backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 17/02/2023

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

BLW (Baby Led Weaning) หมายถึง การให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง อาหารที่นำมาให้ลูกฝึกกินควรเป็นอาหารที่ ค่อนข้างแข็งเล็กน้อย และควรผ่านการปรุงสุกเพื่อช่วยให้กินได้ง่าย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่น เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แครอท การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถเริ่มรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมได้ สามารถเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ และเริ่มนั่งตัวตรงได้แล้ว การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW เป็นการเสริมทักษะเพื่อให้ลูกสามารถเริ่มหัดช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจช่วยประหยัดเวลาในการป้อนอาหารได้มากขึ้น

เมื่อไหร่ลูกจะพร้อมฝึก BLW 

  • ลูกควรมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยที่สามารถนั่งบนเก้าอี้แบบทรงตัวตรง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะต้องกินอาหารได้เองแบบที่ไม่ต้องมีคนคอยช่วย เพียงแค่คอยสังเกตพฤติกรรมเท่านั้น การนั่งเองได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกับการกินแบบBLW เมื่อเด็กสามารถนั่งเองได้ก็จะง่ายต่อการกิน
  • หยิบจับของได้ การกินแบบนี้ส่วนใหญ่เน้นให้เด็ก ๆ กินด้วยตัวเอง คุณพ่อหรือคุณแม่ควรสังเกตจากขั้นพื้นฐานของลูกในเรื่องการเริ่มหยิบจับสิ่งของ
  • เริ่มเคี้ยวอาหารได้ แม้ว่าฟันของเด็ก ๆ จะยังไม่ขึ้นเต็มที่ แต่เขาก็มีเหงือกที่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวบดอาหารได้แล้ว

วิธีการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

  • ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารในทุก ๆ มื้ออาหาร แม้เขาอาจจะไม่ได้กินอาหารในทุก ๆ มื้อ แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างนิสัยที่ดีให้กับเขาได้ และปรับให้เขารู้สึกชินและคุ้นเคย
  • หั่นอาหารเป็นชิ้น ๆ ให้พอเหมาะกับมือเล็ก ๆ ของเขา เพื่อที่จะได้หยิบจับเข้าปากได้อย่างง่าย นอกจากนี้ควรหั่นเป็นรูปทรงที่ง่ายต่อการหยิบจับ เช่น ชิ้นแบบยาว เป็นริ้ว ๆ
  • เตรียมพื้นที่ สำหรับการกิน เพราะอาจจะมีความยุ่งยากในระหว่างที่ลูก ๆ กินอาหาร เพราะอาจเกิดความเลอะเทอะไปทั่วทั้งโต๊ะ พื้นบ้าน หรือแม้แต่ใบหน้า ลำตัวของเขาเอง แต่นั้นเป็นสัญญาณที่ดีว่าเขากำลังสนุกกับการกิน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้เขาด้วยการล้างมือก่อนกินอาหาร หลังอาหาร เป็นการสอนเสริมไปในตัวถึงความสะอาด เพื่อให้เขาจดจำ และทำต่อมาเมื่อเติบโต
  • เลือกอาหารที่เหมาะกับวัยของเด็ก อาจจะเริ่มต้นมื้อแรกของลูก ๆ ด้วยอาหารที่ไม่แข็งจนเกินไป เช่น อะโวคาโดบดหยาบ ๆ ไม่ถึงกับละเอียด มันฝรั่งต้ม หรือผักที่ปรุงสุกอื่น ๆ เช่น แครอท บร็อคโคลี่
  • นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเนื้อสัตว์ที่มีความนิ่มในแต่ละมื้ออาหารลงไปได้ด้วย เช่น เนื้อปลานึ่งสุก ตับ หมูเนื้อ เพื่อให้ลูก ๆ ได้ สารอาหารอย่างครบถ้วน และควรให้แต่พอดีในสัดส่วนที่พอดีกับผัก ผลไม้

ประโยชน์ของการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

การกินแบบนี้จะเป็นการเน้นให้เด็ก ๆ ได้กินด้วยตัวเอง หยิบจับอาหารในจานของตัวเอง อย่างแรกคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเสียเวลาป้อน หรือบังคับให้เด็ก ๆ กินอาหาร เพราะเขาจะเป็นคนเลือกเองว่าอยากกินแบบไหนที่เราได้จัดเตรียม และได้ลองเลือกหยิบจับสิ่งนั้นกิน ถือได้ว่าเป็นการบ่งบอกว่าสิ่งไหนที่ลูกชอบหรือไม่ชอบ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในมื้อต่อไปได้ และมากไปกว่านั้นลูกจะได้การเรียนรู้ด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาทักษะของนิ้ว มือ การเคี้ยว ในระหว่างที่หยิบจับอาหาร

ข้อควรระวังในการให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม นมแม่ก็ยังเป็นอาหารที่มีความสำคัญกับเด็ก ๆ มากที่สุด ด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่มากมาย ดังนั้น เราควรเลือกการกินแบบ BLW เพียงวันละ 1 มื้อ ในแต่ละวัน และไม่ควรให้เด็ก ๆ กินในช่วงที่เขากำลังมีอารมณ์เชิงลบ หรือร้องไห้ งอแงอยู่ เพราะอาจทำให้พวกเขาคัดค้านการฝึกนี้ แถมเสี่ยงที่จะทำให้เขาเกิดการสำลัก

ดินา ดิมาจกิโย (Dina DiMaggio) ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ได้กล่าวในนิตรสารฉบับหนึ่งว่า เด็กเล็กยังคงมีความล่าช้าในพัฒนาการด้านระบบประสาท ควรให้อาหารแบบอ่อนในมื้อแรก ๆ และค่อย ๆ เพิ่มความแข็งขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคุณแม่ที่เตรียมอาหารให้เล็กน้อยนี้ควรจะต้องระวัง หรือตรวจสอบดูความผิดปกติของลูกเรื่องการแพ้อาหารเป็นพิเศษ รวมทั้งอาหารที่อาจส่งผลให้ลูกรักสำลัก ติดคอได้ เช่น ถั่ว องุ่น ลูกเกด ข้าวโพดคั่ว ผักดิบ

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจ หรือมีข้อกังวลเพิ่มเติม เกี่ยวกับอาหารที่ควรฝึกให้ลูกเริ่มกินอาหารด้วยตนเอง หรืออยากได้เทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย สามารถเข้าขอคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือคุณหมอเฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 17/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา