ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้มีออกซิเจนส่งผ่านสายสะดือไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกายของทารกได้ไม่เพียงพอ จนเซลล์เสียหายรุนแรง ส่งผลเสียต่อสมอง หัวใจ ปอด ไต ลำไส้ หรืออวัยวะอื่น ๆ ของทารก
อาการของภาวะ Birth asphyxia
อาการของภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia อาจมีดังนี้
- ทารกไม่หายใจหรือหายใจอ่อนมาก
- ผิวของทารกเป็นสีออกน้ำเงิน สีเทา หรือซีดกว่าปกติ
- อัตราการเต้นของหัวใจอ่อน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีกรดในเลือดปริมาณมาก (Acidosis)
- มีอาการชัก
การวินิจฉัยภาวะ Birth asphyxia
หลังคลอด คุณหมอและเจ้าหน้าที่จะประเมินสภาพของทารกแรกเกิดด้วยการให้คะแนนแอปการ์ (Apgar score) หรือผลการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด ซึ่งจะเป็นการประเมินสีผิว อัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจร การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เพื่อบ่งชี้สุขภาพของทารกในเบื้องต้นในเวลา 1 นาที 5 นาที และ 10 นาทีหลังคลอด คะแนนแอปการ์มีระดับตั้งแแต่ 0-10 โดยทั่วไป เด็กที่มีสุขภาพดีจะได้คะแนนแอปการ์ 7 คะแนนขึ้นไป หากได้คะแนนแอปการ์ 0-3 คะแนน อาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงซึ่งอาจต้องรับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
นอกจากนี้ คุณหมออาจตรวจเพิ่มเติมว่ามีอาการอื่น ๆ ที่แสดงถึงภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น
- ทารกหายใจไม่ปกติ
- การไหลเวียนโลหิตไม่ดี
- ความดันโลหิตต่ำ
- ไม่มีการถ่ายปัสสาวะ
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
แนวทางการรักษา Birth asphyxia
หากทารกมีภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดในระดับเบา คุณหมออาจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าทารกจะแข็งแรงพอที่จะหายใจได้ด้วยตัวเอง และจะติดตามดูสัญญาณภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
สำหรับทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดอย่างรุนแรง อาจต้องใช้วิธีรักษาดังนี้
- ใช้เครื่องช่วยหายใจขนาดเล็กส่งลมไปยังปอดของทารกแบบถี่ ๆ ในบางกรณีอาจต้องให้สารไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ผ่านทางท่อช่วยหายใจ หรือใช้วิธีปั๊มหัวใจเพื่อช่วยชีวิต
- รักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกาย (Hypothermia) ด้วยการใช้เครื่องทำความเย็นผ่านผิวหนัง (Surface cooling) หรือผ้าห่มเย็น (Cooling blanket) เพื่อลดความเสียหายในสมอง
- ให้ยาควบคุมระดับความดันโลหิต
- ให้ยาบำบัดอาการชัก
- ส่งสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ (IV) เพื่อช่วยฟื้นฟูลำไส้
- ฟอกไต เพื่อปรับสมดุลเลือดในร่างกาย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย