backup og meta

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid)

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid)

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) หรือ วิตามินซี (Vitamin C) คือยาวิตามินซีที่ละลายน้ำได้ มักใช้สำหรับการขาดวิตามินซี เพิ่มการขับธาตุเหล็กจากการรักษาโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ด้วยการใช้ร่วมกับยาดีเฟอร็อกซามีน (Desferrioxamine)

ข้อบ่งใช้

กรดแอสคอร์บิก ใช้สำหรับ

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) หรือ วิตามินซี (Vitamin C) คือยาวิตามินซีที่ละลายน้ำได้ มักใช้สำหรับ

  • ป้องกันและรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินซี
  • สำหรับการเพิ่มการขับธาตุเหล็กจากการรักษาโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ด้วยการใช้ร่วมกับยาดีเฟอร็อกซามีน (Desferrioxamine)
  • ภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic methemoglobinemia) เมื่อไม่มียาเมทิลีน บลู (Methylene blue)
  • ไข้หวัด แผลที่ฟื้นฟูได้รวดเร็ว ป้องกันโรคมะเร็ง (ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้)

วิธีการใช้ กรดแอสคอร์บิก

ในรูปแบบรับประทาน คุณควรทำดังนี้

  • รับประทานกรดแอสคอร์บิก ตามขนาดยา และตารางการกินยาที่แพทย์กำหนด
  • อ่านฉลากยาอย่างละเอียดก่อนใช้กรดแอสคอร์บิก
  • ปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฉลากยาที่คุณไม่เข้าใจ

การเก็บรักษายากรดแอสคอร์บิก

กรดแอสคอร์บิกควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง กรดแอสคอร์บิกบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งกรดแอสคอร์บิกลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยากรดแอสคอร์บิก

ก่อนใช้กรดแอสคอร์บิก แจ้งให้แพทย์ทราบในกรณีต่อไปนี้

  • มีประวัติแพ้ยากรดแอสคอร์บิกและกระสายยาสำหรับยาที่มีส่วนประกอบกรดแอสคอร์บิก
  • แพ้ยาอื่น อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
  • เป็นเด็ก
  • เป็นผู้สูงอายุ
  • ใช้ยาสำหรับโรคอื่นๆ ที่มีปฏิกิริยากับกรดแอสคอร์บิก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

วิตามินซีสามารถส่งผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยทั้งในสัตว์และหญิงตั้งครรภ์ และยังไม่มีผลกระทบให้เห็นหากได้รับวิตามินซีน้อยกว่าความต้องการในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม การดื่มวิตามินซีปริมาณมากขณะตั้งครรภ์อาจเพิ่มความต้องการวิตามินซี และส่งผลให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) ในเด็กทารกได้

วิตามินซีสามารถแพร่กระจายเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ โดยผู้ที่รับประทานวิตามินซีขณะให้นมบุตรอาจไม่เห็นความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับเด็กทารก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดแอสคอร์บิก

การรับประทานกรดแอสคอร์บิกในขณะรับประทานยาอื่น สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นไปได้ยาก และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานี้แล้วเกิดปัญหาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาจมีออกซาเลต (Oxalate) ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง เหนื่อยล้า หน้าแดง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ง่วงซึม และหากรับประทานวันละ 1 กรัม หรือมากกว่านั้น อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้อีกด้วย การฉีดยาวิตามินซีขนาดสูงเข้าทางหลอดเลือดดำนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น วิธีการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดจึงไม่สมควร และไม่ปลอดภัย

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดแอสคอร์บิกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

กรดแอสคอร์บิกอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

กรดแอสคอร์บิคอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการและโรคต่อไปนี้

  • ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (Deficiency of glucose – 6 – phosphate dehydrogenase) หรือความเสี่ยงในการเกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)
  • มีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต
  • ภาวะออกซาเลตในปัสสาวะสูง (Hyperoxaluria) และ การเผาผลาญออกซาเลต (oxalate metabolism)
  • ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

ขนาดยากรดแอสคอร์บิกสำหรับผู้ใหญ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดยาในการใช้ยากรดแอสคอร์บิก ไฮโดรคลอไรด์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังนี้

  • สำหรับเป็นอาหารเสริม 50-200 มก./วัน
  • สำหรับโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) 100-250 มก. วันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
  • สำหรับการเพิ่มการขับธาตุเหล็ก 100-200 มก./วัน
  • สำหรับภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด (Methemoglobin)  300-600 มก./วัน แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ

ขนาดยากรดแอสคอร์บิกสำหรับเด็ก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดยาในการใช้ยากรดแอสคอร์บิก ไฮโดรคลอไรด์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังนี้

  • สำหรับเสริมอาหาร 35-100 มก./วัน
  • สำหรับโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) 100-300 มก. แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ต่อวัน เป็นเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
  • สำหรับภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด 300-600 มก./วัน แบ่งเป็นยามือเล็กๆ

รูปแบบของกรดแอสคอร์บิก

ความแรงและรูปแบบของกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) มีดังนี้

  • แคปซูลแบบออกฤทธิ์นาน  500 มก.
  • ยาเม็ด  50 มก. 100 มก. 250 มก. 500 มก. 1 กรัม
  • ยาเม็ดแบบเคี้ยว  100 มก. 250 มก. 500 มก. 1 กรัม
  • ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน  500 มก. 1 กรัม 1.5 กรัม
  • ยาเม็ดฟู่  1 กรัม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้รับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vitamin C

http://www.webmd.com/drugs/2/drug-322/ascorbic-acid-vitamin-c-oral/details. Accessed September 16, 2016.

Vitamin C

https://www.drugs.com/cdi/ascorbic-acid.html.  Accessed September 16, 2016.

Vitamin C

http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/ascorbic-acid-oral-route/description/drg-20068031. Accessed September 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินซีป้องกันหวัด ได้หรือไม่ งานวิจัยว่าอย่างไรบ้าง

ระวังให้ดี ขาดวิตามินซี โรคโลหิตจาง จะถามหา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา