backup og meta

เซโฟแทกซีม (Cefotaxime)

ข้อบ่งใช้

ยา เซโฟแทกซีม ใช้สำหรับ

ยา เซโฟแทกซีม (Cefotaxime) มักใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ และยังอาจใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดบางชนิด ยา เซโฟแทกซีม นี้อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะ เซฟาโลสปอริน (cephalosporin) เซโฟแทกซีม ทำงานโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

วิธีการใช้ยาเซโฟแทกซีม

ให้ยา เซโฟแทกซีม โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำตามที่แพทย์กำหนด หากฉีดยา เซโฟแทกซีม เข้าหลอดเลือดดำ ควรฉีดเข้าช้าๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่รุนแรงบางอย่าง (เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ) ขนาดยา เซโฟแทกซีม ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

หากคุณใช้ยา เซโฟแทกซีม นี้ที่บ้าน ควรเรียนรู้วิธีการเตรียมยาและวิธีการฉีดยาจากผู้ดูแลสุขภาพ ก่อนใช้ยา เซโฟแทกซีม ควรตรวจสอบยาว่ามีฝุ่นตะกอนหรือเปลี่ยนสีหรือไม่ หากมีไม่ควรใช้ยานั้น ควรเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาและกำจัดอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย

หากคุณใช้ยาสารละลายแบบผสมมาก่อนที่แช่แข็งแล้ว ควรละลายถุงยาด้วยการวางไว้ที่อุณภูมิห้องหรือไว้ในตู้เต็น หากละลายยาในตู้เย็นควรวางทิ้งไว้ที่อุณภูมิห้องอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนใช้ยา อย่าละลายยาโดยการแช่ลงในน้ำหรือใช้ไมโครเวฟ หลังจากละลายยาเสร็จแล้วควรเขย่าและบีบถุงยาเพื่อตรวจสอบรอยรั่ว ควรทิ้งยาหากมีรอยรั่ว ห้ามแช่แข็งยาที่ละลายไปแล้วอีกครั้ง

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นระยะห่างที่เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เซโฟแทกซีม

โดยส่วนใหญ่แล้วมักให้ยา เซโฟแทกซีม ที่โรงพยาบาลหรือในห้องทำงานของแพทย์ หากเก็บรักษายาที่บ้านควรทำตามวิธีการเก็บรักษายาตามที่แพทย์บอก

เก็บยา เซโฟแทกซีม ทั้งหมดไว้ในที่ซึ่งปลอดภัย และห่างไกลจากมือของเด็กและสัตว์เลี้ยง

สอบถามวิธีการทิ้งยาที่ไม่ได้ใช้แล้วได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเซโฟแทกซีม

ก่อนใช้ยาเซโฟแทกซีม แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยานี้ หรือแพ้ยาปฏิชีวนะอื่นๆ เช่น เพนิซิลลิน (penicillin) หรือยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) อื่นๆ หรือหากคุณมีการแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่เป็นสารไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามกับเภสัชกร

ก่อนใช้ยานี้โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคไต โรคกระเพาะ/ลำไส้ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)

ยาเซโฟแทกซีมอาจทำให้วัคซีนแบคทีเรียชนิดเชื้อเป็น (เช่น วัคซีนไทฟอยด์) ทำงานได้ไม่ดี

ห้ามกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunizations) หรือรับวัคซีนขณะที่กำลังใช้ยานี้นอกจากแพทย์จะสั่ง

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ (ทั้งยาตามใบสั่ง ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพร)

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ก่อนใช้ยานี้

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้ในปริมาณเล็กน้อย และไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทารก โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเซโฟแทกซีมจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเซโฟแทกซีม

อาจมีอาการบวม แดง หรือปวดบริเวณที่ฉีดยา แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ มีรอยช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เหนื่อยล้าอย่างผิดปกติ มีการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ (เช่น สับสน) ชัก มีสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต (เช่น ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง) มีสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับตับ (เช่น คลื่นไส้อาเจียนไม่ยอมหยุด เบื่ออาหาร ปวดท้องหรือกระเพาะ ดวงตาหรือผิวเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีคล้ำ) รับการรักษาในทันทีหากคุณมีการข้างเคียงที่รุนแรงมาก ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว/ช้า/ผิดปกติ

น้อยครั้งมากที่ยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะของลำไส้ที่รุนแรง เช่น อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับเชื้อคลอสไทรเดียมดิฟิซายล์ (Clostridium difficile) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา หรือหลังจากหยุดการรักษาแล้วหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการ ได้แก่ ท้องร่วงไม่หยุด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งในท้องหรือกระเพาะ หรือมีเลือด/มูกในอุจจาระ

ห้ามใช้ยาแก้ท้องร่วง หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด (narcotic pain medications) หากคุณมีอาการเหล่านี้ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

การใช้ยานี้เป็นเวลานานหรือใช้ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก หรือติดเชื้อยีสต์ใหม่ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณสังเกตเห็นคราบสีขาวภายในปาก มีการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ หรืออาการใหม่อื่นๆ

อาการแพ้ที่รุนแรงของยานี้เกิดขึ้นน้อยมาก แต่ควรรับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการแพ้ที่รุนแรงดังนี้ ผดผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น ลำคอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น ไรแฟมพิน (rifampin) ไรฟาบูติน (rifabutin) สามารถลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ หากคุณกำลังใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการทดสอบในห้องแล็บบางประการ (รวมถึงการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ) อาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ อย่าลืมแจ้งให้บุคคลากรในห้องแล็บและแพทย์ทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้อยู่

ยาเซโฟแทกซีมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเซโฟแทกซีมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเซโฟแทกซีมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเซโฟแทกซีมสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (Bacteremia)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการยาขนาดสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษหรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทียมาร์เซสเซน (Serratia marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1 ถึง 2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการยาขนาดสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะ โลหิตเป็นพิษหรือติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทียมาร์เซสเซน (Serratia marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะพิษเพราะติดเชื้อ (Sepsis)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการยาขนาดสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • การใช้งาน : เพื่อรักษาภาวะ โลหิตเป็นพิษหรือติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทียมาร์เซสเซน (Serratia marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับการผ่าท้องคลอดบุตร (Cesarean Section)

  • 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทันทีหลังจากที่ผูกสายสะดือแล้ว ตามด้วยให้ยาเพิ่มเติม 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำในเวลา 6 และ 12 ชั่วโมงหลังจากรับยา ครั้งแรก
  • การใช้งาน: เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการยาขนาดสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) และเชื้ออีโคไล (E coli) ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้งาน : เพื่อการรักษาการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อเยื่อโพรงสมองอักเสบ (ventriculitis) ที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitides) เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) เชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (K pneumoniae) และเชื้ออีโคไล
  • คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) สภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AAN) สภาศัลยแพทย์โรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AANS) และสมาคมการดูแลระบบประสาท (NCS) : 8-12 กรัมต่อวัน ให้ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • คำแนะนำ : ควรมีการเพิ่มยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) แยกกับยาเพนนิซิลิน (penicillin) ที่มีความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ (MIC) ที่ 0.12 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น และยาเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) รุ่นสามที่มีความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 1 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่า

การใช้ยา

  • เพื่อการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มโพรงสมองอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพซึ่งเกิดจากแบคทีเรียแกรมลบ (gram-negative bacilli) ที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาเซฟาโลสปอรินรุ่นสาม
  • แนะนำสำหรับการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย และเชื้ออีโคไล
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ (Empirical antimicrobial therapy) สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 50 ปี และผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง (purulent meningitis) เนื่องจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) หรือเชื้อแอโรบิคแบคทีเรียแกรมลบ (aerobic gram-negative bacilli)
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกแตกร้าวบริเวณฐานที่มีโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อเบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกไค กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococci)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคติดเชื้อในระบบประสาท (CNS Infection)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) และเชื้ออีโคไล (E coli) ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : เพื่อการรักษาการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อเยื่อโพรงสมองอักเสบ (ventriculitis) ที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitides) เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) เชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (K pneumoniae) และเชื้ออีโคไล
  • คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) สภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AAN) สภาศัลยแพทย์โรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AANS) และสมาคมการดูแลระบบประสาท (NCS) : 8-12 กรัมต่อวัน ให้ทุกช่วง 4-6 ชั่วโมง
  • คำแนะนำ : ควรมีการเพิ่มยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) แยกกับยาเพนนิซิลิน (penicillin) ที่มีความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ (MIC) ที่ 0.12 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น และยาเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) รุ่นสามที่มีความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 1 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่า

การใช้ยา

  • เพื่อการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มโพรงสมองอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่เกิดจากแบคทีเรียแกรมลบ (gram-negative bacilli) ที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาเซฟาโลสปอรินรุ่นสาม
  • แนะนำสำหรับการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย และเชื้ออีโคไล
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ (Empirical antimicrobial therapy) สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีและน้อยกว่า ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง (purulent meningitis) เนื่องจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนองเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) หรือเชื้อแอโรบิคแบคทีเรียแกรมลบ (aerobic gram-negative bacilli)
  • ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกแตกร้าวบริเวณฐานที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อเบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกไค กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococci)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

  • มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ (Enterobacter) เคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) เชื้อแบคเทอร์รอยดีส ฟราจิลิส (Bacteriodes fragilis) และเชื้อฟูโซแบคทีเรียม นูคลีทัม (Fusobacterium nucleatum) ต่ำกว่า 10 ราย
  • ยานี้ไม่ได้ผลต่อเชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) ผู้ป่วยที่มีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบที่สงสัยว่าอาจจะเป็นเพราะเชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิส ควรมีการรักษาโดยใช้ยาต้านคลามายเดียที่เหมาะสม
  • การใช้งาน : สำหรับรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อุ้งเชิงกรานอักเสบ และเนื้อเยื่อในช่องเชิงกรานอักเสบ (pelvic cellulitis) ที่เกิดจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสอิพิเดอร์มิดิส (Staphylococcus epidermidis) เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรโคคัส (Enterococcus) เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ (Enterobacter) เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อโปรเตียสมิราบิลิส (Proteus mirabilis) เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส (Bacteroides) เชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม (Clostridium) เชื้อแอนแอโรบิค คอคคไค (anaerobic cocci) เช่นเชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส (Peptostreptococcus) เชื้อสายพันธุ์เพบโทโคคัส (Peptococcus)และเชื้อสายพันธุ์ฟูโซแบคทีเรียม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometritis)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

  • มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ (Enterobacter) เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา (Klebsiella) เชื้อแบคเทอร์รอยดีส ฟราจิลิส (Bacteriodes fragilis) และเชื้อฟูโซแบคทีเรียม นูคลีทัม (Fusobacterium nucleatum) ต่ำกว่า 10 ราย
  • ยานี้ไม่ได้ผลต่อเชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) ผู้ป่วยที่มีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบที่สงสัยว่าอาจจะเป็นเพราะเชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิส ควรมีการรักษาโดยใช้ยาต้านคลามายเดียที่เหมาะสม
  • การใช้งาน : สำหรับรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อุ้งเชิงกรานอักเสบ และเนื้อเยื่อในช่องเชิงกรานอักเสบ (pelvic cellulitis) ที่เกิดจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสอิพิเดอร์มิดิส (Staphylococcus epidermidis) เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรโคคัส (Enterococcus) เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ (Enterobacter) เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อโปรเตียสมิราบิลิส (Proteus mirabilis) เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส (Bacteroides) เชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม (Clostridium) เชื้อแอนแอโรบิค คอคไค (anaerobic cocci) เช่นเชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส (Peptostreptococcus) เชื้อสายพันธุ์เพบโทโคคัส (Peptococcus) และเชื้อสายพันธุ์ฟูโซแบคทีเรียม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน (Gonococcal Infection) – ไม่มีอาการแทรกซ้อน

  • ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)/ปากมดลูกอักเสบ (Cervicitis) : 0.5 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง

ติดเชื้อหนองในที่ลำไส้ตรง

  • ผู้หญิง : 0.5 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง
  • ผู้ชาย : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง
  • การใช้งาน : สำหรับการรักษาการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ และลำไส้ตรงที่เกิดจากเชื้อไนซ์ซีเรียโกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) รวมถึงสายพันธุ์ที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส (penicillinase producing strains)

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC)

  • การติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะและที่ลำไส้ตรง-ทวารหนัก : 500 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง
  • การใช้ยา : ใช้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับการติดเชื้อหนองในที่ไม่ซับซ้อนที่บริเวณปากมดลูก ท่อปัสสาวะ และลำไส้ตรง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องท้อง (Intraabdominal Infection)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์สแตปฟิโลคอคคัส เชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้งาน : เพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องท้องที่เกิดจาก เชื้อสายพันธุ์สเตรปโทคอคคัส เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส เชื้อแอนแอโรบิค คอคไค เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม
  • คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) : 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา

  • ใช้ในการรักษาอย่างกว้างๆ สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอชไอวีขั้นรุนแรงและมีอาการท้องร่วงระดับรุนแรง (เช่น อุจจาระเป็นน้ำ 6 ครั้ง/วันหรือมากกว่า หรืออุจจาระเป็นเลือด หรือเป็นไข้หรือหนาวสั่น)
  • สำหรับรักษาการติดเชื้อแซลโมเนลลา (Salmonellosis) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเอชไอวี
  • คำแนะนำจากสมาคมการติดเชื้อจากการผ่าตัด (SIS) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา : 1-2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง ร่วมกับยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole)
  • การใช้งาน : เพื่อการรักษาอย่างกว้างๆ สำหรับอาการไส้ติ่งแตก (perforated appendicitis) /ไส้ติ่งเป็นฝีหนอง (abscessed appendicitis) ระดับเบาถึงปานกลางที่ได้มาจากชุมชน และการติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลางอื่นๆ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ข้อต่อ

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพการรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่กระดูกหรือข้อต่อ จากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส และชนิด ไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส(Penicillinase) เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่กระดูกและ/หรือข้อต่อ จากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส และชนิดไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส (Penicillinase) เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา เชื้อโปรเตียส มิราบิลิสและเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส เชื้อแอนแอโรบิค คอคไค เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม

คำแนะนำจากสมาคมเพื่อการฟอกไตทางช่องท้องระหว่างประเทศ (ISPD)

  • การให้ยาแบบเป็นระยะ : 500-1000 มก. เข้าทางช่องท้อง วันละครั้ง
  • การใช้ยา : ใช้ในการรักษาแบบกว้างๆ สำหรับภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่สงสัยว่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (gram-negative organisms)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปอดบวม (Pneumonia)

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส และเชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง (รวมถึงปอดบวม) ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย/เชื้อดิโพค็อกคัสนิวโมเนีย (Diplococcus pneumoniae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (เชื้อสเตรปโทคอกโคสิกลุ่มเอ) เชื่อสเตรปโทคอกไคอื่นๆ (ยกเว้นเอนเทอโรคอกไค) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส/ไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส (Penicillinase/non-penicillinase producing S aureus) เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (รวมทั้งเชื้อที่ต้านทานต่อแอมพิซิลิน) เชื้อฮีโมฟิลัส พาราอินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus parainfluenzae) เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ และเชื้อโปรเตียสที่มีผลการทดสอบอินโดลเป็นบวก (indole positive Proteus) และเชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวและเนื้อเยื่ออ่อน

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์เอซิเนโตแบคเตอร์ (Acinetobacter) เชื้อซิโตรแบคเตอร์ ฟรอนได (Citrobacter freundii), เชื้อโปรเตียส วัลการิส (Proteus vulgaris) เชื้อโพรวิเดนเซีย เรตเจอริ (Providencia rettgeri) และเชื้อเพปโทสเตรปโทคอคคัส (Peptostreptococcus) ต่ำกว่า 10 ราย
  • การใช้ยา : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส/ไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส (Penicillinase/non-penicillinase producing S aureus) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส อีพิเดอมิดิส (Staphylococcus epidermidis) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (เชื้อสเตรปโทคอกไคกลุ่มเอ) เชื่อสเตรปโทคอกไคอื่นๆ เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรคอกคัส เชื้อสายพันธุ์เอซิเนโตแบคเตอร์ เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์ซิโตรแบคเตอร์ เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส เชื้อโปรเตียส วัลการิส เชื้อมอร์กาเนลล่า มอร์กาไน (Morganella morganii) เชื้อโพรวิเดนเซีย เรตเจอริ เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน เชื้อสายพันธุ์แบคเทอรอยดิส และเชื้อแอนแอโรบิคคอคไค

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

  • แผลโดนกัดจากสัตว์ : 1-2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ชั่วโมง ร่วมกับเมโทรนิดาโซล (metronidazole) หรือคลินดามัยซิน (clindamycin)
  • การติดเชื้ออหิวาตกโรค (Vibrio infections) : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 3 ครั้ง/วัน ร่วมกับยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline)

การใช้ยา

  • เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ (necrotizing infections) ที่ผิวหนัง พังผืด (fascia) และกล้ามเนื้อที่เกิดการติดเชื้อจากเชื้อหลายชนิดหรือจากเชื้อวิบริโอ วูลนิฟิคัส (Vibrio vulnificus)
  • เพื่อรักษาการติดเชื้อจากการกัดของสัตว์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการป้องกันระหว่างผ่าตัด

  • 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง

คำแนะนำ

  • ควรให้ยานี้ 30-90 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • ผู้เชี่ยวชาญบางรายได้แนะนำให้ทำการเตรียมความพร้อมของลำไส้ก่อนการผ่าตัดและใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ดูดซึมสำหรับผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
  • การใช้งาน : เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดที่ปนเปื้อนหรืออาจจะปนเปื้อน เช่นผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องท้องหรือช่องคลอด (hysterectomy) การผ่าตัดระบบทางเดินอาหารหรือระบบทางเดินปัสสาวะ

คำแนะนำจากองค์กรเภสัชแห่งสหรัฐอเมริกา (American Society of Health-System Pharmacists) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมการติดเชื้อจากการผ่าตัด และสมาคมเพื่อระบาดวิทยาด้านสุขภาพแห่งอเมริกา (Society for Healthcare Epidemiology of America)

  • ผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคอ้วน : 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง ร่วมกับยาแอมพิซิลลิน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง ร่วมกับยาแอมพิซิลลิน
  • คำแนะนำ : ระยะห่างในการให้ยาซ้ำที่แนะนำคือ 3 ชั่วโมง
  • การใช้ยา : เป็นยาต้านจุลชีพระหว่างการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายตับ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

  • การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1 ถึง 2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อพี วัลแกริส (P vulgaris) เชื้อเอ็ม มอร์แกนี (M morganii) และเชื้อพี เรทเกอริ (P rettgeri)
  • การใช้งาน : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรคอคคัส เชื้อเอสเอพิเดอมิดิส (S epidermidis) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลินเนส/ไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลินเนส เชื้อสายพันธุ์ไซโทรแบคเตอร์ (Citrobacter) เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส เชื้อพีวัลแกริส เชื้อพีสเติร์ทที (P stuartii) เชื้อเอ็มมอร์แกนี เชื้อพีเรทเกอริ เชื้อเอสมาร์เซสเซน และเชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ระยะแพร่กระจาย

  • คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งอเมริกา : 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • คำแนะนำ : ควรมีการตรวจและรักษาผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 60 วัน
  • การใช้ยา : ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาข้ออักเสบและกลุ่มอาการข้ออักเสบและผิวหนังอักเสบ (arthritis-dermatitis syndrome) ที่เกิดจากเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (N gonorrhoeae)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลายม์ (Lyme Disease) – ระบบประสาท

  • คำแนะนำจากสภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AAN) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาการรักษา : 14-28 วัน
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาโรคลายม์ที่ระบบประสาท

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

  • คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
  • การใช้ยา : เพื่อรักษาโรคไซนัสและจมูกอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อแบคทีเรียที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อจมูกอักเสบ (Rhinitis)

  • คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การใช้ยา: เพื่อรักษาโรคไซนัสและจมูกอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรียที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การปรับขนาดยาสำหรับไต

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 20-90 มล./นาที : อาจต้องปรับขนาดยา แต่ไม่มีแนวทางแนะนำที่เจาะจง ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ต่ำกว่า 20 มล./นาที : ควรปรับลดขนาดยาลง 50% ของขนาดยาปกติ
  • ระยะเวลาการรักษา : อย่างน้อย 10 วัน (การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อเบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกไคกลุ่มเอ)

คำแนะนำ

  • ควรรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่อาการของผู้ป่วยดีขึ้น และ/หรือ มีหลักฐานว่าสามารถจำกัดเชื้อแบคทีเรียไปได้แล้ว
  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบ่อยๆ อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา แต่ไม่ควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำกว่ากำหนด

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

  • ไม่มีข้อมูล

การปรับขนาดยา

ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดผิดปกติระหว่างการรักษา : ควรพิจารณาหยุดใช้ยานี้

ข้อควรระวัง

ควรศึกษาในส่วนของคำเตือนสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การฟอกไต

ไม่มีข้อมูล

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการให้ยา

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ : ควรฉีดยาลึกลงไปในส่วนของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ผู้ให้ควรดึงสารละลายย้อนกลับขึ้นมาในหลอดฉีดเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นไม่ได้เข้าไปสู่หลอดเลือด อาจให้ขนาดยาถึง 2 กรัม หากแบ่งมื้อยาและให้ในตำแหน่งของร่างกายที่แตกต่างกัน

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดำเป็นระยะ : ควรฉีดยานี้นานอย่างน้อย 3-5 นาที

ความเข้ากันของการฉีดยาเข้าหลอดเลือด (IV compatibility)

ไม่ควรผสมยานี้กับยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside antibiotics)

ทั่วไป

ข้อจำกัดในการใช้ : ยานี้ไม่ได้ผลกับเชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)

แนะนำการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่น ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (bacteremia) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) หรือกับผู้ที่มีความต้านทานต่ำเนื่องจากภาวะที่ทำให้อ่อนเพลีย เช่น ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) บาดแผล การผ่าตัด โรคเบาหวาน หัวใจล้มเหลว เนื้องอกร้าย (malignancy) โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการช็อกหรือกำลังจะมีอาการช็อก

ความกว้างของการออกฤทธิ์ : มีปฏิกิริยาไวต่อทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ควรมีการศึกษาข้อมูลของปฏิกิริยาไวในท้องถิ่นถ้าหากมี ยานี้ได้แสดงให้เห็นถึงผลในหลอดทดลองและในการติดเชื้อทางคลีนิคในการต่อต้านกับเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรคอคคัสส่วนใหญ่ (อาจดื้อยาตามธรรมชาติ) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (เฉพาะที่ไวต่อเมทิซิลลิน [methicillin-susceptible] เท่านั้น) เชื้อเอสเอพิเดอมิดิส เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส เชื้อสเตรปโทคอกไคกลุ่มวิราเดนส์ เชื้อสายพันธุ์อะซินีโตแบ็กเตอ (Acinetobacter) เชื้อสายพันธุ์ไซโทรแบคเตอร์ (Citrobacter) เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้ออีโคไล เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อฮีโมฟิลัส พาราอินฟลูเอ็นซาอี เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อเอ็มมอร์แกนี เชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อโปรเตียสมิราบิลิส เชื้อพีวัลแกริส เชื้อพีเรทเกอริ เชื้อพีสเติร์ทที เชื้อเอสมาร์เซสเซน เชื้อสายพันธุ์แบคเทอรอยดีส เชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม (คลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ส่วนใหญ๋นั้นดื้อยา) เชื้อสายพันธุ์ฟูโซแบคทีเรียม เชื้อสายพันธุ์เพบโทคอคคัส และเชื้อสายพันธุ์เพบโทสเตรปโตค็อกคัส เชื้อสายพันธุ์ที่ผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคแทมเมส (beta-lactamase-producing) และผลิตคาร์บาเพเนเมส (carbapenemase-producing)ที่มีสเปคตรัมมกว้าง ส่วนใหญ่จะดื้อยา ยานี้ได้แสดงให้เห็นผลการทดลองในหลอดแก้วว่า สามารถต่อต้านเชื้อสายพันธุ์โพรวิเดนเซีย (Providencia) เชื้อสายพันธุ์ซาลโมเนลลา (Salmonella ) และเชื้อสายพันธุ์ชิเจลลา (Shigella) แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อทางคลีนิค

การเฝ้าระวัง

เลือด : ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่รับการรักษานานเกินกว่า 7 วัน

-ตับ : การตรวจสมรรถภาพของตับ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะตับบกพร่องหรือ เลือดไหลเวียนผ่านตับลดลง

-ไต : การตรวจสมรรถภาพของไต โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง หรือหากใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

-ผู้ป่วยควรรายงานผลเสมอหากเกิดผลข้างเคียงที่ผิดปกติหรือรุนแรง

-ผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำให้รายงานเกี่ยวกับสัญญาณ/อาการของการติดเชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ เช่น อุจจาระเหลวหรือมีเลือด ปวดเกร็งท้อง เป็นไข้ อาจเป็นเวลาถึง 2 เดือนหลังหยุดการรักษา

-ผู้ป่วยควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนดแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว

ขนาดยาเซโฟแทกซีมสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต (Bacteremia)

0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4 ถึง 6 ครั้ง/วัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง: 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ : ควรใช้ยาในขนาดสูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่า

การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในเลือดหรือการติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน (S marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (S aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

ทารกแรกเกิด 0-4 สัปดาห์ และน้ำหนักน้อยกว่า 1200 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนัก 1200-2000 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 100 ถึง 150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำโดยแบ่งให้ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนัก 1200 ถึง 2000 กรัม : 150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 150-200 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

ทารกและเด็ก 12 ปีและน้อยกว่า : 100-150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับท่อสายสวน (catheter-related infections)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)

อายุ 0 ถึง 1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือด ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1 ถึง 4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีดในขนาดเท่าๆ กัน 4-6 ครั้ง

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ : ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่า เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่า

การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดหรือการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน (Serratia marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

ทารกแรกเกิด 0-4 สัปดาห์ และน้ำหนักน้อยกว่า 1200 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนัก 1200-2000 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 100-150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง

อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนัก 1200-2000 กรัม : 150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 150-200 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง

ทารกและเด็กอายุ 12 ปีและน้อยกว่า : 100-150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับท่อสายสวน (catheter-related infections)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะพิษเพราะติดเชื้อ (Sepsis)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50 ถึง 180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับ ปานกลางถึงรุนแรง : 1 ถึง 2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ : ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

การใช้งาน : เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดหรือการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา (Klebsiella) เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน (Serratia marcescens) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อสายพันธุ์สเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

ทารกแรกเกิด 0-4 สัปดาห์ และน้ำหนักน้อยกว่า 1200 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนัก 1200-2000 กรัม : 100 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุ 7 วันหรือน้อยกว่า และน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 100-150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนัก 1200-2000 กรัม : 150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

หลังคลอด อายุมากกว่า 7 วันและน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม : 150 ถึง 200 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

ทารกและเด็ก 12 ปีและน้อยกว่า : 100-150 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับท่อสายสวน (catheter-related infections)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 12 ชั่วโมง

1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 8 ชั่วโมง

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) และเชื้ออีโคไล (E coli) ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้ยา : เพื่อการรักษาการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อเยื่อโพรงสมองอักเสบ (ventriculitis) ที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitides) เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) เชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (K pneumoniae) และเชื้ออีโคไล

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) สภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AAN) สภาศัลยแพทย์โรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AANS) และสมาคมการดูแลระบบประสาท (NCS):

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย

อายุ 0-7 วัน : 100-150 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8-12 ชั่วโมงร่วมกับยาแอมพิซิลลิน

อายุ 8-28 วัน : 150-200 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมงร่วมกับยาแอมพิซิลลิน

ทารกและเด็ก : 225-300 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมงร่วมกับยาแวนโคมัยซิน (vancomycin)

การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบในโรงพยาบาล

เด็ก : 300 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยเว้นช่วง ทุก 6-8 ชั่วโมง

คำแนะนำ : ควรเพิ่มยาแวนโคมัยซินกับผุ้ป่วยที่อายุมากกว่า 1 เดือน หรือ แยกจากยาเพนิซิลลินที่มีค่าความเข้นข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 0.12 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น และยาเซฟาโลสปอรินรุ่น 3 ที่มีค่าความเข้นข้นต่ำสุด ที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 1ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น

การใช้ยา

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 1 เดือนที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส อะกาแลคเทีย (S agalactiae) เชื้ออีโคไล เชื้อลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส หรือเชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 1-23 เดือน ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อสเตรปโตคอคคัส อะกาแลคเทีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี หรือเชื้ออีโคไล

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 2 ปีขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนองเนื่องจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกแตกร้าวบริเวณฐานที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อเบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกไค กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococci)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคติดเชื้อในระบบประสาท (CNS Infection)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50 ถึง 180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4 ถึง 6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) และเชื้ออีโคไล (E coli) ต่ำกว่า 10 ราย

-การใช้งาน : เพื่อการรักษาการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อเยื่อโพรงสมองอักเสบ (ventriculitis) ที่เกิดจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitides) เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) เชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย (K pneumoniae) และเชื้ออีโคไล

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) สภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AAN) สภาศัลยแพทย์โรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกา (AANS) และสมาคมการดูแลระบบประสาท (NCS)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย

อายุ 0-7 วัน : 100-150 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8-12 ชั่วโมงร่วมกับยาแอมพิซิลลิน

อายุ 8-28 วัน : 150-200 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมงร่วมกับยาแอมพิซิลลิน

ทารกและเด็ก : 225-300 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมงร่วมกับยาแวนโคมัยซิน (vancomycin)

การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบในโรงพยาบาล

เด็ก : 300 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยเว้นช่วง ทุก 6-8 ชั่วโมง

คำแนะนำ : ควรเพิ่มยาแวนโคมัยซินกับผุ้ป่วยที่อายุมากกว่า 1 เดือน หรือ แยกจากยาเพนิซิลลินที่มีค่าความเข้นข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 0.12 ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น และยาเซฟาโลสปอรินรุ่น 3 ที่มีค่าความเข้นข้นต่ำสุด ที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 1ไมโครกรัม/มล. หรือมากกว่านั้น

การใช้ยา

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 1 เดือนที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส อะกาแลคเทีย (S agalactiae) เชื้ออีโคไล เชื้อลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส หรือเชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 1-23 เดือน ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส เชื้อสเตรปโตคอคคัส อะกาแลคเทีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี หรือเชื้ออีโคไล

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยที่อายุ 2 ปีขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนองเนื่องจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

-ใช้ในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างกว้างๆ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกแตกร้าวบริเวณฐานที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี เชื้อเบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกไค กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococci)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องท้อง (Intraabdominal Infection)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุดv: 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์สเตรปโทคอคคัส เชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องท้องที่เกิดจาก เชื้อสายพันธุ์สเตรปโทคอคคัส เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส เชื้อแอนแอโรบิค คอคไค เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH)

วัยรุ่น : 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา

-ใช้ในการรักษาอย่างกว้างๆ สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอชไอวีขั้นรุนแรงและมีอาการท้องร่วงระดับรุนแรง (เช่น อุจจาระเป็นน้ำ 6 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า หรืออุจจาระเป็นเลือด หรือเป็นไข้หรือหนาวสั่น)

-สำหรับรักษาโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonellosis) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเอชไอวี

คำแนะนำจากสมาคมการติดเชื้อจากการผ่าตัด (SIS) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

150-200 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยแบ่งให้ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การใช้ยา : ใช้ในการรักษาอย่างกว้างๆ สำหรับการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ข้อต่อ

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง: 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพการรักษาสำหรับการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูกิโนซา และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่กระดูกและ/หรือข้อต่อเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนสและไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนส เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป 

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

คำแนะนำ : มีการศึกษาประสิทธิภาพการรักษาสำหรับการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซา และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้ยา : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่กระดูกหรือข้อต่อเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนสและไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนส เชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส และเชื้อโปรเตียส มิราบิลิส

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาอาการติดเชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้อสายพันธุ์เพบโทเสตร็ปโทโคคัส เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซาเชื้อโปรเตียส มิราบิลิสและเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์เสตร็ปโทโคคัส เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา เชื้อสายพันธุ์แบคเทอร์รอยดีส เชื้อแอนแอโรบิค คอคไค เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส และเชื้อสายพันธุ์คลอสทริเดียม

คำแนะนำจากสมาคมเพื่อการฟอกไตทางช่องท้องระหว่างประเทศ (ISPD)

การฟอกไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

-ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก./ลิตร ให้ยาทางช่องท้องหนึ่งครั้ง

-ขนาดยาประคับประคองการรักษา : 250 มก./ลิตร ให้ยาทางช่องท้อง

การฟอกไตทางช่องท้องแบบเป็นระยะ : 30 มก./กก. ให้ยาทางช่องท้อง วันละครั้ง

-ระยะเวลาการรักษา : 2 สัปดาห์

คำแนะนำ

-ผู้ป่วยที่รับการฟอกไตอย่างต่อเนื่อง ควรปล่อยให้ขนาดยาเริ่มต้นอยู่ในช่องท้อง (Dwell time)เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง

-ผู้ป่วยที่รับการฟอกไตแบบเป็นระยะ ควรได้รับยาวันละครั้งโดยปล่อยให้ยาอยู่ในช่องท้องเป็นระยะเวลานาน

การใช้ยา : เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดจากเชื้ออีโคไล หรือเชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคปอดบวม (Pneumonia)

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส และเชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน ต่ำกว่า 10 ราย

-การใช้ยา : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง (รวมถึงปอดบวม) ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย/เชื้อดิโพค็อกคัสนิวโมเนีย (Diplococcus pneumoniae) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (เชื้อสเตรปโทคอกไค กลุ่มเอ) เชื้อสเตรปโทคอกไคอื่นๆ (ยกเว้นเอนเทอโรคอกไค) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนสและไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนส เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (รวมทั้งเชื้อที่ต้านทานต่อแอมพิซิลิน) เชื้อฮีโมฟิลัส พาราอินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus parainfluenzae) เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ และเชื้อโปรเตียสที่ให้ผลการทดสอบอินโดลเป็นบวก (indole positive Proteus) และเชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH)

เด็ก : 40-50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละ 4 ครั้ง หรือ 50-65 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละ 3 ครั้ง

-ขนาดยาสูงสุด : 8-10 กรัม/วัน

การใช้งาน: เพื่อรักษาการโรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี หรือ เชื้อซูโดโมนาส แอรูจิโนซาในผุ้ป่วยที่สัมผัสหรือมีเชื้อเอชไอวี

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก (PIDS) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

อายุมากกว่า 3 เดือน : 150 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้ยา:

-เหมาะกับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่เกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี ชนิดเอ ถึง เอฟ หรือที่ไม่สามารถระบุชนิดได้

-ทางเลือกในการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย โดยร่วมกับยาเพนนิซิลลิน ที่มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ที่ 2 ไมโครกรัม/มล หรือน้อยกว่านั้น

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหรือเนื้อเยื่ออ่อน

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก.ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสายพันธุ์อะซิเนโตทแบคเตอร์ เชื้อซี ฟรอนได เชื้อพี วัลการิส เชื้อพี เรทเจอริ และเชื้อเพปโทสเตรปโทคอกคัส ต่ำกว่า 10 ราย

การใช้งาน : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส/ไม่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลลิเนส (Penicillinase/non-penicillinase producing S aureus) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส อีพิเดอมิดิส (Staphylococcus epidermidis) เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (เชื้อสเตรปโทคอกไคกลุ่มเอ) เชื่อสเตรปโทคอกไคอื่นๆ เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรคอกคัส เชื้อสายพันธุ์เอซิเนโตแบคเตอร์ เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์ซิโตรแบคเตอร์ เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อโปรเตียส มิราบิลิส เชื้อโปรเตียส วัลการิส เชื้อมอร์กาเนลล่า มอร์กาไน (Morganella morganii) เชื้อโพรวิเดนเซีย เรตเจอริ เชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส เชื้อเซอร์ราเทีย มาร์เซสเซน เชื้อสายพันธุ์แบคเทอรอยดิส และเชื้อแอนแอโรบิคคอคไค

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

เด็ก : 50 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง ร่วมกับยาเมโทรนิดาโซลหรือยาคลินดามัยซิน

การใช้งาน : เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อที่ผิวหนัง พังผืด และการติดเชื้อที่กล้ามเนื้อที่เกิดมาจากเชื้อหลายชนิด

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

อายุ 0-1 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 1-4 สัปดาห์ : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือน ถึง 12 ปี

น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. : 50-180 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ แบ่งฉีด 4-6 ครั้ง ในขนาดเท่าๆ กัน

50 กก. ขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

12 ปีขึ้นไป

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง : 1-2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ต้องการขนาดยาสูง : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

การติดเชื้อระดับถึงแก่ชีวิต : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน

คำแนะนำ

-ควรใช้ขนาดยาที่สูงกว่าเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า

-มีการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อพี วัลแกริส (P vulgaris) เชื้อเอ็ม มอร์แกนี (M morganii) และเชื้อพี เรทเกอริ (P rettgeri) น้อยกว่า 10 ราย

การใช้งาน : สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้อเอส เอพิเดอมิดิส (S epidermidis) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสชนิดที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิเนสและไม่ผลิตเพนนิซิลิเนส เชื้อสายพันธุ์ไซโทรแบคเตอร์ (Citrobacter) เชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรแบคเตอร์ เชื้ออีโคไล เชื้อสายพันธุ์เคลบซิลลา เชื้อโปรเตียสมิราบิลิส เชื้อพีวัลแกริส เชื้อพีสเติร์ทที (P stuartii) เชื้อเอ็มมอร์แกนี เชื้อพีเรทเกอริ เชื้อเอสมาร์เซสเซน และเชื้อสายพันธุ์ซูโดโมนาส

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อการป้องกันระหว่างผ่าตัด

คำแนะนำจากองค์กรเภสัชแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมการติดเชื้อจากการผ่าตัด และสมาคมการระบาดวิทยาด้านสุขภาพแห่งอเมริกา

ผู้ป่วยเด็ก : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง ร่วมกับยาแอมพิซิลลิน

-ขนาดยาสูงสุด: 1 กรัม/ครั้ง

คำแนะนำ : ระยะห่างในการให้ยาซ้ำที่แนะนำคือ 3 ชั่วโมง

การใช้ยางาน : เป็นยาต้านจุลชีพระหว่างการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่จะทำการปลูกถ่ายตับ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ชนิดไม่ซับซ้อน

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งอเมริกา

วัยรุ่น

การติดเชื้อระบบถ่ายปัสสาวะ-สืบพันธุ์ (Urogenital) และลำไส้ตรง-ทวารหนัก (anorectal) : 500 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หนึ่งครั้ง

การใช้งาน : เป็นทางเลือกในการรักษาการติดเชื้อหนองในที่ไม่ซับซ้อน ที่บริเวณปากมดลูก ท่อปัสสาวะ และลำไส้ตรง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ระยะแพร่กระจาย

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งอเมริกา

ทารกแรกเกิด : 25 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

-การติดเชื้อหนองในแบบแพร่กระจาย : 7 วัน

-การติดเชื้อหนองในแบบแพร่กระจายพร้อมกับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ : 10-14 วัน

วัยรุ่น : 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมง

คำแนะนำ

-ควรมีการตรวจและรักษาผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใน 60 วัน

-ควรมีความระมัดระวังในการรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลือง (hyperbilirubinemia)

การใช้งาน

-เพื่อรักษาการติดเชื้อหนองในแบบแพร่กระจายและหนองในที่หนังศีรษะ (gonococcal scalp abscesses)

-ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาข้ออักเสบและกลุ่มอาการข้ออักเสบและผิวหนังอักเสบที่เกิดจากเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลายม์ – ระบบประสาท

คำแนะนำจากสภาโรคทางระบบประสาทแห่งสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

ผู้ป่วยเด็ก : 150-200 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 3-4 ครั้ง

-ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

-ระยะเวลาการรักษา : 14-28 วัน

การใช้งาน : เพื่อรักษาโรคลายม์ที่ระบบประสาท

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

เด็ก : 100-200 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ชั่วโมง

การใช้งาน : เพื่อรักษาโรคไซนัสและจมูกอักเสบเฉียบพลันที่รุนแรงจากเชื้อแบคทีเรีย ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อจมูกอักเสบ (Rhinitis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

เด็ก : 100-200 มก./กก. ต่อวัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ชั่วโมง

การใช้งาน : เพื่อรักษาโรคไซนัสและจมูกอักเสบเฉียบพลันที่รุนแรงจากเชื้อแบคทีเรียที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยา มีดังนี้

  • ยาผงสำหรับฉีด
  • สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cefotaxime SODIUM Vial. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8748/cefotaxime-injection/details. Accessed January 12, 2018.

Cefotaxime Dosage. https://www.drugs.com/dosage/cefotaxime.html. Accessed January 12, 2018.

Cefotaxime Injection. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682765.html. Accessed September 26, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้หรือไม่?

แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) มีส่วนช่วยป้องกัน โรคระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา