backup og meta

วิธีสังเกต เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป หรือเปล่า

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2023

    วิธีสังเกต เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป หรือเปล่า

    การที่เด็กๆ ใช้ ยาสีฟัน มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพฟันเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ การที่ เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของเด็กอย่างไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องการแปรงฟันของเด็ก ๆ อย่างไรดี

    เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป

    จากผลการสำรวจพ่อแม่มากกว่า 5,000 คน ที่มีลูกวัย 3-15 ปี พบว่า 40% ของเด็กที่อายุ 3-6 ปี ใช้แปรงสีฟันที่มียาสีฟันเต็มแปรง หรือครึ่งแปรง แทนที่จะใช้ยาสีฟันตามคำแนะนำคือขนาดเท่าเมล็ดถั่ว และปัญหาของการใช้ยาสีฟันมากเกินไปคือ เด็กได้รับฟลูออไรด์ (Fluoride)ในยาสีฟันมากเกินจนอาจทำให้ผิวเคลือบฟันผิดปกติ หรือที่มักเรียกว่า ฟันลาย ฟันเหลือง หรือฟันตกกระ (Dental Fluorosis)

    เด็กทารกและวัยเตาะแตะ กับการใช้ยาสีฟัน

    การรักษาสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ตอนเริ่มต้น โดยก่อนที่เด็ก ๆ จะฟันขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกำจัดแบคทีเรียในช่องปากของลูก ด้วยการเช็ดปากด้วยผ้านุ่ม

    เมื่อเด็กฟันขึ้น สมาคม the American Academy of Pediatrics แนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นแปรงสีฟัน และใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เมื่อเด็กอายุครบ 2 ปี แต่ต้องใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กเล็ก และยาสีฟันไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเมล็ดข้าว 1 เมล็ด

    ถ้าเด็กทารกหรือวัยเตาะแตะกลืนยาสีฟันเข้าไป ถือว่าไม่ได้เป็นอันตราย ตราบใดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ใช้ยาสีฟันมากเกินไป แต่ถ้าใช้ยาสีฟันมากและเด็ก ๆ กลืนเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

    เด็กเล็กกับยาสีฟัน

    เด็ก ๆ สามารถบ้วนน้ำลายได้ในวัยประมาณ 3 ปี ซึ่งหมายความว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มปริมาณยาสีฟันให้ลูกได้ โดยสมาคม The American Academy of Pediatrics แนะนำว่า ควรใช้ยาสีฟันประมาณ 1 เมล็ดถั่วเขียว สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี นอกจากนี้การใช้ยาสีฟันในปริมาณ 1 เมล็ดถั่วเขียวยังถือว่าปลอดภัย หากเด็ก ๆ กลืนยาสีฟันเข้าไปขณะแปรงฟัน

    สำหรับเด็กที่อายุ 3-6 ปี คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกแปรงฟันด้วยตนเองคนเดียว เนื่องจากข้อมูลจากทันตแพทยสมาคม แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีมีแนวโน้มที่จะกลืนยาสีฟันมากกว่า เนื่องจากการกลืนของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่

    ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่เด็กกลืนยาสีฟันในปริมาณมาก ฟลูออไรด์ที่เกินมาอาจสร้างความเสียหายให้ผิวเคลือบฟัน และเป็นเหตุให้เกิดภาวะฟันตกกระ ซึ่งอาจทำให้เกิดคราบบนผิวฟัน โดยความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อฟันของเด็ก ๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณฟลูออไรด์ที่กลืนเข้าไป และระยะเวลาว่านานแค่ไหนที่เด็ก ๆ ทำแบบนี้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรแนะนำเวลาที่ลูกแปรงฟัน และไม่ควรให้เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไปจากปริมาณที่แนะนำ

     

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา