backup og meta

โปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine)

ข้อบ่งใช้

ยา โปรคลอเปอราซีน ใช้สำหรับ

ยาโปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine) อยู่ในกลุ่มของยาฟีโนไทอาซีน ยานี้ใช้เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง จากสาเหตุบางอย่าง (เช่น หลังจากการผ่าตัดหรือการรักษาโรคมะเร็ง) (phenothiazines)

ยานี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือเด็กที่จะต้องได้รับการผ่าตัด

วิธีการใช้ยาโปรคลอเปอราซีนสำหรับเหน็บทหารหนัก

แกะยาออก และสอดยาเหน็บหนึ่งเม็ดเข้าทางทหารหนัก ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละ 2 ครั้ง นอนลงเป็นเวลาหลายนาทีหลังจากใช้ยานี้ และหลีกเลี่ยงการขับถ่ายอุจจาระ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้ยาได้รับการดูดซึม ยาเหน็บนั้นใช้สำหรับเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็กนั้น ขนาดยายังขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวอีกด้วย อย่าเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยานี้บ่อยกว่าที่กำหนด

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น

วิธีการใช้ยา โปรคลอเปอราซีน

ทำตามแนวทางการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยา แพทย์อาจจะเปลี่ยนขนาดยาของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลที่ดีที่สุด

หากคุณใช้ยาโปรคลอเปอราซีนในระยะยาว คุณควรจะรับการตรวจทางการแพทย์เป็นประจำ

หากคุณจำเป็นต้องการตรวจเอ็กซเรย์หรือทำซีทีแสกน (CT scan) ที่บริเวณแนวกระดูกสันหลังโดยฉีดสีย้อมเข้าไปในหลอดเลือดดำ คุณอาจจะต้องหยุดใช้ยาโปรคลอเปอราซีนชั่วคราว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าคุณกำลังใช้ยานี้

อย่าหยุดใช้ยาโปรคลอเปอราซีนอย่างกะทันหัน หลังจากที่ใช้ยาเป็นเวลานาน ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะมีอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ โปรดสอบถามแพทย์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงอาการถอนยาเมื่อคุณหยุดใช้ยาโปรคลอเปอราซีน

การเก็บรักษายา โปรคลอเปอราซีน

ยาโปรคลอเปอราซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโปรคลอเปอราซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโปรคลอเปอราซีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา โปรคลอเปอราซีน

สภาวะบางอย่างอาจจะมีปฏิกิริยากับยาโปรคลอเปอราซีน โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณมีสภาวะทางการแพทย์ใดๆ โดยเฉพาะ

  • หากคุณกำลังใช้ยาตามใบสั่งแพทย์หรือยาที่หาซื้อเอง สมุนไพร หรืออาหารเสริมใดๆ
  • หากคุณมีอาการแพ้ต่อยา อาหาร หรือสารอื่นๆ
  • หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง (เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเลือด ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง) ขณะที่กำลังใช้ฟีโนไทอาซีนอื่นๆ เช่น ยาไทโอไรดาซีน (thioridazine)
  • หากคุณมีเคยมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น อาการปวดเค้น (angina) ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve problems) ปัญหาเกี่ยวกับเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง (anemia) โรคเบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง (cirrhosis) ความดันโลหิตต่ำหรือสูง ปัญหาเกี่ยวกับไต กลุ่มอาการเอ็นเอ็มเอส (neuroleptic malignant syndrome) อาการยึกยือ (tardive dyskinesia) ปัญหาเกี่ยวกับมวลกระดูก เช่น จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ ต่อมลูกหมากโต อาการชัก ปัสสาวะติดขัด ปัญหาทางจิตใจหรืออารมณ์ เช่น ซึมเศร้า หรือเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma)
  • หากคุณเป็บโรคหอบหืด มีการติดเชื้อที่ปอด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดหรือการหายใจอื่นๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) หรือมีความดันภายในดวงตาเพิ่มขึ้นหรือเป็นโรคต้อหิน หรือหากคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน
  • หากคุณเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) สมองเสื่อม (dementia) โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) หรือกลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome)
  • หากคุณมีระดับของโพรแลคติน (prolactin) ภายในเลือดสูง หรือเคยเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมใต้สมอง หรือมะเร็งสมอง หรือหากคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม
  • หากคุณมีสุขภาพไม่ดี หรือต้องเจอกับความร้อนสูง หรือยาฆ่าแมลงบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสฟอรัส (organophosphorus insecticides)
  • หากคุณเคยใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด ดื่มสุรา หรือกำลังอยู่ในภาวะถอนพิษสุรา (alcohol withdrawal)
  • หากคุณกำลังจะเข้ารับหรือเพิ่งผ่านการทำมัยอีโลกราฟีย์ (myelogram) ซึ่งเป็นการเอ็กซเรย์ที่ไขสันหลัง
  • หากคุณกำลังใช้ยาที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติบางชนิด เช่น prolonged QT interval โปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณไม่แน่ใจว่า ยาของคุณนั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้หรือไม่

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร ยังไม่มีงานวิจัยในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะบ่งชี้ความเสี่ยงของการใช้ยาแพนครีเอติน (pancreatin) ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ นอกเสียจากคุณจะได้รับการวินิจฉัยว่า คุณมีปัญหากับตับอ่อน ที่ใช้ประโยชน์จากยาโปรคลอเปอราซีน เอสเซนเชียล (Prochlorperazine essential)

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาโปรคลอเปอราซีน และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้อกระตุก หรือมีการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ที่บริเวณดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า แขน หรือขา
  • สั่นเทา (อาการสั่นที่ไม่สามารถควบคุมได้) น้ำลายไหล กลืนลำบาก มีปัญหากับการทรงตัวหรือการเดิน
  • รู้สึกร้อนร้น กระวนกระวายใจ หรือกระสับกระส่าย
  • เป็นไข้สูง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง สับสน เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วหรือไม่เท่ากัน หายใจเร็ว
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • อาการชัก (ไม่รู้สึกตัวหรือชักกระตุก)
  • การมองเห็นในเวลากลางคืนลดลง การมองเห็นแคบลง น้ำตาไหล มีปฏิกิริยาไวต่อแสงมากขึ้น
  • คลื่นไส้และปวดท้อง ผื่นผิวหนัง และดีซ่าน (ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง)
  • ผิวซีด มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย เป็นไข้ เจ็บคอ มีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ข้อต่อมีอาการปวดหรือบวมพร้อมกับเป็นไข้ ต่อมบวม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก อาเจียน มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ และสีผิวไม่สม่ำเสมอ
  • หัวใจเต้นช้า ชีพจรอ่อนแรง หมดสติ หายใจช้า (อาจจะหยุดหายใจ)

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • วิงเวียน ง่วงซึม วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ มีความฝันประหลาด
  • ปากแห้ง คัดจมูก
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ท้องผูก
  • เต้านมบวมหรือมีสารคัดหลั่ง
  • ประจำเดือนขาด
  • น้ำหนักขึ้น มีอาการบวมที่มือหรือเท้า
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำเร็จความใคร่ได้ยาก
  • มีอาการคันหรือผื่นผิวหนังในระดับเบา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโปรคลอเปอราซีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาบางชนิดอาจจะมีปฏิกิริยากับยาโปรคลอเปอราซีน โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้

ยาตามใบสั่งแพทย์ และยาที่หาซื้อเองต่างๆ (เช่น ใช้เพื่อรักษาอาการแพ้ ปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือด โรคมะเร็ง การติดเชื้อ การอักเสบ อาการปวดเมื่อยและอาการปวด ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ปัญหาทางจิตใจหรืออารมณ์ คลื่นไส้หรืออาเจียน โรคพาร์กินสัน อาการชัก ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ กระเพาะปัสสาวะทำงานเกิน) ผลิตภัณฑ์วิตามินรวม และสมุนไพรหรืออาหารเสริม (เช่น ชาสมุนไพร โคเอ็นไซม์ คิวเท็น [coenzyme Q10] กระเทียม โสม แปะก๊วย สมุนไพรเซนต์จอห์น) อาจจะมีปฏิกิริยากับยาโปรคลอเปอราซีน โปรดสอบถามแพทย์ หากคุณไม่แน่ใจว่า ยาใดๆ ของคุณนั้นจะมีปฏิกิริยากับยาโปรคลอเปอราซีนหรือไม่

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโปรคลอเปอราซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ยาบางชนิดไม่ควรจะใช้ในเวลาเดียวกันกับการรับประทานอาหาร หรือการรับประทานอาหารบางชนิด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ร่วมกับการใช้ยาบางชนิด ก็อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เช่นกัน โปรดปรึกษากับแพทย์ เกี่ยวกับวิธีการใช้ยานี้พร้อมกับการรับประทานอาหาร ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโปรคลอเปอราซีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโปรคลอเปอราซีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน

คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง

  • ยาเม็ด 5-10 มก. วันละ 3-4 ครั้ง
  • ยาแคปซูล 15 มก. เมื่อเกิดอาการขึ้น หรือยาแคปซูล 10 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง ขนาดยาต่อวันที่สูงกว่า 40 มก. ควรใช้ต่อเมื่อเป็นกรณีดื้อยาเท่านั้น
  • ยาเหน็บทวาร 25 มก. วันละ 2 ครั้ง
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 5-10 มก. หากจำเป็น อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ขนาดยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมดไม่ควรเกิน 40 มก./วัน
  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 2 1/2-10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ หรือหยอดยาในอัตราไม่เกิน 5 มก./นาที
  • ขนาดยาหนึ่งครั้งไม่ควรเกิน 10 มก. ขนาดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำทั้งหมดไม่ควรเกิน 40 มก./วัน

การผ่าตัดผู้ใหญ่ (สำหรับอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง)

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 5-10 มก. ฉีดยา 1-2 ชั่วโมง ก่อนเริ่มเหนี่ยวนำยาระงับความรู้สึก (ให้ซ้ำทุกๆ 30 นาทีหากจำเป็น) หรือเพื่อควบคุมอาการเฉียบพลันระหว่างหรือหลังจากการผ่าตัด (ให้ยาซ้ำหากจำเป็น)
  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 5-10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ หรือหยอดยา 15-30 นาที ก่อนเริ่มเหนี่ยวนำยาระงับความรู้สึกหรือเพื่อควบคุมอาการเฉียบพลันระหว่างหรือหลังจากการผ่าตัด ให้ยาซ้ำหนึ่งครั้งหากจำเป็น ขนาดยาหนึ่งครั้งไม่ควรเกิน 10 มก. อัตราการให้ยาไม่ควรเกิน 5 มก./นาที

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรควิตกกังวล

อาการวิตกกังวลที่ไม่ใช่อาการทางจิต

  • ยาเม็ด 5 มก. วันละ 3-4 ครั้ง
  • ยาแคปซูล 15 มก. เมื่อเริ่มมีอาการ หรือ 10 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อย่าให้ยาในขนาดที่มากกว่า 20 มก./วัน หรือนานกว่า 12 สัปดาห์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจิต

โรคจิตระดับเบา

  • 5-10 มก. รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง

โรคจิตระดับปานกลางถึงรุนแรง

  • รับประทาน 10 มก. รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง เพิ่มขนาดยาทุกๆ 2-3 วัน จนกว่าจะสามารถควบคุมอาการได้ หรือจนกว่าผลข้างเคียงนั้นจะรบกวนคุณ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการตอบสนองที่น่าพึงพอใจที่ขนาด 50-75 มก./วัน สำหรับอาการรบรวนที่รุนแรงกว่า ขนาดยาที่ดีที่สุดมักจะอยู่ที่ 100-150 มก./วัน
  • ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ เพื่อควบคุมอาการในทันที สำหรับอาการกระวนกระวายใจระดับรุนแรงในผู้ใหญ่ ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับยาฉีดคือ 10-20 มก. ลึกเข้าไปในด้านบนของสะโพกส่วนนอก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองไม่นานหลังจากฉีดยาครั้งแรก หากจำเป็น อาจให้ยาซ้ำที่ขนาดยาเริ่มต้น ทุกๆ 2-4 ชั่วโมง (หรือในกรณีดื้อยาอาจให้ยาทุกๆ ชั่วโมง) เพื่อควบคุมผู้ป่วย ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ขนาดยามากกว่า 3-4 ครั้ง หลังจากที่สามารถควบคุมอาการได้แล้ว ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนมาใช้ยาแบบรับประทานในขนาดยาที่เท่ากันหรือมากกว่า ในกรณีหายาก อาจจำเป็นต้องให้ยาโดยวิธีการฉีดยาเป็นเวลานาน ให้ยา 10-20 มก. ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง

ขนาดยาโปรคลอเปอราซีนสำหรับเด็ก

เด็กนั้นมีโอกาสมากกว่าที่จะเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบเอ็กซ์ตราไพรามิดัล (extrapyramidal reactions: EPS) แม้แต่กับการใช้ยาในขนาดยาปานกลาง ดังนั้น จึงควรใช้ขนาดยาต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 5 มก. 10 มก.
  • ยาแคปซูล 10 มก. 15 มก.
  • แบบหลอด 2 มล. (5 มก./มล.) 10 มล. (5 มก./มล.)
  • ยาเหน็บ 2.5 มก. 5 มก. 25 มก.
  • ยาน้ำเชื่อม 5 มก./5 มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดอาจมีดังต่อไปนี้

  • กระสับกระส่าย
  • สั่นกระตุก
  • นอนหลับได้ยากหรือหลับอยู่ตลอด
  • ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า
  • น้ำลายไหล
  • ส่วนหนึ่งของร่างกายสั่นเทาแบบไม่สามารถควบคุมได้
  • เดินซอยเท้า (shuffling walk)
  • ง่วงนอน
  • อาการโคม่า (หมดสติเป็นเวลานาน)
  • อาการชัก
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เป็นไข้
  • ปากแห้ง
  • ท้องผูก

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prochlorperazine. https://www.drugs.com/mtm/prochlorperazine.html. Accessed July 26, 2016.

Prochlorperazine. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-4824/prochlorperazine-rectal/details. Accessed July 26, 2016.

Prochlorperazine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682116.html. Accessed November 18, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)

ภาวะอาเจียนเรื้อรัง (Cyclic Vomiting Syndrome)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา