backup og meta

สารพฤกษเคมี (Phytochemical) หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)

สารพฤกษเคมี (Phytochemical) หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)

สรรพคุณของ สารพฤกษเคมี

สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytochemical or Phytonutrients) เป็นสารประกอบที่ได้จากพืชกว่า 25,000 ชนิด โดยเฉพาะพืชที่ใช้เป็นอาหาร สารพฤกษเคมีที่สำคัญมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่:

  • แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
  • ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)
  • กลูโคสิโนเลท (Glucosinolates)
  • ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)
  • กรดเอลลาจิก (Ellagic Acid)
  • เรสเวราทรอล (Resveratrol)

สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ช่วยป้องกันโรคและทำให้ร่างกายทำงานดีขึ้น รวมทั้ง:

  • ช่วยในการยับยั้งมะเร็งบางชนิด ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มการสื่อสารในเซลล์ ลดการอักเสบ ซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอกำจัดสารพิษ และปรับปรุงการเผาผลาญของฮอร์โมน

สารพฤกษเคมีหรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) อาจใช้ในการรักษาอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกร

กลไกการออกฤทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารพฤกษเคมียังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) :

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในสารพฤกษเคมี ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารพฤกษเคมีมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

สารพฤกษเคมีปลอดภัยหรือไม่

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) หากอยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารพฤกษเคมี

ศัลยกรรม:

หยุดใช้สารพฤกษเคมีอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)

หากสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาระหว่างยา

การใช้สารพฤกษเคมีหรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) อาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดยาปกติสำหรับสารพฤกษเคมี

ขนาดการใช้สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ปกติ อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ การใช้สารพฤกษเคมีไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

สารพฤกษเคมีมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • เม็ด
  • แคปซูล
  • ผง
  • น้ำ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Phytonutrients. http://healthyeating.sfgate.com/phytonutrient-supplement-9000.html. Accessed February 25, 2017

Phytonutrients. http://www.webmd.com/diet/guide/phytonutrients-faq#2. Accessed February 25, 2017

Phytonutrients. http://www.fruitsandveggiesmorematters.org/what-are-phytochemicals. Accessed February 25, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไฟโตนิวเทรียนท์ สารอาหารจากพืชกับคุณประโยชน์ที่ล้นเหลือ

ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ช่วยต้านแก่ ต้านโรค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา