backup og meta

ความเครียดในเด็ก สัญญาณที่พ่อแม่ควรสังเกต

ความเครียดในเด็ก สัญญาณที่พ่อแม่ควรสังเกต

ความเครียดในเด็ก อาจมีสาเหตุมาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ภาระงานที่โรงเรียน เพื่อน การย้ายโรงเรียน ปัญหาครอบครัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับ คำพูด อารมณ์ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กกำลังอยู่ในภาวะเครียดได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สาเหตุของ ความเครียดในเด็ก

ความเครียดในเด็ก อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  • ความเจ็บป่วยทางร่างกาย
  • กังวลเรื่องผลการเรียน หรือภาระงาน
  • หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น การเป็นนักกีฬาของโรงเรียน
  • มีปัญหากับเพื่อน ลูกอาจโดนเพื่อนรังแกที่โรงเรียน
  • การต้องย้ายโรงเรียน หรือย้ายบ้าน
  • มีความคิดลบ ๆ เกี่ยวกับตัวเอง
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง เช่น การมีหน้าอก เสียงแตกหนุ่ม
  • ปัญหาครอบครัว เช่น คุณพ่อคุณแม่หย่าร้าง เกิดการทำร้ายร่างกาย
  • ปัญหาการเงินในครอบครัว
  • สภาพสังคม หรือกลุ่มเพื่อนที่อันตราย

สัญญาณเตือนอาการเครียดในเด็ก

สำหรับสัญญาณเตือนที่คุณพ่อคุณแม่อาจใช้เพื่อสังเกตอาการเครียดในเด็ก อาจมีดังนี้

1. อาจไม่สบายบ่อย

ความเครียดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าเด็กเข้าห้องพยาบาลบ่อย หรือมักจะบ่นว่าปวดหัว ปวดท้อง ยิ่งถ้าป่วยบ่อย ๆ ในช่วงสอบ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กกำลังมีภาวะเครียด และอาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพหรือตกอยู่ในภาวต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • นอนมากเกินไปหรือนอนน้อยเกินไป
  • กินมากเกินหรือน้อยเกินไป
  • ปวดหัว
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • ฝันร้าย
  • ปวดท้อง

2. อาจใช้คำพูดในแง่ลบ

เด็กอาจยังไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่บอกอาการเครียด ดังนั้น อาจใช้พูดคำอื่น ๆ เช่น กังวล สับสน รำคาญ โกรธ แทนการบอกถึงอาการเครีย คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตสัญญาณความเครียดได้จากคำพูดต่าง ๆ ที่อาจสะท้อนอารมณ์ด้านลบออกมา นอกจากนี้ หากเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ อาจเป็นการต่อว่าตัวเอง ต่อว่าคนอื่น หรือโทษสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่มีใครรัก ไม่มีอะไรสนุกเลย น่าเบื่อไปหมด ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็กกำลังเกิดความเครียด

3. การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์

สัญญาณอีกหนึ่งอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ความเครียดในเด็ก คือ อารมณ์ที่เริ่มแปรปรวน ซึ่งเด็กอาจแสดง ดังนี้

  • กังวล
  • เก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ
  • เกิดความกลัวใหม่ ๆ เช่น กลัวความมืด กลัวคนแปลกหน้า กลัวการอยู่คนเดียว
  • ติดคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น
  • โกรธจัด หรือร้องไห้หนักบ่อย ๆ
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  • ไม่เข้าร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือกิจกรรมในโรงเรียน

วิธีช่วยให้เด็กคลายเครียด

  • ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งครอบครัว การรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาหรือดูหนังด้วยกันทั้งครอบครัว อาจทำให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ซึ่งอาจช่วยบรรเทาและช่วยป้องกันความเครียดในเด็กได้
  • เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กมักเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการจัดการกับความเครียด และระวังพฤติกรรมที่ไม่สมควร เช่น การตะคอกใส่ผู้อื่น การขว้างปาข้าวของเวลาเครียด เพราะเด็กอาจเลียนแบบได้
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจช่วยบรรเทาความเครียดในเด็กได้ เพราะหลังจากออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) ทำให้รู้สึกมีความสุข และช่วยบรรเทาความเครียดได้
  • รับฟังปัญหาของเด็ก การที่คุณพ่อคุณแม่รับฟังปัญหาเของเด็กด้วยความเข้าใจ อาจช่วยทำให้เด็กรู้สึกสบายใจมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับเด็ก และแนะแนวทางในการแก้ปัญหา เมื่อเด็กสามารถแก้ไขปัญหาได้ พวกเขาก็จะไม่รู้สึกเครียดอีกต่อไป

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ

หากเด็กเริ่มมีอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที

  • ปลีกตัวออกจากสังคม หรือซึมเศร้า
  • มีปัญหาที่โรงเรียน ทะเลาะกับเพื่อนหรือคุณครู
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว
  • ไม่สามารถควบคุมความโกรธหรือพฤติกรรมของตัวเองได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stress in childhood. https://medlineplus.gov/ency/article/002059.htm. Accessed November 22, 2022.

Identifying signs of stress in your children and teens. http://www.apa.org/helpcenter/stress-children.aspx. Accessed November 22, 2022.

Childhood Stress. https://kidshealth.org/en/parents/stress.html. Accessed November 22, 2022.

Toxic Stress. https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/toxic-stress/. Accessed November 22, 2022.

Helping Children Handle Stress. https://www.healthychildren.org/English/healthy-living/emotional-wellness/Pages/Helping-Children-Handle-Stress.aspx. Accessed November 22, 2022.

Childhood Stress and Anxiety. https://www.yalemedicine.org/conditions/childhood-stress-and-anxiety. Accessed November 22, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิค ลงโทษลูก แต่ละวัยอย่างเข้าใจ และไม่ทำร้ายจิตใจเด็ก

พ่อแม่เข้มงวด ส่งผลต่อลูกอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 22/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา