backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

acyclovir ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

acyclovir ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

ยา acyclovir หรือยาอะไซโคลเวียร์ เป็นยาต้านไวรัส ยานี้จะชะลอการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ (herpes virus) ภายในร่างกาย ยานี้ไม่สามารถรักษาเชื้อเฮอร์พีส์ให้หายขาดได้ แต่สามารถลดอาการของการติดเชื้อได้

ข้อบ่งใช้

acyclovir ใช้สำหรับ

acyclovir หรือยาอะไซโคลเวียร์ เป็นยาต้านไวรัส ยานี้จะชะลอการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ (herpes virus) ภายในร่างกาย ยานี้ไม่สามารถรักษาเชื้อเฮอร์พีส์ให้หายขาดได้ แต่สามารถลดอาการของการติดเชื้อได้

ยาอะไซโคลเวียร์ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริมที่ริมฝีปาก โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส

วิธีการใช้ acyclovir

ใช้ยา acyclovir หรือยาอะไซโคลเวียร์ตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยา อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ

ควรเริ่มต้นการรักษาด้วยยาอะไซโคลเวียร์ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากเริ่มมีอาการ (เช่น แสบร้อน แผลพุพอง)

ควรเขย่าขวดยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (ยาน้ำ) ให้ดีก่อนตวงยา ควรตวงยาด้วยกระบอกที่แถมมา หรือช้อนหรือถ้วยสำหรับตวงยา หากไม่มีอุปกรณ์สำหรับตวงยา โปรดขอจากเภสัชกร

วิธีการใช้ยาอม อะไซโคลเวียร์

  • เก็บยาไว้ในแผงจนกว่าจะพร้อมใช้งาน ใช้นิ้วมือที่แห้งแกะยาออกจากแผง
  • อย่าเคี้ยวหรือกลืนยาอม วางยาให้ด้านแบนนั้นติดกับเหงือกด้านบน ด้านหลังริมฝีปากและเหนือฟันเขี้ยว วางยาไว้ด้านเดียวกับที่มีแผลเริมที่ริมฝีปาก
  • ปิดปาก แล้วกดด้านนอกริมฝีปากเหนือเม็ดยาเบาๆ ค้างไว้ 30 วินาที หลีกเลี่ยงการจับหรือกดยาเม็ดอีกเมื่อยาอยู่กับที่
  • ปล่อยให้เม็ดยาละลายภายในปาก สามารถรับประทานอาหาร และดื่มน้ำได้ตามปกติ
  • ในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการใช้ยา หากยาเม็ดร่วงออกมาหรือไม่ติดอยู่กับที่ อาจจะเปลี่ยนยาเม็ดใหม่ได้ หาก เผลอกลืนยาเข้าไป ควรดื่มน้ำให้มากๆ แล้วอมยาเม็ดใหม่เข้าไปแทน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หาก มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านน้ำหนัก ขนาดของยาอะไซโคลเวียร์นั้นจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว (โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น) และความเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะส่งผลต่อขนาดยาได้

ควรดื่มน้ำให้มากๆ ขณะที่กำลังใช้ยาอะไซโคลเวียร์ เพื่อให้ไตสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ใช้ยานี้จนครบระยะเวลาตามกำหนด อาการอาจจะดีขึ้นก่อนที่การติดเชื้อจะหายไปอย่างสมบูรณ์ ยาอะไซโคลเวียร์นั้นไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัส อย่างโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคหวัดได้

ควรรักษาความสะอาดแผลที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ และทำให้แห้งที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การสวมเสื้อผ้าหลวมๆ อาจจะช่วยป้องกันอาการระคายเคืองที่แผลได้

การเก็บรักษายา อะไซโคลเวียร์

ยาอะไซโคลเวียร์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอะไซโคลเวียร์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอะไซโคลเวียร์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา acyclovir

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาอะไซโคลเวียร์ หรือยาอื่นๆ
  • หากมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ไม่ควรใช้ยานี้ หากแพ้ยาอะไซโคลเวียร์ หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) อย่างวาลเทร็กซ์ (Valtrex) ไม่ควรใช้ยาอมอะไซโคลเวียร์ หากแพ้ต่อโปรตีนนม

เพื่อให้แน่ใจว่า ยาอะไซโคลเวียร์นั้นปลอดภัยโปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากเป็นโรคดังนี้

เชื้อเฮอร์พีส์นั้นสามารถติดต่อสู่ทารกได้ขณะคลอดบุตร หากมีแผลเริมที่อวัยวะเพศขณะที่คลอดทารก หากเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ ควรจะป้องกันแผลเริมขณะตั้งครรภ์ ควรใช้ยาตามที่กำหนดเพื่อควบคุมการติดเชื้อให้ดีที่สุด

ยาอะไซโคลเวียร์สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ และเป็นอันตรายต่อทารก อย่าใช้ยานี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์หากกำลังให้นมบุตร

อย่าใช้ยาอมอะไซโคลเวียร์กับเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้สำลักได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาอะไซโคลเวียร์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาอะไซโคลเวียร์

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากมีอาการดังนี้

  • มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย มีจุดสีม่วงหรือสีแดงใต้ผิวหนัง
  • สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต – ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด อาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยช้าหรือหายใจลำบาก

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะไซโคลเวียร์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะไซโคลเวียร์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์โดยทำให้การทำงานของยามีความเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับโอกาสในการเกิดปฏิกิริยาใดๆ ที่อาจเกิดกับอาหารหรือแอลกอฮอล์ก่อนใช้ยานี้

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอะไซโคลเวียร์อาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอะไซโคลเวียร์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex) – เยื่อเมือก (Mucocutaneous) / ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน (Immunocompetent Host)

การรักษาโรคเริมที่อวัยวะเพศช่วงระยะแรก

  • 200 มก. รับประทานทุกๆ 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)
  • 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน (คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแก่งสหรัฐฯ)

โรคระดับรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับการรักษาภายในโรงพยาบาล

  • 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)
  • 5 ถึง 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ถึง 7 วัน หรือจนกว่าจะสังเกตเห็นอาการดีขึ้น แล้วตามด้วยการใช้ยาต้านไวรัสแบบรับประทานเพื่อรักษาให้เสร็จสิ้น ระยะเวลาการรักษาทั้งหมดเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน (คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ)

การรักษาเป็นระยะๆ การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องเริ่มต้นการรักษาภายใน 1 วันเมื่อเริ่มมีแผล หรือขณะที่มีอาการบอกเหตุก่อนเกิดระยะโรคหรืออาการกำเริบ

  • 200 มก. รับประทานทุกๆ 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)
  • 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน หรือ 800 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน หรือ 800 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน (คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – เยื่อเมือก/ ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

ร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี

การรักษาโรคเริมที่อวัยวะเพศช่วงระยะแรก

  • 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน (แนวทางที่แนะนำ)
  • ระยะเวลาการรักษา 5 ถึง 10 วัน

โรคระดับรุนแรง

  • 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง หลังจากที่แผลเริ่มหายไปอาจจะเปลี่ยนมาใช้ยาแบบรับประทาน รักษาอย่างต่อเนื่องจนแผลหายไปอย่างสมบูรณ์ (แนวทางที่แนะนำ)

การรักษาเป็นระยะๆ การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเริ่มต้นการรักษาภายใน 1 วันเมื่อเริ่มมีแผล หรือขณะที่มีอาการบอกเหตุ ก่อนเกิดระยะโรคหรืออาการกำเริบ

  • 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 14 วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะสมองอักเสบจากการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Encephalitis)

  • 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาการรักษา 10 วัน (ผู้ผลิต) 21 วัน (ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์ (Herpes Zoster)

  • 800 มก. รับประทานทุกๆ 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน
  • ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella-Zoster)

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 800 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • คอร์สที่ไม่มีอาการข้างเคียง 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 7 วัน (ทางเลือกในการรักษา ยาวาลาไซโคลเวียร์ [valacyclovir] หรือยาแฟมไซโคลเวียร์ [famciclovir] แบบรับประทาน เป็นการรักษาที่เหมาะสมกว่า)
  • คอร์สที่รุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน 10 ถึง 15 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน อาจเปลี่ยนมาใช้ยาแบบรับประทานหลังระยะไข้สร่าง (defervescence) หากไม่มีหลักฐานความเกี่ยวข้องต่ออวัยวะภายใน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ที่ปาก (Herpes Simplex Labialis)

ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • วางยาขนาด 50 มก. (ยาอม 1 เม็ด) สำหรับหนึ่งครั้งไว้บนเหงือกส่วนบน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – การระงับอาการ (Suppression)

  • ขนาดยาต่อวันสำหรับระงับการกำเริบของโรค 400 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • อีกทางเลือกหนึ่งจากขนาดยาที่เคยมีการใช้คือ 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง ถึง 200 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง
  • มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 400 ถึง 800 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์

ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี (แนวทางการใช้ยา)

  • การป้องกันหลังจากเปิดรับเชื้อแล้ว 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 7 วัน เริ่มต้นการรักษา 7 ถึง 10 วันหลังจากเปิดรับเชื้อ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์

ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี (แนวทางการใช้ยา)

  • การป้องกันหลังจากเปิดรับเชื้อแล้ว 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 7 วัน เริ่มต้นการรักษา 7 ถึง 10 วันหลังจากเปิดรับเชื้อ

ขนาดยาอะไซโคลเวียร์สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – โรคแต่กำเนิด

โรคเริมในเด็กทารกแรกเกิด

  • แรกเกิดจนถึง 3 เดือน 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)
  • แรกเกิดจนถึง 3 เดือน 20 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 (คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ)
  • ระยะเวลาในการรักษา โรคที่จำกัดอยู่แค่ที่ผิวหนังและเยื่อเมือก 14 วัน โรคที่แพร่กระจายหรือโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง 21 วัน
  • ตามด้วยการรักษากดอาการโดยการรับประทานยา 300 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – เยื่อเมือก/ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

การรักษาโรคเริมที่อวัยวะเพศช่วงระยะแรก

  • อายุน้อยกว่า 12 ปี 40 ถึง 80 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 3 ถึง 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน
  • ขนาดยาสูงสุด 1000 มก./วัน
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 200 มก. รับประทานทุก ๆ 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง หรือ 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา 7 ถึง 10 วัน

โรคระดับรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับการรักษาภายในโรงพยาบาล

  • อายุน้อยกว่า 12 ปี 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

การติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศกำเริบ

  • อายุน้อยกว่า 12 ปี 20 ถึง 25 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง ขนาดยาสูงสุด 400 มก.
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 200 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง หรือ 800 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน หรือ 800 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะสมองอักเสบจากการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์

  • อายุ 3 เดือน ถึง 12 ปี 10 ถึง 20 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาการรักษา 10 วัน (ผู้ผลิต) 21 วัน (ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – เยื่อเมือก/ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • อายุน้อยกว่า 12 ปี 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน (ขนาดยาจากผู้ผลิต)

ร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี (แนวทางที่แนะนำ)

เหงือกและปากอักเสบ (Gingivostomatitis) แบบมีอาการระดับเบา

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน
  • ขนาดยาสูงสุด 400 มก.

เหงือกและปากอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง

  • 5 ถึง 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำวันละ 3 ครั้ง
  • อาจเปลี่ยนมาใช้ยาแบบรับประทานหลังหลังจากแผลเริ่มลดลง รักษาอย่างต่อเนื่องจนแผลหายอย่างสมบูรณ์

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์

ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

การให้ยาโดยการฉีดยา

  • อายุน้อยกว่า 1 ปี 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน
  • อายุ 1 ปีขึ้นไป 500 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน

ยาแบบรับประทาน

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 7 วัน

ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือเป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน

เด็กที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อซอสเตอร์ที่ไม่ซับซ้อน

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน ขนาดยาสูงสุด 800 มก.

การกดภูมิคุ้มกันอย่างรุนแรง (Severe immunosuppression) (หมวดหมู่ภูมิคุ้มกันของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งหสรัฐฯ หมวดหมู่ที่ 3) มีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal) หรือเส้นประสาทกระเบนเหน็บ (sacral) เกิดแผลบนผิวหนังหลายแห่งบริเวณกว้าง (extensive multidermatomal) หรือโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย (disseminated zoster)

  • 10 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง จนกระทั่งแผลที่ผิวหนังและโรคเกี่ยวกับอวัยวะภายในหายดี แล้วจึงเปลี่ยนเป็นยาแบบรับประทานเพื่อเสร็จสิ้นชุดการรักษา 10 ถึง 14 วัน

วัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • แผลบนผิวหนังเฉพาะที่ 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน (ทางเลือกในการรักษา ยาวาลาไซโคลเวียร์หรือยาแฟมไซโคลเวียร์แบบรับประทาน เป็นการรักษาที่เหมาะสมกว่า)
  • แผลบนผิวหนังที่รุนแรงหรือเกี่ยวข้องกับอวัยวะภายใน 10 ถึง 15 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมงจนอาการดีขึ้น (เช่นไม่มีถุงพองเล็กๆ ก่อตัวขึ้นหรือมีสัญญาณและอาการของโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะภายในดีขึ้น) แล้วจึงเปลี่ยนมารักษาด้วยยาแบบรับประทาน
  • ระยะเวลาการรักษา ชุดการรักษา 7 ถึง 14 วัน (รับประทานยาและฉีดยา)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์

ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • อายุ 2 ปีขึ้นไป (40 กก. หรือน้อยกว่า) 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • อายุ 2 ปีขึ้นไป (น้ำหนักมากกว่า 40 กก.) 800 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • ขนาดยาสูงสุด ต่อหนึ่งครั้งคือ 800 มก. ต่อวันคือ 3200 มก./วัน

ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • อายุน้อยกว่า 1 ปี 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน
  • อายุ 1 ปีขึ้นไป 500 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน

เด็กที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและติดเชื้อเอชไอวี

  • โรคระดับเบาโดยไม่มีการกดภูมิคุ้มกันหรือกดภูมิคุ้มกันระดับปานกลาง (หมวดหมู่ภูมิคุ้มกันของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ หมวดหมู่ที่ 1 และ 2) 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน และจนกว่าจะไม่มีแผลใหม่เป็นเวลา 48 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด 800 มก.

การกดภูมิคุ้มกันอย่างรุนแรง (หมวดหมู่ภูมิคุ้มกันของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ หมวดหมู่ที่ 3)

  • 10 มก./กก. หรือ 500 มก./ตารางเมตร ทุก ๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน และจนกว่าจะไม่มีแผลใหม่เกิดขึ้นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง

วัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • หลักสูตรที่ไม่ซับซ้อน 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 7 วัน (ทางเลือกในการรักษา ยาวาลาไซโคลเวียร์หรือยาแฟมไซโคลเวียร์แบบรับประทาน เป็นการรักษาที่เหมาะสมกว่า)
  • หลักสูตรที่ที่รุนแรงหรือซับซ้อน 10 ถึง 15 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน อาจเปลี่ยนมาใช้ยาแบบรับประทานหลังระยะไข้สร่างหากไม่มีหลักฐานความเกี่ยวข้องต่ออวัยวะภายใน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ – การระงับอาการ

ช่วงแรกเกิด (อายุน้อยกว่า 1 ปี)

  • 300 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน

การป้องกันแบบทุติยภูมิสำหรับเด็กที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและติดเชื้อเอชไอวี

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 800 มก.

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ที่ปาก

ร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • ขนาดยาสูงสุด 400 มก.

วัยรุ่น 400 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์

เด็กหรือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี (คำแนะนำการใช้ยา)

การป้องกันหลังจากเปิดรับเชื้อไปแล้วสำหรับเด็กหรือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (ขนาดยาสูงสุด 800 มก.) เป็นเวลา 7 วัน เริ่มต้นภายใน 7 ถึง 10 วัน หลังจากเปิดรับเชื้อ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์

เด็กหรือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี (คำแนะนำการใช้ยา)

การป้องกันหลังจากเปิดรับเชื้อไปแล้วสำหรับเด็กหรือวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • 20 มก./กก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (ขนาดยาสูงสุด 800 มก.) เป็นเวลา 7 วัน เริ่มต้นภายใน 7 ถึง 10 วัน หลังจากเปิดรับเชื้อ

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาสารละลายสำหรับฉีด
  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาสำหรับอม
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน
  • ยาครีมหรือยาขี้ผึ้งทาผิว

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา