backup og meta

เมโทโพรลอล (Metoprolol)

ข้อบ่งใช้

ยา เมโทโพรลอล ใช้สำหรับ

ยา เมโทโพรลอล (Metoprolol) เป็นยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (beta-blocker) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเค้นหน้าอก (angina) หัวใจล้มเหลว และระดับความดันโลหิตสูง การลดระดับความดันโลหิตที่เพิ่มสูงนั้นจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต

ยานี้ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของสารตามธรรมชาติบางชนิด เช่น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือเอพิเนฟรีน (epinephrine) ภายในหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และแรงตึงเครียดที่หัวใจลดลง

ในส่วนนี้จะมีการใช้งานของยา ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงบนฉลากยา แต่อาจได้รับสั่งยาจากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณ หากคุณได้รับสั่งยานี้ ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังกับสภาวะที่อยู่ในรายชื่อดังต่อไปนี้เท่านั้น

ยาเมโทโพรลอลอาจใช้เพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน และใช้หลังจากอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต

วิธีการใช้ยา เมโทโพรลอล

รับประทานยาเมโทโพรลอล พร้อมกับหรือทันทีหลังจากมื้ออาหาร ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วคือวันละครั้ง ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

อย่าเคี้ยว หรือบดยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน เพราะอาจทำให้ยาออกฤทธิ์มาในคราวเดียว และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง นอกจากนี้ยังไม่ควรแบ่งยาเม็ด เว้นแต่ว่าจะมีเส้นแบ่งมาให้ และแพทย์หรือเภสัชกรสั่งให้แบ่งยา ควรกลืนยาทั้งเม็ดหรือยาที่แบ่งแล้ว โดยไม่ต้องบดหรือเคี้ยวยา

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยาเมโทโพรลอลในขนาดที่ต่ำแล้วค่อยๆ  เพิ่มขนาดยาขึ้น ควรทำตามแนวทางการใช้ยาของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ควรใช้ยานี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน อย่าหยุดใช้ยานี้โดยไม่ปรึกษากับแพทย์ อาการของคุณอาจจะแย่ลง หากหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน

สำหรับการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ กว่าจะได้รับประโยชน์จากยาเต็มที่ ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะรู้สึกเป็นปกติ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้สึกป่วยใดๆ

เพื่อป้องกันอาการปวดหน้าอก อาการหัวใจขาดเลือดฉับพลันครั้งที่สอง หรืออาการปวดหัวไมเกรน ควรรับประทานยาเมโทโพรลอลเป็นประจำตามที่กำหนด ยานี้ไม่ควรใช้รักษาอาการปวดเค้นหน้าอก และปวดหัวไมเกรน ขณะที่มีอาการ

ควรใช้ยาอื่นเพื่อบรรเทาอาการตามที่แพทย์กำหนด เช่น ยาไนโตรกลีเซอริน (nitroglycerin) อมใต้ลิ้นสำหรับอาการปวดหน้าอก ยากลุ่มทริปแทน (triptan) เช่น ซูมาทริปแทน (sumatriptan) สำหรับอาการปวดหัวไมเกรน โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น เช่น ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่หรือเพิ่มขี้น หรือหากอาการปวดหน้าอก หรือปวดหัวไมเกรน เป็นบ่อยขึ้น

การเก็บรักษายา เมโทโพรลอล

ยาเมโทโพรลอลควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเมโทโพรลอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมโทโพรลอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมโทโพรลอล

ก่อนใช้ยาเมโทโพรลอล

  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการแพ้ต่อยาเมโทโพรลอล อะซีบูโทลอล (acebutolol) เช่น เซคทรัล (Sectral) อะทีโนลอล (atenolol) เช่น เทนอร์มิน (Tenormin) ในยาเทนอเรติก (Tenoretic) เบต้าโซลอล (betaxolol) เช่น เคอร์โลน (Kerlone) ไบโซโปรลอล (bisoprolol) เช่น เซเบต้า (Zebeta) ในซิแอค (Ziac) คาร์วีไดลอล (carvedilol) เช่น คอเรก (Coreg) เอสโมลอล (esmolol) เช่น เบรวิบล็อก (Brevibloc) ลาเบทาลอล (labetalol) เช่น ทรานเดต (Trandate) นาโดลอล (nadolol) เช่น คอร์การ์ด (Corgard) ในคอร์ไซด์ (Corzide) พินโดลอล (pindolol) โพรพราโนลอล (propranolol) เช่น อินเดรัล (Inderal) อินเดรัลแอลเอ (Inderal LA) อินโนแพรนเอ็กซ์แอล (Innopran XL) ในอินเดไรด์ (Inderide) โซทาลอล (sotalol) เช่น เบตาเพส (Betapace) เบตาเพสเอเอฟ (Betapace AF) โซรีน (Sorine) ทิโมดอล (timolol) เช่น โบลเคเดรน (Blocadren) ในทิโมไลด์ (Timolide) หรือยาอื่น ๆ หรือส่วนประกอบของยาเม็ดเมโทโพรลอล สอบถามเภสัชกรเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนประกอบยา
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ หรือมีแผนจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะ บูโพรพิออน (bupropion) อย่างเวลบูทริน (Wellbutrin) ไซเมทิดีน (cimetidine) ทากาเมท (Tagamet) โคลนิดีน (clonidine) อย่างคาทาเพรส (Catapres) ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) อย่างเบนาดริล (Benadryl) ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) อย่างโพรแซค (Prozac) หรือซาราเฟม (Sarafem) ไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) พาร็อกซีทีน (paroxetine) อย่างพาซิล (Paxil) โพรพาฟีโนน (propafenone) อย่างริธมอล (Rythmol) ควินิดีน (quinidine) อย่างควิทากลูท (Quinaglute) หรือควินิเดกซ์ (Quinidex) แรนิทิดีน (ranitidine) อย่างแซทแทค (Zantac) รีเซอร์พีน (reserpine) อย่างเซอร์พาลัน (Serpalan) หรือเซอร์พาซิล (Serpasil) หรือเซอร์พาแท็บ (Serpatab) ริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) เทอร์บินาฟีน (terbinafine) อย่างลามิลซิล (Lamisil) และไทโอริดาซีน (thioridazine) อย่างเมลาริล (Mellaril) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาของคุณ หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียง
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการหัวใจเต้นช้า หัวใจวาย ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด หรือฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่เกิดบนต่อมใกล้กับไตและอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แพทย์อาจไม่ให้คุณใช้ยาเมโทโพรลอล
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็น หรือเคยเป็นโรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่นๆ โรคหัวใจโรคตับ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาเมโทโพรลอล ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • หากคุณกำลังจะผ่าตัด รวมไปถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยาเมโทโพรลอล
  • ควรทราบว่ายาเมโทโพรลอลสามารถทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลกระทบกับคุณอย่างไร
  • จำไว้ว่า สุราสามารถเพิ่มอาการง่วงซึมที่เกิดจากยาเมโทโพรลอลได้
  • คุณควรทราบว่า หากคุณมีอาการแพ้ต่อสารต่างๆ อาการแพ้ของคุณอาจจะรุนแรงขึ้น ขณะที่กำลังใช้ยาเมโทโพรลอล และอาการแพ้นั้นอาจไม่ตอบสนองต่อยาฉีดเอพิเนฟรีน (epinephrine) ในขนาดยาปกติ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเมโทโพรลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมโทโพรลอล

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • ปวดหน้าอก หัวใจเต้นตัวหรือมีอาการสั่นกระพือในหน้าอก
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หมดสติ
  • รู้สึกหายใจไม่อิ่ม แม้จะออกกำลังกายแค่เล็กน้อย
  • บวมที่มือหรือเท้า
  • คลื่นไส้ ปวดกระเพาะส่วนบน คัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีเหมือนดินเหนียว ดีซ่าน (ผิวหรือดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • เกิดรอยช้ำได้ง่าย มีอาการเลือดออกผิดปกติ (ที่จมูก ช่องคลอด หรือทวารหนัก) มีจุดสีม่วงหรือสีแดงภายใตผิวหนัง
  • หายใจมีเสียงหวีด หายใจติดขัด
  • ซึมเศร้า สับสน มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ มองเห็นภาพหลอน
  • รู้สึกเย็นที่มือหรือเท้า

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเมโทโพรลอลอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่น ที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

  • พราโซซิน (Prazosin)
  • เทอร์บินาฟีน (Terbinafine)
  • ยาต้านซึมเศร้า – บูโพรพิออน (bupropion) โคลมิพรามีน (clomipramine) เดซิพรามีน (desipramine) ดูล็อกซีทีน (duloxetine) ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) ฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) พาร็อกซีทีน (paroxetine) เซอร์ทราลีน (sertraline)
  • ยาเออร์กอต (ergot medicine) – ไดไฮโดรเออร์โกตามีน (dihydroergotamine) เออร์โกโนวีน (ergonovine) เออร์โกตามีน (ergotamine) เมทิลเออร์โกโนวีน (methylergonovine)
  • ยาสำหรับโรคหัวใจหรือความดันโลหิต – แอมโลดิปีน (amlodipine) โคลนิดีน (clonidine) ไดจอกซิน (digoxin) ดิลไทอะเซม (diltiazem) ไดไพริดาโมล (dipyridamole) ไฮดราลาซีน (hydralazine) เมทิลโดปา (methyldopa) เมทิลโดปา (nifedipine) ควินิดีน (quinidine) รีเซอร์พีน (reserpine) เวอราปามิล (verapamil) และอื่นๆ
  • ยาต้านเศร้าใน กลุ่ม MAO inhibitor – ไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) ลีเนโซลิด (linezolid) ฟีเนลซีน (phenelzine) ราซาจิลีน (rasagiline) เซเลกิลีน (selegiline) ทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine)
  • ยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการป่วยทางจิต – คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) ฟลูเฟนาซีน (fluphenazine) ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) ไทโอริดาซีน (thioridazine)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมโทโพรลอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมโทโพรลอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • อาการปวดเค้นที่หน้าอก (Angina)
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • โรค Ischemic heart disease
  • โรคปอด (Lung disease) เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema)
  • โรคฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma) (เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต) ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่งลงได้
  • การไหลเวียนของเลือดมีปัญหาขั้นรุนแรง
  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia)
  • ภาวะช็อคจากหัวใจ (Cardiogenic shock)
  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกปิดกั้น (Heart block)
  • หัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง
  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disorders) อาการหลอดเลือดอุดตัน
  • กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick-sinus syndrome) ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอาการนี้
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) อาจปกปิดอาการบางอย่างของสภาวะนี้ เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว
  • โรคตับ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลของยาอาจเพิ่มขึ้นเพราะกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมโทโพรลอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina Pectoris)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 100 มก. แบ่งรับประทานเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 100 ถึง 450 มก./วัน
  • อาจใช้ออกฤทธิ์นานด้วยขนาดยาที่เท่ากันกับขนาดยาทั้งหมดที่ให้ในแต่ละวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 100 มก. แบ่งรับประทานเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 100 ถึง 450 มก./วัน
  • อาจใช้ออกฤทธิ์นานด้วยขนาดยาที่เท่ากันกับขนาดยาทั้งหมดที่ให้ในแต่ละวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษา Supraventricular Tachycardia

  • ขนาดยาเริ่มต้น 100 มก. แบ่งรับประทานเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 100 ถึง 450 มก./วัน
  • อาจใช้ออกฤทธิ์นานด้วยขนาดยาที่เท่ากันกับขนาดยาทั้งหมดที่ให้ในแต่ละวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina Pectoris)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 100 มก. แบ่งรับประทานเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 100 ถึง 400 มก./วัน
  • อาจใช้ออกฤทธิ์นานด้วยขนาดยาที่เท่ากันกับขนาดยาทั้งหมดที่ให้ในแต่ละวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Myocardial Infarction)

การรักษาช่วงแรก

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ฉีดยาเมโทโพรลอลยาขนาด 5 มก. เข้าทันที 3 ครั้ง โดยเว้นช่วงครั้งละ 2 นาที
  • รับประทาน ผู้ป่วยที่สามารถทนขนาดยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างเต็มที่ได้ (15 มก.) ควรเริ่มรับประทานยาเมโทโพรลอลที่ขนาด 50 มก.ทุกๆ 6 ชั่วโมง เริ่มให้ 15 นาทีหลังจากฉีดยาเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้ายและต่อเนื่องเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
  • ขนาดยาปกติ 100 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนขนาดยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างเต็มที่ได้ควรเริ่มรับประทานยาเมโทโพรลอลที่ขนาด 25 มก. หรือ 50 มก. ทุกๆ 6 ชั่วโมง เริ่มให้ 15 นาทีหลังจากฉีดยาเข้าหลอดเลือดครั้งสุดท้าย หรือทันทีที่สามารถทำได้

การรักษาช่วงหลัง

  • รับประทาน 100 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการรักษาในช่วงระยะแรกที่สงสัยหรือชัดเจนแล้วว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อการรักษาระยะแรกได้ และผู้ป่วยที่แพทย์ต้องการให้เริ่มเลื่อนการรักษาไปเนื่องจากเหตุผลใดก็ตามควรเริ่มรับประทานยาเมโทโพรลอลทันทีที่สามารถทำได้

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 25 มก. วันละครั้ง (ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มที่ 2 จากการจัดประเภทของสมาคมโรคหัวใจแห่งนิวยอร์ก (NYHA) และ 12.5 มก. วันละครั้ง (ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รุนแรงกว่า
  • ขนาดยาปกติ ควรเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 2 สัปดาห์จนได้ระดับของขนาดยาสูงสุดเท่าที่ทนได้ หรือมากถึง 200 มก.

ขนาดยาเมโทโพรลอลสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ออกฤทธิ์ทันที อายุ 1 ถึง 17 ปี
  • ขนาดยาเริ่มต้น 1 ถึง 2 มก./กก./วัน แบ่งให้ยา 2 ครั้ง ควรปรับขนาดยาตามการตอบสนองของผู้ป่วย
  • ขนาดยาสูงสุด 6 มก./กก./วัน (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./วัน)
  • ออกฤทธิ์นาน อายุ 6 ถึง 16 ปี
  • ขนาดยาเริ่มต้น 1 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง (ไม่เกิน 50 มก. วันละครั้ง) ขนาดยาน้อยสุดที่มีคือครึ่งหนึ่งของยาเม็ดขนาด 25 มก.
  • ขนาดยาปกติ ควรปรับขนาดยาตามการตอบสนองของความดันโลหิต ยังไม่มีการศึกษาที่สูงกว่า 2 มก./กก. (หรือมากกว่า 200 มก.) วันละครั้ง

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 25 มก. 50 มก. 100 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Metoprolol. https://www.drugs.com/metoprolol.html. Accessed June, 30, 2016.

Metoprolol. http://www.everydayhealth.com/drugs/metoprolol. Accessed June, 30, 2016.

Metoprolol. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/metoprolol-oral-route/description/drg-20071141. Accessed June, 30, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

เคล็ดลับการกำหนดอาหารสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา