backup og meta

นาโดลอล (Nadolol)

นาโดลอล (Nadolol)

ข้อบ่งใช้

นาโดลอล ใช้สำหรับ

นาโดลอล (Nadolol) มักใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับยาอื่น เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันอาการปวดเค้นหน้าอก (angina) ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต นาโดลอลอยู่ในกลุ่มของยาเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers) ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของสารที่มีในร่างกาย เช่น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือเอพิเนฟรีน (epinephrine) ภายในหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และแรงตึงเครียดที่หัวใจลดลง

วิธีการใช้ นาโดลอล

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก ตามที่แพทย์กำหนด ปริมาณของนาโดลอลขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ควรใช้นาโดลอลขึ้นนี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด รับประทานนาโดลอลในช่วงเวลาเดียวกันและอย่างต่อเนื่องแม้ว่ากลับสู่ภาวะปกติ อย่าเริ่มหรือหยุดใช้โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ อาจทำให้อาการของคุณแย่ลงหากหยุดใช้นาโดลอลอย่างกะทันหัน ควรค่อยๆ ลดปริมาณลงตามคำแนะนำแพทย์หรือเภสัชกร

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณมีสภาวะรุนแรงขึ้น เช่น ระดับความดันโลหิตเพิ่มขี้นอย่างรวดเร็ว

การเก็บรักษา นาโดลอล

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนาโดลอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

นาโดลอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นาโดลอล

แจ้งให้แพทย์ทราบรายละเอียดหากคุณแพ้ยานาโดลอล หรือหากคุณแพ้ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์อื่นๆ ดังนี้

  • ยาทีโนลอล (atenolol) หรือโพรพราโนลอล (propranolol)

ไม่ควรใช้นาโดลอลหากคุณมีโรคระจำตัวหรืออาการดังต่อไปนี้

  • ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ
  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติระดับสองหรือระดับสาม
  • หัวใจวายขั้นรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้
  • โรคหอบหืด
  • ปฎิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง 
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเลือด เช่น โรคเรเนาด์
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • ความผิดปกติของจิตใจหรืออารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผิวหนังอักเสบ
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • เนื้องอกบางชนิด เช่น ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma)

นาโดลอลอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม ไม่ควรใช้ยานพาหนะจนกว่าอาการของคุณจะอยู่ในขั้นปลอดภัย และสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนใช้

นาโดลอลสามารถส่งผลต่อผ่านน้ำนมแม่ และอาจเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อทารก โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นาโดลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ นาโดลอล

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมักมีอาการ ดังนี้

  • อาจเกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม อ่อนแรง
  • ไอ
  • มือและเท้าเย็น

หากมีอาการรุนแรงเหล่านี้เกิดขึ้นควรเลิกใช้ยาและควรรีบพบแพทย์ทันที

  • นิ้วมือ นิ้วเท้า เล็บเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือเขียว
  • มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่น ซึมเศร้า สับสน มีปัญหาด้านความทรงจำ)
  • หายใจมีเสียงหวีด หายใจไม่อิ่ม
  • มีอาการเหน็บชา
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น มองไม่ชัด วัตถุมีภาพเบลอ
  • ข้อเท้าหรือเท้าบวม
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือฉับพลัน
  • หมดสติ
  • ผื่นขึ้น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงในข้างต้นนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรที่จำหน่ายยาอย่างละเอียดก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ยาในกลุ่มอัลฟ่าล็อกเกอร์ (alpha blockers) เช่น พราโซซิน (prazosin) อาร์บิวทามีน (arbutamine)
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์อื่นๆ เช่น อะทีโนลอล (atenolol) โคลนิดีน (clonidine) เอพิเนฟรีน (epinephrine) เฟนอลโดแพม (fenoldopam) ฟินโกลิมอด (fingolimod) เมทิลโดปา (methyldopa)
  • ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agents) เช่น ทูโบคิวราเร (tubocurarine) รีเซอร์พีน (reserpine)
  • ยาขับน้ำหรือยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ (furosemide)

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้ที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม

  • ยาบรรเทาอาการปวดหรืออาการไอโอปิออยด์ (opioid) เช่น โคเดอีน (codeine) ไฮโดรโคโดน (hydrocodone)
  • ยานอนหลับหรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (alprazolam) ลอราซีแพม (lorazepam) โซลพิเดม (zolpidem)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น คาริโซโพรดอล (carisoprodol) ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine)
  • ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่นเซทิริซีน (cetirizine) ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ยาบางอย่างอาจมีส่วนประกอบที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หรือความดันโลหิตได้ แจ้งให้เภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ และสอบถามวิธีใช้ยาอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะยาแก้ไอแก้หวัด ยาลดความอ้วน หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (naproxen)

นาโดลอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

นาโดลอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

นาโดลอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด นาโดลอล สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดนาโดลอลสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina Pectoris)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 40 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง อาจเพิ่มขึ้นเป็น 40 ถึง 80 มก. ทุกๆ 3 ถึง 7 วัน จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุดหรืออัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างชัดเจน
  • ขนาดยาปกติ : 40 ถึง 80 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นถึง 240 มก.
  • ขนาดยาสูงสุด : 240 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 40 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง อาจเพิ่มขึ้นเป็น 40 ถึง 80 มก. จนระดับความดันโลหิตลดลงจนอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด
  • ขนาดยาปกติ : 40 ถึง 80 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นถึง 320 มก.

การปรับขนาดยาสำหรับไต

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) มากกว่า 50 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ให้ยาทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 31 ถึง 50 มล./นาที /1.73 ตร.ม. ให้ยาทุกๆ 24 ถึง 36 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 10 ถึง 30 มล./นาที /1.73 ตร.ม.ให้ยาทุกๆ 24 ถึง 48 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 10 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ให้ยาทุกๆ 40 ถึง 60 ชั่วโมง

คำแนะนำอื่น ๆ

  • การเก็บรักษา : เก็บให้พ้นจากแสง
  • คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยพักหรือหยุดใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ขนาดนาโดลอลสำหรับเด็ก

ไม่มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาค่อนข้างอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของนาโดลอลก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยา

รูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาผงสำหรับผสม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nadolol Dosage. https://www.drugs.com/dosage/nadolol.html. Accessed November 27, 2019.

Nadolol. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-11755/nadolol-oral/details. Accessed November 27, 2019.

Nadolol oral tablet https://www.healthline.com/health/nadolol-oral-tablet Accessed November 27, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

5 วิธีธรรมชาติที่ช่วย ลดความดันโลหิต สำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา