสมาธิสั้น เมื่อลูกสมาธิสั้นอาจทำให้มีอาการหลัก ๆ 3 ด้าน คือ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และไม่มีสมาธิ ดังนี้ อยู่ไม่นิ่ง ซน พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อย ๆ เล่นแรง เล่นได้ไม่เหนื่อย […]


ภาวะทุพโภชนาการ

โรคอ้วนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคอ้วนในเด็ก คือ ภาวะที่น้ำหนักตัวของเด็กเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์น้ำหนักปกติสำหรับวัยและส่วนสูงตามค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่โรคอ้วนในเด็กจะพัฒนาจนกลายเป็นโรคอ้วน (Obesity) ในผู้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะหรือโรคร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ในภายหลัง และอาจทำให้เด็ก ๆ มีปมด้อยหรือความเปราะบางทางใจ เช่น มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ มีความเครียดสูง จนอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก (Obese Children) มีหลายประการ หนึ่งในสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดจากออกกำลังกาย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออาจเกิดจากปัญหาทางฮอร์โมนจนนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน แต่พบได้ค่อนข้างยาก หากสงสัยว่าลูกเสี่ยงเป็นโรคอ้วนจากปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาทางฮอร์โมน ควรพาไปเข้ารับการตรวจเลือดและตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล แม้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักมักถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็ใช่ว่าเด็กทุกคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคอ้วนจะต้องมีภาวะน้ำหนักเกิน แต่หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอ้วนหรือเป็นคนอ้วน ก็อาจทำให้เด็กเสี่ยงมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนอาจมีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่สมาชิกในครอบครัวมักจะทำเหมือนกัน เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย ทั้งนี้ การกินอาหารและการทำหรือไม่ทำกิจกรรมต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของเด็กอย่างมาก เด็กในปัจจุบันนี้มักไม่สนใจกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกกำลังกาย เช่น วิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เด็ก ๆ มักใช้เวลาดูโทรทัศน์วันละประมาณ 4 ชั่วโมง และใช้เวลากับคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมส์มากขึ้นเรื่อย ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน