backup og meta

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone)

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone)

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงประเภทหนึ่งหรือโพรเจสติน (progestin) ยานี้คล้ายคลึงกับโพรเจสเทอโรน (progesterone) ที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และใช้เพื่อทดแทนฮอร์โมนหากร่างกายผลิตได้ไม่เพียงพอ

[embed-health-tool-ovulation]

ข้อบ่งใช้

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน ใช้สำหรับ

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงประเภทหนึ่งหรือโพรเจสติน (progestin) ยานี้คล้ายคลึงกับโพรเจสเทอโรน (progesterone) ที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และใช้เพื่อทดแทนฮอร์โมนหากร่างกายผลิตได้ไม่เพียงพอ

ยานี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และไม่ได้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ยานี้จะช่วยรักษาอาการมีเลือดออกผิดปกติทางมดลูก และเพื่อฟื้นฟูรอบเดือนให้กลับมาเป็นปกติ สำหรับผู้หญิงที่มีอาการขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนผสม คู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อลดอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนจะถูกเพิ่มเข้าไปในการบำบัดทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งมดลูก

ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

วิธีการใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์สั่ง ตามตารางการใช้ยาอย่างเคร่งครัด สอบถามแพทย์หากมีข้อสงสัยอะไร ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับอาการและการตอบสนองต่อการรักษา

สำหรับการใช้ในการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนผสมคู่กับเอสโตรเจน โดยทั่วไปจะรับประทานยานี้วันละครั้ง ตามจำนวนวันที่กำหนดในแต่ละเดือน

สำหรับการรักษาอาการขาดประจำเดือน และเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ โดยปกติจะรับประทานยานี้วันละครั้ง เป็นเวลา 5-10 วัน ในช่วงครึ่งหลังของรอบการมีประจำเดือนตามปกติ การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยามักจะเกิดขึ้นหลังจาก 3-7 วันหลังจากหยุดใช้ยา

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

ก่อนใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน แจ้งให้แพทย์ทราบหากแพ้ยานี้ หรือมีอาการแพ้อื่นๆ ยานี้บางยี่ห้อในแคนาดาอาจมีส่วนประกอบผสมที่ไม่ได้มีฤทธิ์ในการรักษา เช่น ถั่วเหลือง สามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ บางคนที่แพ้ถั่วลิสงก็อาจจะแพ้ถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ไม่ควรใช้ยานี้หากมีสภาวะโรคบางอย่าง ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรหากมีประวัติสุขภาพดังนี้คือ เคยเกิดลิ่มเลือด มีเลือดออกในสมอง โรคตับ มะเร็งเต้านม หรือที่อวัยวะอื่นๆ ของผู้หญิง มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ แท้งบุตร มีโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (ภายใน 1 ปี)

ก่อนใช้ยานี้ ควรแจ้งประวัติทางการแพทย์ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัว โดยเฉพาะการตรวจพบก้อนเนื้อผิดปกติในเต้านมและมะเร็ง

  • โรคไต
  • โรคอ้วน
  • โรคหัวใจ เช่น เคยมีอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจวาย
  • ความดันโลหิตสูง
  • ชัก
  • ปวดหัวไมเกรน
  • หอบหืด
  • ระดับคอเลสเตอรอล/ไขมันในเลือดสูง
  • โรคซึมเศร้า
  • เบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง

ยานี้อาจทำให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึม หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และกัญชา เพราะจะยิ่งทำให้มึนงง และง่วงซึมรุนแรงยิ่งขึ้น ห้ามขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปรึกษากับแพทย์หากกำลังใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค

แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการผ่าตัด หรือต้องนั่งเก้าอี้/เตียงเป็นเวลานาน เช่น ขึ้นเที่ยวบินที่ยาวนาน อาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยานี้สักพัก หรือใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นลิ่มเลือด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามแพทย์

ห้ามสูบบุหรี่ เพราะหากบุหรี่ที่ผสมกับยาตัวนี้จะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น ในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เกิดลิ่มเลือด ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือดฉับพลัน

ยาตัวนี้อาจทำให้เป็นบริเวณใบหน้าและผิวเป็นด่างดวงสีเข้มหรือฝ้า แสงแดดอาจจะยิ่งทำให้อาการนี้เป็นหนักขึ้น ควรจำกัดเวลาการเผชิญกับแสงแดด หลีกเลี่ยงการอาบแดด ใช้ครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเวลาอยู่นอกบ้าน

ห้ามใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากสามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านน้ำนมแม่ได้ โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

อาจเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด กดเจ็บที่หน้าอก ปวดหัว สารคัดหลั่งจากช่องคลอดเปลี่ยนสี อารมณ์แปรปรวน มองเห็นไม่ชัด มึนงง ง่วงซึม หรือน้ำหนักเพิ่ม/ลด หากอาการเหล่านี้ไม่ยอมหายไป หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้ใช้ยาตัวนี้ เนื่องพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

โปรดแจ้งแพทย์ทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • เลือดออกที่ช่องคลอดอย่างผิดปกติ เป็นจุดหรือเลือดออกกะปริดกะปรอย
  • จิตใจและอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เสียความทรงจำ
  • มีอาการบวมที่มือและขา
  • ปัสสาวะบ่อย รู้สึกแสบร้อน เจ็บปวด
  • มีก้อนในเต้านม
  • มีจุดสีคล้ำที่ผิวหรือใบหน้า
  • ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง
  • รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างผิดปกติ

นานๆ ครั้งจะพบว่า ยานี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือดที่รุนแรง จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ เช่น

  • หัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • สโตรก
  • ลิ่มเลือดในปอดหรือขา
  • ตาบอด

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • ปวดที่หน้าอก กราม แขนข้างซ้าย
  • รู้สึกอ่อนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงฉับพลัน มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น ตาปูด
  • สับสน
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงฉับพลัน
  • มึนงงอย่างรุนแรง
  • หมดสติ
  • หายใจติดขัด
  • ไอเป็นเลือด
  • มีอาการปวด
  • อ่อนแรงที่บริเวณแขนและขา
  • มีอาการปวดและบวมที่น่อง
  • รู้สึกอุ่นเมื่อสัมผัส

บางครั้งอาจมีอาการแพ้ยานี้ที่รุนแรง แต่ส่วนใหญ่นั้นหาได้ยาก แต่ควรรับการรักษาในทันทีหากสังเกตเห็นอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น คันและบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น ลำคอ รู้สึกมึนงงอย่างรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบางตัวที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • อะมิโนกลูเทติมายด์ (aminoglutethimide)
  • ยาที่ส่งผลกระทบต่อเอ็นไซม์ในตับที่กำจัดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนออกจากร่างกาย เช่น ยาไรแฟมพิน (rifampin) เซนต์จอห์นเวิร์ต
  • ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (azole antifungals)
  • ไอทราโคนาโซล (itraconazole)
  • ยาต้านชักบางชนิด เช่น คาร์บามาเซพีน (carbamazepine) ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) เฟนิโทอิน (phenytoin)

ยานี้สามารถส่งผลกระทบต่อการตรวจภายในห้องแล็บบางอย่างได้ อย่าลืมแจ้งผู้ปฏิบัติการในห้องแล็บและแพทย์ ให้ทุกคนทราบว่า กำลังใช้ยาตัวนี้

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

104 มก. ฉีดใต้ผิวหนังทุก ๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์)

ระยะเวลาในการรักษา ไม่ควรเกิน 2 ปี

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ และมีประจำเดือนตามปกติ การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ หรืออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังการคลอด หากผู้ป่วยนั้นให้นมบุตร
  • หากระยะระหว่างการฉีดยาแต่ละครั้งมากกว่า 14 สัปดาห์ ควรตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ก่อนให้ยานี้
  • ควรพิจารณาผลกระทบระยะยาวของการฉีดยาใต้ผิวหนังต่อความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • หากอาการกลับมาหลังจากหยุดใช้ยา ควรมีการประเมินผลความหนาแน่นของมวลกระดูก ก่อนการรักษาอีกครั้ง

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial hyperplasia)

ยาเม็ดรับประทาน

5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 12 ถึง 14 วันติดต่อในแต่ละเดือน สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน (Conjugated estrogens) 0.625 มก. ต่อวัน เริ่มให้ยาในวันแรกของรอบการมีประจำเดือน หรือวันที่ 16 ของการมีประจำเดือน

คำแนะนำ

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีมดลูก และรับประทานเอสโตรเจน ควรจะเริ่มต้นบำบัดด้วยฮอร์โมนโพรเจสทิน (progestin therapy) ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก
  • การใช้เอสโตรเจนเดี่ยวๆ หรือใช้คู่กับโพรเจสติน ควรใช้ด้วยขนาดยาที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ และใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ขนาดยาเริ่มต้นควรเป็นขนาดยาที่ต่ำที่สุด
  • แนะนำว่าควรมีการประเมินซ้ำเป็นครั้งคราว (ระยะห่างประมาณ 3 ถึง 6 เดือน) เพื่อตรวจหาว่าการรักษานั้นยังจำเป็นหรือไม่
  • สำหรับผู้หญิงที่มีมดลูก ควรมีการสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก (Endometrial Sampling) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้อร้าย ในกรณีที่มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดที่ผิดปกติบ่อยครั้ง หรือกลับมาเป็นซ้ำ

การใช้งาน เพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้ผ่าตัดมดลูก (non-hysterectomy) ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน 0.625 มก. ต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการคุมกำเนิด (Contraception)

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

150 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (13 สัปดาห์) ที่กล้ามเนื้อกลูเตียล (gluteal) หรือเดลทอยด์ (deltoid)

ฉีดใต้ผิวหนัง

104 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์) เข้าไปในต้นขาหรือหน้าท้อง

การฉีดครั้งแรก

  • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์ขณะที่ฉีดยาครั้งแรก
  • การฉีดยาครั้งแรกควรให้แค่ในช่วง 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ ภายใน 5 วันหลังคลอดถ้าหากไม่ได้ให้นมบุตร และสัปดาห์ที่ 6 หลังการคลอดหากให้นมบุตร

การสับเปลี่ยนมาจากวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดยาครั้งแรกควรให้ในวันถัดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงานครั้งสุดท้าย หรืออย่างน้อยในวันหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดในระยะพัก
  • การฉีดยาใต้ผิวหนัง การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 7 วัน หลังจากวันสุดท้ายที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงาน หรือหลังจากถอดแผ่นหรือห่วงคุมกำเนิดออก ในแบบเดียวกัน จะรักษาการครอบคลุมของการคุมกำเนิดไว้ได้ เมื่อเปลี่ยนจากการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อขนาด 150 มก. ควรให้ยาครั้งต่อไปภายในขนาดยาที่กำหนด สำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

คำแนะนำ

  • หากระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้งนั้นมากกว่า 13 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนการใช้ยานี้
  • ประสิทธิภาพของยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ขึ้นอยู่กับการให้ยาตามตารางอย่างเคร่งครัด
  • ควรพิจารณาความเสี่ยง/ประโยชน์ของการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก ในผู้หญิงทุกช่วงวัยและผลกระทบต่อค่ามวลกระดูกสูงสุดในวัยรุ่น ควบคู่ไปกับการประเมินผลการลดลงของความหนาแน่นของมวลกระดูกที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และ/หรือให้นมบุตร ขณะที่ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในระยะยาว

วิธีการใช้ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีโอกาสจะตั้งครรภ์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

  • 5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 หรือ 21 ของรอบการมีประจำเดือน
  • ขนาดยาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสูงสุดต่อสารคัดหลั่งของเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีการเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนภายในร่างกาย (endogenous) หรือสังเคราะห์จากภายนอก (exogenous) 10 มก. ต่อวันเป็นเวลา 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ของรอบการมีประจำเดือน

คำแนะนำ

  • การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยา มักจะเกิดขึ้นภายใน 3 ถึง 7 วัน หลังจากการหยุดรับประทานยาเม็ด
  • ผู้ป่วยที่เคยมีการเกิดซ้ำของเลือดออกจากมดลูกแบบผิดปกติ อาจได้รับประโยชน์จากการวางแผนรอบการมีประจำเดือนด้วยยาเม็ดแบบรับประทาน

การใช้งาน อาการเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ เนื่องจากระดับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือมะเร็งมดลูก

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

  • 5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน
  • ขนาดยาสำหรับการเหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งของเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีการเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนภายในร่างกาย (endogenous) หรือที่สังเคราะห์จากภายนอก (exogenous): 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 10 วัน

คำแนะนำ

  • สามารถเริ่มการรักษาเมื่อไหร่ก็ได้
  • การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยา มักจะเกิดขึ้นภายใน 3 ถึง 7 วัน หลังจากการหยุดรับประทานยาเม็ด

การใช้งาน เพื่อรักษาการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (secondary amenorrhea) เนื่องจากระดับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือมะเร็งมดลูก

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งในเซลล์ตับ (Renal Cell Carcinoma)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 400 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ ลดขนาดยาลงมาที่ 400 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละครั้ง เพื่อรักษาระดับของการพัฒนา

คำแนะนำ

  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในการบำบัดเบื้องต้น
  • ไม่สามารถตัดความรู้สึกไวที่มากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุได้
  • ความถี่ในการให้ยาอาจลดลงหากมีการพัฒนาหรือการคงตัวเกิดขึ้น โดยปกติมักจะภายในไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงเดือน

การใช้งาน ใช้เป็นการรักษาเสริม และการรักษาบรรเทา ในกรณีผ่าตัดไม่ได้ ทั้งเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายไปที่อื่น (metastatic endometrial) หรือมะเร็งตับ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Carcinoma)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 400 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: ลดขนาดยาลงมาที่ 400 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละครั้งเพื่อรักษาระดับของการพัฒนา

คำแนะนำ

  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในการบำบัดเบื้องต้น
  • ไม่สามารถตัดความรู้สึกไวที่มากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุได้
  • ความถี่ในการให้ยาอาจลดลงหากมีการพัฒนาหรือการคงตัวเกิดขึ้น โดยปกติมักจะภายในไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงเดือน

การใช้งาน ใช้เป็นการรักษาเสริม และการรักษาบรรเทา ในกรณีผ่าตัดไม่ได้ รวมทั้งเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายไปที่อื่น (metastatic endometrial) หรือมะเร็งตับ

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการตับบกพร่องหรือเป็นโรคตับ

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้

การฉีดยา

  • เขย่ายาให้ดีก่อนใช้เพื่อสร้างรูบแบบยาแขวนตะกอนที่เหมือนกัน
  • เปลี่ยนบริเวณฉีดยาทุกครั้ง
  • ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาสำหรับน้ำหนักตัว
  • อย่าใช้เป็นการคุมกำเนิดในระยะยาว (นานกว่า 2 ปี) นอกจากว่าวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นนั้นจะไม่เพียงพอ
  • เพื่อหลักเลี่ยงการฉีดยาใต้ผิวหนังโดยไม่ตั้งใจ ควรมีการประเมินโครงสร้างร่างกายก่อนการฉีดยาในแต่ละครั้งเพื่อหาว่าจำเป็นต้องใช้เข็มที่ยาวกว่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะการฉีดเข้ากล้ามเนื้อกลูเตียล
  • แนะนำให้ใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพและรักษาในระยะเวลาที่สั้นที่สุด

ทั่วไป

  • ควรมีประวัติทางการแพทย์ที่สมบูรณ์ทั้งของบุคคลและในครอบครัว ก่อนเริ่มต้นใช้ยาหรือกลับมาใช้ยานี้อีกครั้ง
  • ควรมีการตรวจประวัติและตรวจร่างกายประจำปี เช่น ความดันโลหิต อวัยวะเกี่ยวกับเต้านม ท้อง และกระดูกเชิงกราน รวมทั้งเซลล์วิทยาปากมดลูก (cervical cytology) และการตรวจสอบในห้องแล็บที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่ใช้ยานี้

การเฝ้าสังเกต

  • กล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal) ความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular) ความดันโลหิต
  • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate metabolism) เฝ้าสังเกตผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างใกล้ชิด

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรรายงานการได้รับยานี้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนควรไปหาแพทย์ปีละครั้ง เพื่อทำการตรวจความดันโลหิตและการดูแลสุขภาพอื่นๆ
  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อนั้น ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้
  • ในช่วงเริ่มต้นของการรักษา รอบการมีประจำเดือนการถูกรบกวนทำให้เกิดอาการเลือดออก หรือเลือดกระปริดกระปรอยผิดปกติและไม่สามารถคาดเดาได้ และมักจะลดลงหลังจากดำเนินการรักษาไปอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้วิธีการคุมกำเนิดสำรอง หรืออีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อมีการใช้ตัวเหนี่ยวนำเอ็นไซม์ (enzyme inducers) คู่กับยานี้

ขนาดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อการคุมกำเนิด (Contraception)

สำหรับเด็กหลังเริ่มมีประจำเดือนและวัยรุ่น

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • 150 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (13 สัปดาห์) ที่กล้ามเนื้อกลูเตียล (gluteal) หรือเดลทอยด์ (deltoid)

ฉีดใต้ผิวหนัง

  • 104 มก. ทุกๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์) เข้าไปในต้นขาหรือหน้าท้อง

การฉีดครั้งแรก

  • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์ขณะที่ฉีดยาครั้งแรก
  • การฉีดยาครั้งแรกควรให้แค่ในช่วง 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ ภายใน 5 วันหลังคลอด ถ้าหากไม่ได้ให้นมบุตร และสัปดาห์ที่ 6 หลังการคลอดหากให้นมบุตร

การสับเปลี่ยนมาจากวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ: การฉีดยาครั้งแรกควรให้ในวันถัดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงานครั้งสุดท้าย หรืออย่างน้อยในวันหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดในระยะพัก
  • การฉีดยาใต้ผิวหนัง: การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 7 วันหลังจากวันสุดท้าย ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงาน หรือหลังจากถอดแผ่นหรือห่วงคุมกำเนิดออก ในทางที่คล้ายคลึงกัน จะรักษาความคลอบคลุมการคุมกำเนิดเมื่อสับเปลี่ยนจากการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อขนาด 150 มก. ควรให้ยาครั้งต่อไปภายในขนาดยาที่กำหนดสำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

คำแนะนำ

  • หากระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้งนั้นมากกว่า 13 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนจะให้ยานี้
  • ประสิทธิภาพของยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ขึ้นอยู่กับการให้ยาตามตารางอย่างเคร่งครัด
  • ควรพิจารณาความเสี่ยง/ประโยชน์ของการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้หญิงทุกช่วงวัย และผลกระทบต่อค่ามวลกระดูกสูงสุดในวัยรุ่น ควบคู่ไปกับการประเมินผลการลดลงของความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และ/หรือ ให้นมบุตร ขณะที่ฉีดยาในระยะยาว

การใช้งาน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีโอกาสจะตั้งครรภ์

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดกล้ามเนื้อ
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดใต้ผิวหนัง
  • ยาผงสำหรับผสม

กรณีลืมใช้ยา

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Medroxyprogesterone Dosage. https://www.drugs.com/dosage/medroxyprogesterone.html. Accessed June 27, 2023.

Medroxyprogesterone (Oral Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/medroxyprogesterone-oral-route/side-effects/drg-20146771?p=1. Accessed June 27, 2023.

Medroxyprogesterone. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682470.html. Accessed June 27, 2023.

Medroxyprogesterone tablets. https://www.nhs.uk/medicines/medroxyprogesterone-tablets/. Accessed June 27, 2023.

Medroxyprogesterone ACETATE. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8674/medroxyprogesterone-oral/details. Accessed June 27, 2023.

Medroxyprogesterone. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682470.html. Accessed June 27, 2023.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาฮอร์โมนเพศหญิง มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร

ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากสาเหตุใด และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 3 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา