backup og meta

นาบูเมโทน (Nabumetone)

นาบูเมโทน (Nabumetone)

ข้อบ่งใช้

นาบูเมโทน ใช้สำหรับ

นาบูเมโทน (Nabumetone) เป็นชื่อตัวยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดและอักเสบจากโรคข้อเสื่อม หรือ โรคเกาต์ (Gout) นาบูเมโทนนี้เป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

วิธีการใช้ นาบูเมโทน

  • รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนด วันละ 1 – 2 ครั้ง พร้อมกับดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
  • ห้ามล้มตัวลงนอนหลังจากใช้นาบูเมโทน เพื่อป้องกันอาการท้องไส้ปั่นป่วน ควรรับประทานพร้อมกับอาหาร หรือยาลดกรด
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง (เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร)
  • ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำที่สุด และใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด อย่าเพิ่มปริมาณนาบูเมโทน หรือใช้บ่อยกว่าที่กำหนด
  • สำหรับอาการเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบ ให้ใช้นาบูเมโทนอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

สภาวะบางอย่าง เช่น ข้ออักเสบ อาจต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ จึงจะเห็นผลการรักษาและอาการที่ดีขึ้นจากนาบูเมโทน แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณรุนแรงขึ้น

การเก็บรักษา นาบูเมโทน

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนาบูเมโทนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

นาบูเมโทนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นาบูเมโทน

ก่อนใช้นาบูเมโทน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อนาบูเมโทน หรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen) หรือเซเลโคซิบ (celecoxib) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ นาบูเมโทนมีสารไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้นาบูเมโทน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับประวัติโรคประจำตัวของคุณ โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้

  • โรคหอบหืด (รวมถึงเคยมีอาการหายใจได้แย่ลงหลังจากใช้ยาแอสไพรินหรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ)
  • ปัญหาเกี่ยวกับอาการเลือดออกหรือลิ่มเลือดอื่นๆ ริดสีดวง โรคหัวใจ เช่น เคยมีอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคตับ
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหลอดอาหาร

บางครั้งการใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ รวมถึงนาบูเมโทน อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้น หากคุณมีภาวะขาดน้ำ หัวใจวาย โรคไต ดื่มน้ำให้เพียงพอตามที่แพทย์กำหนด เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากปริมาณของปัสสาวะมีการเปลี่ยนแปลง

นาบูเมโทนนี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม ไม่ควรใช้ยานพาหนะจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และมีปฏิกิริยาไวต่อแสง ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแสงแดดจัด ทาครีมกันแดด และสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่นอกบ้าน

สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนใช้

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า นาบูเมโทนสามารถผ่านสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ ไม่แนะนำการให้นมบุตรระหว่างกำลังใช้นาบูเมโทนโปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นาบูเมโทนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ นาบูเมโทน

ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ทั่วไปจากการใช้ นาบูเมโทน มีดังนี้

  • อาจเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • วิงเวียน ง่วงซึม หรือปวดหัว

หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงในข้างต้นนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรที่จำหน่ายยาอย่างละเอียดก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • อะลิสคิเรน (aliskiren)
  • ยาในกลุ่ม ACE inhibitors เช่น แคปโตพริล (captopril) หรือลิซิโนพริล (lisinopril)
  • ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (angiotensin II receptor blockers) เช่น ลอซาร์แทน (losartan) หรือวาลซาร์แทน (valsartan) ไซโดโฟเวียร์ (cidofovir)
  • ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (prednisone) ลิเทียม (lithium) เมโธเทรกเซท (methotrexate)
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ (furosemide)

นาบูเมโทนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออก เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับเลือด เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด อย่างโคลพิโดเกรล (clopidogrel) ยาเจือจางเลือด เช่น ดาบิกาแทรน (dabigatran) อีนอกซาพาริน (enoxaparin) หรือวาฟาริน (warfarin) และอื่นๆ

ควรอ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยแพท์และเภสัชกร เนื่องจากมียาจำนวนมากที่มียาบรรเทาอาการปวด เช่น แอสไพริน เซเลโคซิบ (celecoxib) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือคีโตโรแลค (ketorolac) ยาเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับนาบูเมโทน และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง หากใช้ร่วมกัน เว้นแต่แพทย์จะอนุญาต

นาบูเมโทนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

นาบูเมโทนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

นาบูเมโทนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด นาบูเมโทน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดนาบูเมโทนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 1000 มก. รับประทานวัน 1 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : รับประทาน 1500 ถึง 2000 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : 2000 มก./วัน

คำแนะนำ

  • ผู้ป่วยที่น้ำหนักน้อยกว่า 50 มก. ไม่ควรใช้เกินปริมาณ 1000 มก.
  • เมื่อมีการตอบสนองต่อการรักษา ควรปรับปริมาณของยาและความถี่ในการใช้ โดยเริ่มปริมาณที่ต่ำที่สุดที่มีประสิทธิภาพและระยะเวลาที่สั้นที่สุด

การใช้งาน

  • เพื่อรักษาอาการของโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ขนาดนาบูเมโทนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 1000 มก. รับประทานวัน 1 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : รับประทาน 1500 ถึง 2000 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : 2000 มก./วัน

คำแนะนำ

  • ผู้ป่วยที่น้ำหนักน้อยกว่า 50 มก. ไม่ควรใช้เกินปริมาณ 1000 มก.
  • เมื่อมีการตอบสนองต่อการรักษา ควรปรับปริมาณของยาและความถี่ในการใช้ โดยเริ่มปริมาณที่ต่ำที่สุดที่มีประสิทธิภาพและระยะเวลาที่สั้นที่สุด

การใช้งาน

  • เพื่อรักษาอาการของโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การปรับขนาดนาบูเมโทนสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไตบกพร่องระดับเบา (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ [CrCl] 50 มล./นาที หรือมากกว่านั้น)

  • ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

ไตบกพร่องระดับปานกลาง (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 30 ถึง 49 มล./นาที)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 750 มก. รับประทานวัน 1 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : 1500 มก./วัน

ไตบกพร่องระดับรุนแรง (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 30 มล./นาที )

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก. รับประทานวัน 1 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 1000 มก./วัน

หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องระดับรุนแรง หากจำเป็นต้องใช้ควรเริ่มต้นการรักษาโดยเฝ้าการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด

การปรับขนาดนาบูเมโทนสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

  • ผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบตับผิดปกติ หรืออาการของตับบกพร่องควรทำการประเมินความผิดปกติของตับในเบื้องต้น
  • หากเกิดโรคตับหรือมีอาการทั่วร่างการ เช่น ภาวะ eosinophilia หรือผดผื่น ควรหยุดใช้ยานี้

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

  • สามารถรับประทานพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหากวันละ 1-2 ครั้ง

การเก็บรักษา

  • เก็บไว้ให้พ้นจากแสงแดด

ทั่วไป

  • ควรใช้นาบูเมโทนในปริมาณยาที่ต่ำที่สุดที่มีประสิทธิภาพและระยะเวลาที่สั้นที่สุด
  • อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง ขณะที่กำลังใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ผลข้างเคียงนี้สามารถเกิดได้ตลอดระยะเวลาในการรักษาและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากใช้เป็นเวลานาน หากเคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และหากใช้ยาในขนาดสูง

การเฝ้าระวัง

  • หัวใจและหลอดเลือด : ควรเฝ้าระวังความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดในช่วงต้นของการรักษาและในช่วงตลอดระยะเวลาในการรักษา
  • ระบบทางเดินอาหาร: เฝ้าระวังอาการเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
  • สมรรถภภาพของไต : เฝ้าระวังการทำงานของไต โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการโปรสตาแกลนดินส์ของไต (renal prostaglandins) มีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับเลือดมาเลี้ยงไต
  • เฝ้าระวังจำนวนเม็ดเลือด สมรรถภาพของไต และสมรรถภาพของตับเป็นระยะๆ สำหรับผู้ป่วยที่ทำการรักษาในระยะยาว

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรรับการรักษา หากมีอาการรุนแรงที่ระบบทางเดินอาหาร ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่ผิวหนัง หรืออาการน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้หรือบวมน้ำ
  • ผู้ป่วยควรรับการรักษาทันที หากมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งอาการหายใจไม่อิ่ม พูดไม่ชัด หรืออาการอ่อนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากกำลังตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ไม่ควรใช้นาบูเมโทนในช่วงสัปดาห์ที่ 30 ขึ้นไปของการตั้งครรภ์

ขนาด นาบูเมโทนสำหรับเด็ก

ไม่มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาค่อนข้างอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของนอร์ฟลอกซาซินก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยา

รูปแบบของยา มีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nabumetone. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-7005/nabumetone-oral/details. Accessed November 27, 2019.

Nabumetone Dosage. https://www.drugs.com/dosage/nabumetone.html. Accessed November 27, 2019.

Nabumetone, Oral Tablet https://www.healthline.com/health/nabumetone-oral-tablet Accessed November 27, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 วิธีลดความเสี่ยงและ ป้องกันข้อเสื่อม

ข้อควรรู้สำหรับนักฟิตเนสมือใหม่! กับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา