backup og meta

คุมกำเนิด วิธีการและการเลือกคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    คุมกำเนิด วิธีการและการเลือกคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม

    วิธี คุมกำเนิด แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด และวิธีคุมกำเนิดแบบถาวร อย่างการทำหมันชายและหญิง อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ชนิด ประโยชน์ และผลข้างเคียงของวิธีคุมกำเนิดแต่ละชนิด อาจช่วยให้เลือกวิธีคุมกำเนิดได้อย่างเหมาะสม และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

    วิธี คุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

    วิธีคุมกำเนิด แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

    1. การคุมกำเนิดชั่วคราว เช่น

  • การฝังยาคุมกำเนิด
  • การฉีดยาคุมกำเนิด
  • การใช้ห่วงอนามัย ทั้งแบบทองแดงและแบบฮอร์โมน
  • การรับประทานยาคุมฉุกเฉิน
  • การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
  • การใส่วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด (Vaginal ring)
  • การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง ไดอะแฟรมหรือแผ่นครอบปากมดลูก
  • วิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ เช่น การนับวันไข่ตก การนับประจำเดือน
  • 2. การคุมกำเนิดถาวร ได้แก่

    • การทำหมันชาย
    • การทำหมันหญิง

    การคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะไปหยุดยั้งการตกไข่ และทำให้ของเหลวหรือมูกที่บริเวณปากมดลูกเหนียวข้นและหนาขึ้น เป็นการปิดกั้นไม่ให้อสุจิผ่านเข้าไปได้

    คุมกำเนิด ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

    การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธี ทั้งรูปแบบการทำงาน ประโยชน์ ผลข้างเคียง ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ความยากง่ายในการใช้งาน ค่าใช้จ่าย เป็นต้น ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงการพูดคุยตกลงกับคู่รักหรือคู่นอน และการปรึกษาคุณหมอ อาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีคุมกำเนิดได้เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อม เช่น ภาวะสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ รูปแบบความสัมพันธ์ และเหมาะสมกับความต้องการที่สุด

    ยกตัวอย่าง การรับประทานยาคุมกำเนิด จะต้องรับประทานยาทุกวัน ส่วนการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝัง หรือการฝังยาคุมกำเนิด (Implant) อาจมีประสิทธิภาพมากกว่ายาคุมกำเนิดแบบรับประทานหรือห่วงคุมกำเนิด ทำครั้งเดียวสามารถอยู่ได้นาน 3 ปี หรือหากเป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีด ส่วนใหญ่อาจต้องฉีดทุก 12-14 สัปดาห์ ทั้งนี้ การคุมกำเนิดอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น แต่อาจขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิด ชนิดของฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด และปริมาณฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดด้วย อีกทั้งวิธีคุมกำเนิดต่าง ๆ อาจไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

    นอกจากนี้ การคุมกำเนิดบางวิธี เช่น การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางอย่างแผ่นยางอนามัยที่ใช้คลุมอวัยวะเพศหญิงและทวารหนัก ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก ถุงยางอนามัยทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ที่ใช้ได้ทั้งตอนมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร เพื่อให้ทราบวิธีคุมกำเนิดแต่ละประเภทและการใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา