ข้อบ่งใช้
ยา อินโดเมทาซิน ใช้สำหรับ
ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ตัวยาจะทำงานโดยการลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดการอักเสบและอาการปวดในร่างกาย ใช้เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากโรคเกาต์ หรือโรคกระดูกสันหลังอักเสบ ในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง ยาอินโดเมทาซิน ยังใช้รักษาอาการเจ็บหัวไหล่ ที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบของข้อต่อหัวไหล่ (bursitis) หรือเอ็นอักเสบ (tendinitis)
ยาอินโดเมทาซินออกฤทธิ์นาน (Indocin SR) ไม่ควรนำมาใช้รักษาโรคข้ออักเสบจากโรคเกาท์
ยาอินโดเมทาซินอาจถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางการใช้ยาอินโดเมทาซินนี้
วิธีใช้ยาอินโดเมทาซิน
ปฏิบัติตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ของยา อย่าใช้ยาตัวนี้ในขนาดที่เกินกว่าหรือนานเกินกว่าที่แพทย์แนะนำ ใช้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพในระดับที่ต่ำที่สุด ในการรักษาอาการของคุณ
อย่ากัด เคี้ยว หัก หรือเปิดยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน ให้กลืนยาลงไปทั้งหมด
หากคุณรับประทานยาอินโดเมทาซินเป็นเวลานาน แพทย์ของคุณอาจต้องการตรวจร่างกายของคุณตามมาตรการทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่ายาตัวนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ
การเก็บรักษายา อินโดเมทาซิน
ยาอินโดเมทาซินจะเก็บรักษาได้ดีที่สุดในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาอินโดเมทาซินในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อาจมียาอินโดเมทาซินหลายยี่ห้อที่ต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการตรวจสอบฉลากยา สำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษา หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
คุณไม่ควรทิ้งยาอินโดเมทาซินลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทิ้งยาให้ปลอดภัย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อินโดเมทาซิน
ก่อนใช้ยาตัวนี้ แจ้งแพทย์ของคุณ ในกณีดังต่อไปนี้
- คุณตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรรับประทานยาตัวตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น หากคุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- คุณกำลังรับประทานยาตัวอื่น รวมไปถึงยาใดๆ ก็ตามที่คุณกำลังรับประทาน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ อย่างเช่นสมุนไพรหรือยาอาหารเสริม
- คุณมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมที่ออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์ของยาอินโดเมทาซิน หรือยาตัวอื่น
- คุณมีความเจ็บป่วยป่วย ความผิดปกติ หรืออาการโรคอื่นๆ
ยาอินโดเมทาซินสามารถเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองแตกที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณใช้ยาเป็นเวลานาน หรือขนาดยาที่สูง หรือหากคุณเป็นโรคหัวใจ แม้ว่าบางคนที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจเกิดหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตกได้ ในขณะที่รับประทานยาตัวนี้
อย่าใช้ยาตัวนี้ก่อนหรือหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ (coronary artery bypass graft หรือ CABG)
ยาอินโดเมทาซินอาจก่อให้เกิดเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ซึ่งสามารถอันตรายแก่ชีวิตได้ อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีสัญญาณเตือน ในขณะที่คุณใช้ยาอินโดเมทาซิน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
คุณไม่ควรใช้ยาอินโดเมทาซิน หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคหอบหืด หรือปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงหลังรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่ม NSAID
การรับประทานยาอินโดเมทาซิน ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แจ้งแพทย์ของคุณ หากคุณตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยาตัวนี้
ยาอินโดเมทาซินสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนม และอาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ แจ้งแพทย์ของคุณ หากคุณตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยาตัวนี้
ยาอินโดเมทาซินไม่ได้รับการรับรองในการใช้ ในผู้ที่อยู่ในวัยต่ำกว่า 14 ปี
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะตัวยาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกในกระเพาะได้ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน ในขณะที่รับประทานยาอินโดเมทาซิน
สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาแก้หวัด ยาภูมิแพ้หรือยาแก้ปวดใดๆ ยาหลายชนิดที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา มีส่วนผสมของยาแอสไพริน หรือยาชนิดอื่น ที่คล้ายคลึงกับยาอินโดเมทาซิน การรับประทานยาบางชนิดร่วมกับยาตัวนี้ อาจทำให้คุณได้รับฤทธิ์ของยาชนิดนี้ มากเกินไป ตรวจสอบฉลากเพื่อดูว่าตัวยามีส่วนผสมของยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยาคีโตโพรเฟน (ketoprofen) หรือยานาพรอคเซน (naproxen) หรือไม่
สอบถามแพทย์ของคุณก่อนใช้ยาอินโดเมทาซิน หากคุณรับประทานยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ อย่างเช่น ยาซิตาโลแพรม (citalopram) ยาเอสซิโลแพรม (escitalopram) ยาฟลูออคเซติน (fluoxetine) อย่างเช่น โพรแซค (Prozac) ยาฟลูวอคซามีน (fluvoxamine) ยาพารอคเซติน (paroxetine) ยาเซอร์ทราลีน (sertraline) อย่างเช่น โซลอฟท์ (Zoloft) ยาทราโซโดน (trazodone) หรือยาวิล่าโซโดน (vilazodone) การรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกับ ยาต้านอักเสบไร้สารสเตียรอยด์กลุ่ม NSAID อาจทำให้คุณมีอาการเลือดออก หรือเกิดรอยฟกช้ำได้ง่ายขึ้น
ความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับวิธีใช้ยาตัวนี้ ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ทุกครั้งโปรดปรึกษากับแพทย์ของคุณ เพื่อประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาอินโดเมทาซิน
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อินโดเมทาซิน
อาจมีผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องร่วง
- ท้องผูก
- ปวดหัว
- เวียนหัว
- ง่วงซึม
- รู้สึกเหนื่อยหรือหดหู่
- เสียงก้องในหู
หยุดใช้ยา อินโดเมทาซิน และโทรแจ้งแพทย์ของคุณทันที หากคุณมีอาการ ได้แก่
- การมองเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลง
- หายใจหอบเหนื่อย (แม้จะออกแรงแค่เล็กน้อย)
- อาการบวมและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- สัญญาณแรกของผื่นใดๆ ก็ตามบนผิวหนัง
- สัญญาณของกระเพาะอาหารเลือดออก – อุจจาระเป็นเลือดหรือสีเหมือนถ่าน จามเป็นเลือด หรืออาเจียนคล้ายกาแฟบด
- ปัญหาของตับ – คลื่นไส้ เจ็บกระเพาะช่วงบน ระคายเคือง รู้สึกเหนื่อย อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีควัน ดีซ่าน (ตกเหลืองทางผิวหนังหรือดวงตา)
- ปัญหาทางไต – ปัสสาวะได้น้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะลำบากหรือมีอาการเจ็บ อาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยหรือหายใจสั้น
- โรคโลหิตจาง (anemia) – ผิวหนังซีด รู้สึกหน้ามืด หรือหายใจหอบหัวใจเต้นเร็ว มีปัญหาในการตั้งสมาธิ
- ปฏิกิริยาทางผิวหนังรุนแรง – มีไข้ เจ็บคอ อาการบวมที่ใบหน้าหรือลิ้นของคุณ ดวงตาแสบร้อน อาการเจ็บตามผิวหนังที่มาพร้อมกับผื่นแดง หรือผื่นม่วงที่ลุกลาม (โดยเฉพาะบนใบหน้าหรือลำตัวช่วงบน) และก่อให้เกิดตุ่มและฝี
เข้ารับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีสัญญาณใดๆ ก็ตามของปฏิกิริยาภูมิแพ้ การจาม น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก หายใจหอบ โรคลมพิษ ปัญหาในการหายใจ อาการบวมบนใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และคอ
เข้ารับการช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีสัญญาณของโรคหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกที่ลุกลามไปยังกรามหรือไหล่ของคุณ อาการชาหรืออ่อนแรงฉับพลันที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย พูดไม่ชัด หายใจหอบ
ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ
ปฏิกิริยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยา อินโดเมทาซิน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา คุณควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร) และให้แพทย์และเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาใดๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหมอ
ยาบางชนิดที่อาจทำปฏิกิริยากับยาตัวนี้ ได้แก่
- ยาไซโครสโปรีน (Cyclosporine)
- ยาลิเทียม (Lithium)
- ยาเมโทเตรเซท (Methotrexate)
- ยาโพรเบเนซิด (Probenecid)
- ยาวาร์ฟาริน (warfarin) เช่น คูมาดิน (Coumadin) จานโตเวน (Jantoven)
- ยาหัวใจหรือยาลดความดันโลหิต ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ
- ยาสเตียรอยด์ (อย่างเช่น ยาเพรดนิโซน)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาอินโดเมทาซินอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาตัวนี้
ปฏิกิริยากับอาการโรค
ยาอินโดเมทาซินอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะแจ้งให้หมอและเภสัชกร รู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น
อาการโรคที่อาจทำปฏิกิริยากับยาตัวนี้ ได้แก่
- โรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูง
- เบาหวาน
- หลอดเลือดในสมองแตก
- ประวัติโรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองแตก หรือการเกิดลิ่มเลือด
- ประวัติของอาการเลือดออก หรือแผลในกระเพาะ
- หอบหืด
- โรคตับหรือโรคไต
- ภาวะคั่งของของเหลว
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ เพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติมก่อนใช้ยาอินโดเมทาซิน
ขนาดยาอินโดเมทาซินสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเกาต์ชนิดเฉียบพลัน
ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 50 มิลลิกรัม
ระยะของการรักษา : จนกว่าโรคเกาต์จะหาย
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่ข้อต่อบริเวณหัวไหล่อักเสบ
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75-150 มิลลิกรัมต่อวัน ใน 3 หรือ 4 ขนาดยา
ยาเหน็บ : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน : ขนาดยาที่แนะนำคือรับประทาน 75 มิลลิกรัม หนึ่งหรือ 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเอ็นอักเสบ
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันที และยาน้ำแขวนตะกอน: ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75-150 มิลลิกรัมต่อวัน ใน 3 หรือ 4 ขนาดยา
ยาเหน็บ : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม หนึ่งหรือ 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็บ
ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 20 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน หรือรับประทาน 40 มิลลิกรัม 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาคงที่ : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการและเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจ หรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาควบคุม : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50-200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อสันหลังอักเสบ
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาควบคุม : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการ และเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจ หรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาคงที่ : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50 ถึง 200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น: ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นข้อเสื่อม
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาควบคุม : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการ และเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจ หรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาคงที่ : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50 ถึง 200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาอินโดเมทาซินสำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุของเด็กทารก ณ ขณะที่ทำการรักษา โปรแกรมการรักษา แบ่งออกเป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำ 3 ขนาดยา ภายในระยะเวลาระหว่าง 12-24 ชั่วโมง
ขนาดยาครั้งแรก : น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
- ขนาดยาครั้งแรก : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 2 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 3 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
ขนาดยาครั้งแรก : 2-7 วัน
- ขนาดยาครั้งแรก : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 2 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 3 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
ขนาดยาครั้งแรก : มากกว่า 7 วันขึ้นไป
- ขนาดยาครั้งแรก : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 2 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
- ขนาดยาครั้งที่ 3 : ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ
ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อายุ 2-14 ปี
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 1-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในขนาดยาที่แบ่งเท่า ๆ กัน
- ขนาดยาสูงสุด : ขนาดยาที่แนะนำคือ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือ 150-200 มิลลิกรัม/วัน แบบไหนก็ตามที่ต่ำกว่านั้น มีข้อมูลสนับสนุนที่จำกัดสำหรับขนาดยาสูงสุดของ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน
อายุ 14 ปีขึ้นไป
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาคงที่ : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการและเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจหรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาควบคุม : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50 ถึง 200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด
อายุ 14 ปีขึ้นไป
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาคงที่ : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการและเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจหรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาควบคุม : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50 ถึง 200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคข้อเสื่อม
อายุ 14 ปีขึ้นไป
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 25 มิลลิกรัม 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน
- ขนาดยาคงที่ : ปรับขนาดยาตามที่ต้องการและเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ด้วยขนาดยา 25 หรือ 50 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าจะได้การตอบสนองที่น่าพึงพอใจหรือถึงระดับของขนาดยาสูงสุด
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม
ยาเหน็บ
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- ขนาดยาควบคุม : ขนาดยาที่แนะนำ เหน็บยาขนาด 50 ถึง 200 มิลลิกรัม ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน
- ขนาดยาสูงสุดในครั้งเดียว : ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม
- ขนาดยาสูงสุดในหนึ่งวัน : ขนาดยาที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน
- ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 มิลลิกรัม วันละครั้ง
- สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาออกฤทธิ์ทันที ที่ 150 มิลลิกรัมต่อวัน : ขนาดยาเริ่มต้น : ขนาดยาที่แนะนำคือ รับประทาน 75 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับเด็กที่ข้อต่อบริเวณหัวไหล่อักเสบ
อายุตั้งแต่ 14 ขึ้นไป
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 ถึง 150 มิลลิกรัมต่อวัน ใน 3 หรือ 4 ขนาดยา
ยาเหน็บ : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน : ขนาดยาที่แนะนำคือรับประทาน 75 มิลลิกรัม หนึ่งหรือ 2 ครั้งต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเอ็นอักเสบ:
อายุตั้งแต่ 14 ขึ้นไป
ยาแคปซูลชนิดออกฤทธิ์ทันทีและยาน้ำแขวนตะกอน : ขนาดยาที่แนะนำ คือรับประทาน 75 ถึง 150 มิลลิกรัมต่อวัน ใน 3 หรือ 4 ขนาดยา
ยาเหน็บ : ขนาดยาที่แนะนำคือ เหน็บยาขนาด 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
ยาออกฤทธิ์นาน : ขนาดยาที่แนะนำคือรับประทาน 75 มิลลิกรัม หนึ่งหรือ 2 ครั้งต่อวัน
รูปแบบยา
ยาอินโดเมทาซิน มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่
- ยาแคปซูล : 25 มิลลิกรัม, 50 มิลลิกรัม, 75 มิลลิกรัม, 25 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร, 1 มิลลิกรัม, 20 มิลลิกรัม, 40 มิลลิกรัม
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่น หรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมรับประทานยาอินโดเมทาซิน กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ข้ามขนาดยาครั้งที่แล้ว และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]