backup og meta

ข้อควรรู้ก่อนฝึกให้ลูกกินอาหารแบบ BLW

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    ข้อควรรู้ก่อนฝึกให้ลูกกินอาหารแบบ BLW

    BLW หรือ Baby Led Weaning หนึ่งในวิธีการสอนลูกให้กินอาหารหรือฝึกหยิบอาหารรับประทานด้วยตนเองตั้งแต่มื้อแรก นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกแล้ว ยังอาจช่วยพัฒนากล้ามเนื้อให้ลูกได้อีกด้วย

    สอนลูกให้ ทานเอง ตั้งแต่มื้อแรก (Baby Led Weaning)

    BLW หรือ Baby Led Weaning  คือการปล่อยลูกให้ ทานเอง หยิบอาหารรับประทานเอง (คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ป้อนอาหารให้ลูกเลย) โดยส่วนใหญ่จะให้ลูกรับประทานเองเมื่อมีอายุ 6 เดือน เพราะลูกสามารถตั้งคอแข็ง หยิบจับสิ่งของได้เอง

    ลักษณะอาหารจะเป็นอาหารแข็งที่นุ่มเคี้ยวง่าย แต่ต้องไม่ผ่านการบด หรือปั่น คุณพ่อคุณแม่จะต้องหั่นเป็นชิ้นพอดีคำเพื่อให้ลูกสามารถหยิบจับอาหารรับประทานด้วยตนเองได้ เช่น ถั่ว กล้วย ฟักทอง ไข่ต้ม ข้าวโอ๊ต อะโวคาโด เป็นต้น

    BLW มีประโยชน์ต่อลูกอย่างไร?

    เชื่อหรือไม่คะว่า การปล่อยให้ลูกหยิบอาหาร รับประทานอาหารด้วยตนเอง นั้น มีประโยชน์ต่อลูกในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ดังนี้

  • เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ในวัยเด็ก สามารถควบคุมตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่าต้องการรับประทานอะไร เมื่อไหร่ เวลาไหน
  • ลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเอมไซม์ในการย่อยอาหารมากขึ้น
  • ช่วยควบคุมปริมาณน้ำหนัก เนื่องจากเด็กที่หยิบรับประทานอาหารเอง จะกินพอดีเมื่อรู้สึกอิ่ม
  • มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลาย
  • ฝึกประสาทสัมผัส การใช้ตาในการมองเห็น และใช้มือในการหยิบจับ
  • มื้อแรกของลูกเริ่มต้นด้วยอาหารชนิดไหนดี

    อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ควรทราบเบื้องต้นก่อนว่าอาหารชนิดใดบ้างที่ลูกสามารถรับประทานได้หรือควรหลีกเลี่ยง ดังนี้

    • ชนิดอาหารที่รับประทานได้ โดยอาหารส่วนใหญ่จะต้องอุดมด้วยธาตุเหล็กเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเจริญเติบโต เช่น ถั่ว อะโวคาโด กล้วย ฟักทอง บรอกโคลี ข้าวโอ๊ต แครอท ถั่วเขียวต้ม ไข่ต้ม  เป็นต้น
    • ชนิดอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ควรหลีกเลี่ยงเสี่ยงต่อการสำลัก เช่น น้ำผึ้ง นมวัว ผักดิบ ๆ ลูกเกด อาหารที่มีรสเค็ม อาหารแปรรูป เป็นต้น

    ข้อควรทราบเกี่ยวกับ BLW

    • เด็กควรจะต้องมีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป
    • เด็กต้องสามารถ นั่งเองได้ หยิบจับคว้าสิ่งของได้
    • ไม่บังคับลูกในการรับประทานอาหาร ให้เริ่มรับประทานแบบสบาย ๆ แต่ควรกำหนดเวลาในการรับประทานให้แน่นอน อยู่ระหว่าง 15-45 นาที
    • ห้ามปล่อยลูกไว้คนเดียว คอยเฝ้าสังเกตอาการดูอย่างใกล้ชิด
    • ห้ามใช้ช้อนป้อนลูกเด็ดขาด รอให้ลูกหยิบอาหารเข้าปากเอง

    ถึงแม้ว่าการฝึกให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตนเอง จะมีประโยชน์ต่อลูกมากเพียงใด คุณแม่ก็ยังคงต้องให้นมลูกจนกว่าจะมีอายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารจากน้ำนม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา