backup og meta

เลิกจุกนมหลอก ให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

เลิกจุกนมหลอก ให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

เด็กส่วนใหญ่ชอบดูดจุกนมหลอก เพราะดูดแล้วรู้สึกสบายใจ แต่หากเด็กกำลังอยู่ในวัยหัดพูดจุกนมหลอกอาจรบกวนพัฒนาการของเด็กได้ แต่เมื่อพยายามดึงจุกนมหลอกออกก็อาจทำให้ลูกร้อไห้ งอแง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจและเกิดความเครียด อย่างไรก็ตาม เลิกจุกนมหลอก อาจต้องทำตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการค่อย ๆ ลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลง หรืออาจต้องหาวิธีอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

วิธี เลิกจุกนมหลอก

สำหรับวิธีการเลิกจุกนมหลอกที่คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ด้วยตัวเองมีดังนี้

อาจให้เลิกจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย

หากอยากให้ลูกเลิกดูดจุกหลอกได้อย่างถาวร อย่าปล่อยเอาไว้นานจนลูกติดจุกนมหลอก การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย มักจะทำได้ง่ายกว่าตอนลูกโตแล้ว ยิ่งลูกโตเท่าไหร่ก็ยิ่งเลิกจุกนมหลอกได้ยากเท่านั้น

อาจใช้วิธีหักดิบ

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอก ก็ควรนำจุกนมหลอกออกไปให้พ้นจากสายตาเขาทันที แต่วิธีหักดิบแบบนี้อาจจะไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากลูกอาจมีอาการงอแง ร้องไห้ที่จะดูดจุกนมหลอกตลอดเวลา ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน จนคุณพ่อคุณแม่อาจใจอ่อนยอมให้ลูกดูดจุกนมหลอกเหมือนเดิม หากตัดสินใจแล้วก็ควรทำให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ครั้งต่อไปยากขึ้นกว่าเดิม

อาจค่อย ๆ ลดจำนวน

การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจเป็นวิธีที่นุ่มนวลกว่าการหักดิบ แต่อาจต้องใช้เวลากว่าลูกจะเลิกดูดจุกนมได้ การลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลงเรื่อย ๆ อาจทำให้ลูกน้อยไม่สามารถใช้จุกนมหลอกได้ตลอดเวลา และในที่สุดก็จะเลิกสนใจไปเอง โดยวิธีการก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องจำกัดการใช้จุกนมหลอกให้เหลือแค่ชิ้นเดียว ทุกครั้งที่ลูกร้องหาจุกนมหลอก ก็ค่อย ๆ ตัดปลายจุกนมหลอกออกทีละนิด หลังจากทำแบบนี้ไปสัก 2-3 วัน ลูกอาจจะเริ่มรู้สึกว่าดูดจุกนมหลอกแล้วไม่รู้สึกดีเหมือนเดิม แล้วในที่สุดก็จะตัดขาดจากจุกนมหลอกได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

อาจโน้มน้าวด้วยของเล่น

หากคุณพ่อคุณแม่มีความสามารถในการแต่งนิทานหรือเล่าเรื่อง อาจจะแต่งนิทานเกี่ยวกับจุกนมหลอกมาเล่าให้ลูกฟัง เพื่อช่วยโน้มน้าวให้เขาเลิกดูดจุกนมหลอกได้ นอกจากนั้นอาจหาของขวัญที่มีประโยชน์ เช่น ของเล่นเสริมทักษะ มาให้ลูกแทน เพราะนอกจากจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากจุกนมหลอกได้แล้ว ของเล่นเสริมทักษะยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้ด้วย

อาจทำให้จุกนมหลอกมีรสชาติแย่

สิ่งที่ต้องทำก็คือการค้นหารสชาติที่ลูกน้อยไม่ชอบ แล้วทำให้จุกนมหลอกนั้นมีรสชาติแบบนั้น หากไม่รู้ว่าลูกไม่ชอบรสชาติแบบไหน อาจลองใช้น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู เกลือ ทาที่จุกนมหลอก วิธีนี้อาจดูรุนแรงกับลูกแต่ก็เป็นวิธีที่ได้ผล ซึ่งเทคนิคนี้สามารถใช้แก้นิสัยชอบกัดเล็บของลูกได้ด้วย

เหตุผลที่ควรให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอก

ถึงแม้ว่าสถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกันจะสนับสนุนให้เด็กใช้จุกนมหลอก ในช่วงงีบหลับตอนกลางวัน และช่วงเวลานอนกลางคืนในช่วงขวบปีแรก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของอาการไหลตายในเด็ก แต่หากพิจารณาผลกระทบจากการดูดจุกนมหลอกดังต่อไปนี้ ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจให้ลูกเลิกจุกนมหลอกได้

  • เด็กที่ไม่ได้ใช้จุกนมหลอกมีแนวโน้มจะติดเชื้อในหูได้น้อยกว่า
  • สำหรับเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน การดูดจุกนมหลอกอาจทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการทางภาษาและการพูด โดยเฉพาะเมื่อลูกมีแนวโน้มเกิดปัญหาเหล่านี้อยู่แล้ว
  • หากยังปล่อยให้ลูกดูดจุกนมหลอกต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงวัยที่ไม่ควรใช้จุกนมหลอกแล้ว อาจทำให้ลูกมีปัญหาสุขภาพปากและฟันได้

ข้อควรระวัง

ไม่ว่คุณจะให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอกด้วยวิธีไหน สิ่งที่ต้องพึงระวังไว้เสมอก็คือ การให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอก อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่น่าชื่นชมอย่างอื่นขึ้นมาแทนที่ เช่น ชอบดูดนิ้วหัวแม่มือตัวเอง ชอบหอบผ้าห่มผืนโปรดไปไหนมาไหนด้วย ติดตุ๊กตา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตความพร้อมของลูกว่าเมื่อไหร่ที่ควรเลิกจุกนมหลอก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bye-Bye Binky: Ending the Pacifier Habit. https://www.parents.com/toddlers-preschoolers/development/behavioral/bye-bye-binky-ending-the-pacifier-habit/. Accessed on July 24, 2018

HomeParentingEnding the Pacifier Habit: Tips for Weaning Your Child off the Pacifier. http://www.youandkids.com/ending-pacifier-habit-tips-weaning-child-off-pacifier/. Accessed on July 24, 2018

How to wean your child off the pacifier. https://www.babycenter.com/child/development/how-to-wean-your-child-off-the-pacifier_3659347. Accessed February 13, 2022

What role for the pacifier in acute otitis media risk?. https://revistas.rcaap.pt/nascercrescer/article/view/17978. Accessed February 13, 2022

The effect of pacifier sucking on orofacial structures: a systematic literature review. https://progressinorthodontics.springeropen.com/articles/10.1186/s40510-018-0206-4. Accessed February 13, 2022

Dummies: helping your child let go. https://raisingchildren.net.au/preschoolers/sleep/night-time-problems/dummies-helping-your-child-let-go. Accessed February 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/02/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกดูดนิ้ว ไม่ยอมเลิก พ่อแม่จัดการกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างไรบ้าง

กัดเล็บ ส่งผลเสียไหม ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยชอบกัดเล็บ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 13/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา