- ฮอร์โมนสำหรับการสืบพันธุ์ ประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงมีอาการแพ้ท้องในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นอาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิด
- การใช้ยา ยาหลายชนิด (ประกอบด้วย ยาที่แพทย์สั่ง ยาที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป และยาสมุนไพร) อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ซึ่งเป็นอาการข้างเคียง โดยเฉพาะเมื่อใช้ยามากกว่าหนึ่งชนิดร่วมกันในครั้งเดียว ยาสำหรับทำเคมีบำบัดและยาต้านซึมเศร้า เป็นยาชนิดที่มักทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการคลื่นไส้เป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและภาวะถอนพิษสุรา รวมถึงอาการแฮงค์สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้
- ยาสลบ บางคนเกิดอาการคลื่นไส้หลังจากการผ่าตัด และหลังฟื้นจากฤทธิ์ยาสลบ
- อาการแพ้อาหารและอาหารเป็นพิษ สำหรับอาการแพ้อาหาร แบคทีเรียปริมาณน้อยที่อยู่ในอาหารที่ปนเปื้อน ทำให้เกิดสารพิษที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และปวดเกร็งท้อง
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การรักษา อาการคลื่นไส้และอาเจียน
วิธีการรักษา อาการคลื่นไส้และอาเจียน ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
- เมารถ แพทย์อาจจ่ายยาช่วยบรรรเทาอาการเมารถ เช่น ยาดรามามีน (Dramamine) ยาแก้แพ้ (Antihistamines)
- คลื่นไส้จากกรดไหลย้อน แพทย์อาจแนะนำยาลดกรดไหลย้อนหรือยาบรรเทาอาการปวดหัวชนิดรุนแรง
นอกจากนี้ การดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น สามารถช่วยบรรเทา อาการคลื่นไส้และอาเจียน ให้ลดลงได้
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการ อาการคลื่นไส้และอาเจียน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวตนเอง ที่อาจช่วยคุณในการรับมือกับ อาการคลื่นไส้และอาเจียน ได้แก่
- รับประทานอาหารมื้อเล็กทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ไม่รู้สึกอิ่มจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงกลิ่นที่รบกวนต่าง ๆ เช่น น้ำหอม ควัน หรือกลิ่นจากการทำอาหาร
- หากคุณมีอาการคลื่นไส้นานนับสัปดาห์หรือเป็นเดือน ควรจดบันทึกอาหารที่รับประทาน เพื่อช่วยระบุถึงอาหารที่ทำให้เกิดอาการ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ส่งกลิ่น มีลักษณะบูด หรือไม่ได้แช่เย็นอย่างเหมาะสม
- หากคุณมีอาการเมาขณะนั่งยานพาหนะต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยยานพาหนะ รวมถึงควรนั่งในตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการเมาน้อยที่สุด (ใกล้ปีกเครื่องบินหรือกลางลำเรือ) ควรสอบถามแพทย์ถึงยาแก้อาการเมาก่อนการเดินทาง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โค้กที่มีคาเฟอีน กาแฟ หรือชา
- ควรดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหาร เช่น น้ำขิง หรือชาคาโมไมล์
- ดื่มน้ำสะอาดเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (หากอาการอาเจียนเกี่ยวข้องกับอาการคลื่นไส้)
- รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้อย่างต่อเนื่อง
- รับประทานอาหารที่รสไม่จัด เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยง่าย เช่น แครกเกอร์ หรือขนมปังไม่ทาเนย ข้าว ซุปไก่ และกล้วย
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด และอาหารทอด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย