- 0 คะแนน – ทารกไม่ตอบสนอง
- 1 คะแนน – ทารกมีใบหน้าบึ้งตึงหรือมีอาการต่อต้านให้เห็น
- 2 คะแนน -ทารกมีใบหน้าบึ้งตึงหรือมีอาการต่อต้าน ไอ จาม หรือร้องไห้อย่างหนัก
A – Activity หรือการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
- 0 คะแนน -ทารกมีร่างกายปวกเปียก
- 1 คะแนน -ทารกขยับบ้าง แขนขางอเล็กน้อย
- 2 คะแนน -ทารกมีการเคลื่อนไหวได้ดี
R – Respiration หรือความพยายามในการหายใจ
- 0 คะแนน – ทารกไม่หายใจ
- 1 คะแนน – ทารกหายใจช้าหรือไม่สม่ำเสมอ
- 2 คะแนน – ทารกร้องไห้เสียงดัง
ผลประเมินคะแนนแอปการ์
ผลประเมิน: 8-10 คะแนน
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะได้คะแนนแอปการ์ 7-9 คะแนน กรณีที่ทารกได้คะแนนแอปการ์เต็ม 10 พบได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากผิวหนังบริเวณเท้าของทารกแรกเกิดมักมีสีน้ำเงิน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีผิวปกติเมื่อผิวหนังอุ่นขึ้น ทารกที่ได้รับคะแนน Apgar ในระดับนี้ถือว่ามีสุขภาพแข็งแรง และไม่ต้องเฝ้าติดตามอาการเพิ่มเติม
ผลประเมิน: 5-7 คะแนน
หากทารกได้คะแนนแอปการ์ ประมาณ 5-7 ในช่วง 1 นาทีแรกหลังลืมตาดูโลก อาจเป็นสัญญาณว่าเกิดปัญหาตอนคลอดที่ทำให้ออกซิเจนในเลือดของทารกลดลง พยาบาลหรือผู้ดูแลอาจเริ่มให้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ และใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวทารกเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจน หลังถูกกระตุ้น ทารกที่สุขภาพแข็งแรงจะมีปฏิกิริยาตอบสนองดีขึ้น และเมื่อประเมินสภาพทารกครั้งที่ 2 อาจได้คะแนนเพิ่มเป็น 8-9 แต่หากประเมินครั้งที่ 2 แล้ว อาการและผลคะแนนยังไม่ดีขึ้น อาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด (Birth asphyxia)
ผลประเมิน: น้อยกว่า 5 คะแนน
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ผ่าคลอดฉุกเฉิน อาจได้คะแนนแอปการ์ น้อยกว่า 5 ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางระบบหายใจหรือการทำงานของหัวใจที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทารกที่ได้คะแนน Apgar น้อยกว่า 5 คะแนนอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรืออุปกรณ์พยุงชีพเพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกาย และคุณหมออาจนำก๊าซในเลือดจากบริเวณสายสะดือไปตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติม
การดูแลของคุณหมอเมื่อพบความผิดปกติ
หากทารกได้รับคะแนนแอปการ์ น้อยกว่า 7 คะแนน คุณหมอจะรักษาตามอาการที่พบด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจ เป็นต้น การประเมินคะแนนแอปการ์เป็นประโยชน์สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ในการคัดกรองทารกแรกเกิดที่อาจต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน และเป็นเพียงการประเมินสุขภาพทารกในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นเกณฑ์ที่บอกถึงสุขภาพของทารกในอนาคต แม้ทารกบางคนจะได้คะแนนแอปการ์ น้อย แต่ก็สามารถเติบโตและมีพัฒนาการตามปกติได้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย