backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) เป็นอาการที่แสดงออกผ่านอาการไม่สบายท้อง และอยากอาเจียน (Vomit) อาการคลื่นไส้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของการอาเจียน เพื่อขับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ก็ได้

คำจำกัดความ

คลื่นไส้และอาเจียน คืออะไร

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) เป็นอาการที่แสดงออกผ่านอาการไม่สบายท้อง และอยากอาเจียน (Vomit) อาการคลื่นไส้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของการอาเจียน เพื่อขับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ก็ได้

พบบ่อยเพียงใด

คลื่นไส้และอาเจียนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการคลื่นไส้และอาเจียน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อยู่ในภาวะ อาการคลื่นไส้และอาเจียน มีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรเข้าพบหมอหากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • อาการคลื่นไส้ที่ร่วมกับกับอาการหัวใจวาย อาการหัวใจวาย ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกราม เหงื่อออก หรือปวดที่แขนซ้าย
  • อาการคลื่นไส้เกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง หายใจลำบากหรือมึนงง
  • อาการคลื่นไส้เกิดตามหลังสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
  • อาการคลื่นไส้เกิดร่วมกับภาวะขาดน้ำ
  • เกิดอาการรับประทานหรือดื่มน้ำไม่ได้นานกว่า 12 ชั่วโมง เนื่องจากอาการคลื่นไส้
  • อาการคลื่นไส้เกิดนานกว่า 4 ชั่วโมงหลังจากการรับประทานยาที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป

เมื่อสังเกตว่าเกิดอาการต่าง ๆ หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสอบถามถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับอาการที่เกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของ อาการคลื่นไส้และอาเจียน

สาเหตุของ อาการคลื่นไส้และอาเจียน มีดังต่อไปนี้

  • ปัญหาจากอวัยวะบริเวณท้องและอุ้งเชิงกราน อาการบริเวณช่องท้องหลายอย่างสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาการทั่วไปที่พบบ่อยได้แก่ ตับอักเสบ (Hepatitis) หรือ ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) กระเพาะหรือลำไส้อุดตันหรือยืดขยาย โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux: GERD) แสบเคืองกระเพาะอาหาร ลำไส้ทะลุ ไส้ติ่งอักเสบ ไตอักเสบ และโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี อาการโรคทางช่องท้องที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ คือ การติดเชื้อไวรัส (Gastroenteritis) อาการคลื่นไส้สามารถเกิดได้จากท้องผูกและการมีประจำเดือนตามปกติ
  • สมองและไขสันหลัง อาการคลื่นไส้เป็นอาการทั่วไปจากการเกิดอาการปวดหัวไมเกรน ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมองและการอักเสบหรือการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบุสมอง (Meningitis) อาจเป็นอาการของโรคต้อหิน (glaucoma) ที่เกิดจากความดันที่เส้นประสาทด้านหลังของลูกตา ในบางครั้งเกิดจากปฏิกิริยาของสมอง ที่กระตุ้นโดยอาการบาดเจ็บ ความรู้สึกทางอารมณ์ที่รุนแรง หรือการได้มองเห็นและการรับรู้ทางกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
  • สมดุลของหูชั้นใน อาการคลื่นไส้อาจเกี่ยวข้องกับอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) ซึ่งเป็นอาการเวียนศีรษะเหมือนตัวเองกำลังหมุนตัวอยู่ทั้งๆที่อยู่นิ่ง อาการทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการนี้คือ ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว ที่ถูกกระตุ้นโดยการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ในทิศทางที่ต่างกันบนรถ เรือ รถไฟ เครื่องบินหรือเครื่องเล่น การติดเชื้อไวรัสของหูชั้นใน (Labyrinthitis) อาการบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า (Benign positional vertigo) และเนื้องอกในสมองหรือประสาท

อาการคลื่นไส้ยังเป็นผลข้างเคียงจากการเปลี่ยนแปลงของเคมีภายในร่างกาย ได้แก่

  • ฮอร์โมนสำหรับการสืบพันธุ์ ประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงมีอาการแพ้ท้องในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นอาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิด
  • การใช้ยา ยาหลายชนิด (ประกอบด้วย ยาที่แพทย์สั่ง ยาที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป และยาสมุนไพร) อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ซึ่งเป็นอาการข้างเคียง โดยเฉพาะเมื่อใช้ยามากกว่าหนึ่งชนิดร่วมกันในครั้งเดียว ยาสำหรับทำเคมีบำบัดและยาต้านซึมเศร้า เป็นยาชนิดที่มักทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการคลื่นไส้เป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและภาวะถอนพิษสุรา รวมถึงอาการแฮงค์สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้
  • ยาสลบ บางคนเกิดอาการคลื่นไส้หลังจากการผ่าตัด และหลังฟื้นจากฤทธิ์ยาสลบ
  • อาการแพ้อาหารและอาหารเป็นพิษ สำหรับอาการแพ้อาหาร แบคทีเรียปริมาณน้อยที่อยู่ในอาหารที่ปนเปื้อน ทำให้เกิดสารพิษที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และปวดเกร็งท้อง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การรักษา อาการคลื่นไส้และอาเจียน

วิธีการรักษา อาการคลื่นไส้และอาเจียน ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น

  • เมารถ แพทย์อาจจ่ายยาช่วยบรรรเทาอาการเมารถ เช่น ยาดรามามีน (Dramamine)  ยาแก้แพ้ (Antihistamines)
  • คลื่นไส้จากกรดไหลย้อน แพทย์อาจแนะนำยาลดกรดไหลย้อนหรือยาบรรเทาอาการปวดหัวชนิดรุนแรง

นอกจากนี้ การดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น สามารถช่วยบรรเทา อาการคลื่นไส้และอาเจียน ให้ลดลงได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการ อาการคลื่นไส้และอาเจียน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวตนเอง ที่อาจช่วยคุณในการรับมือกับ อาการคลื่นไส้และอาเจียน ได้แก่

  • รับประทานอาหารมื้อเล็กทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ไม่รู้สึกอิ่มจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นที่รบกวนต่าง ๆ เช่น น้ำหอม ควัน หรือกลิ่นจากการทำอาหาร
  • หากคุณมีอาการคลื่นไส้นานนับสัปดาห์หรือเป็นเดือน ควรจดบันทึกอาหารที่รับประทาน เพื่อช่วยระบุถึงอาหารที่ทำให้เกิดอาการ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ส่งกลิ่น มีลักษณะบูด หรือไม่ได้แช่เย็นอย่างเหมาะสม
  • หากคุณมีอาการเมาขณะนั่งยานพาหนะต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยยานพาหนะ รวมถึงควรนั่งในตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการเมาน้อยที่สุด (ใกล้ปีกเครื่องบินหรือกลางลำเรือ) ควรสอบถามแพทย์ถึงยาแก้อาการเมาก่อนการเดินทาง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โค้กที่มีคาเฟอีน กาแฟ หรือชา
  • ควรดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหาร เช่น น้ำขิง หรือชาคาโมไมล์
  • ดื่มน้ำสะอาดเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (หากอาการอาเจียนเกี่ยวข้องกับอาการคลื่นไส้)
  • รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้อย่างต่อเนื่อง
  • รับประทานอาหารที่รสไม่จัด เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยง่าย เช่น แครกเกอร์ หรือขนมปังไม่ทาเนย ข้าว ซุปไก่ และกล้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด และอาหารทอด
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา