backup og meta

โปรตามีน ซัลเฟต (Protamine Sulfate)

โปรตามีน ซัลเฟต (Protamine Sulfate)

ข้อบ่งใช้

ยา โปรตามีน ซัลเฟต ใช้สำหรับ

ยาโปรตามีน ซัลเฟต (Protamine sulfate) ใช้เพื่อรักษาอาการใช้ยาเฮพาริน (Heparin) เกินขนาดอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดการตกเลือด (Hemorrhage)

ยานี้มีข้อบ่งใช้ในการถอนพิษของยาเฮพาริน ที่ให้ในระหว่างระบบไหลเวียนของเลือด (Extracorporeal circulation) ในการผ่าตัดหลอดเลือดและหัวใจ หรือกระบวนการไดอะไลซิส (Dialysis) นอกจากนี้ยานี้ยังใช้เพื่อถอนพิษผลของอาการตกเลือด จากการใช้ยาเฮพารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ อย่าง ยาอีนอกซาพาริน (Enoxaparin) เกินขนาด

วิธีการใช้ยา โปรตามีน ซัลเฟต

ให้ยานี้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ นานกว่า 10 นาที อาจให้ยาโดยไม่ต้องเจือจางยาเพิ่มเติมที่ความเข้มข้น 10 มก./มล.

แต่หากจำเป็นต้องหยอดยาที่เจือจางแล้ว แนะนำให้เจือจางยาในสารละลายเดกซ์โทรส 5% (dextrose) หรือสารละลายโซเดียมคลอร์ไลด์ 0.9% (sodium chloride) ยานี้ไม่มีสารกันบูด โปรดกำจัดยาส่วนที่ไม่ได้ใช้

การเก็บรักษายา โปรตามีน ซัลเฟต

ยาโปรตามีน ซัลเฟตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโปรตามีน ซัลเฟตบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโปรตามีน ซัลเฟตลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโปรตามีน ซัลเฟต

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารสำคัญที่ออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาโปรตามีน ซัลเฟต หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ยาโปรตามีน ซัลเฟตอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง หัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว (cardiovascular collapse) ภาวะปอดบวมน้ำที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากหัวใจ (noncardiogenic pulmonary edema) อาการหลอดเลือดในปอดบีบตัวอย่างรุนแรง (catastrophic pulmonary vasoconstriction) และภาวะความดันปอดสูง (pulmonary hypertension)

ปัจจัยเสี่ยงนั้น มีทั้งการใช้ยาในขนาดที่สูง หรือการใช้ยาเกินขนาด การให้ยาอย่างรวดเร็ว การให้ยาซ้ำ การให้ยาโปรตามีนครั้งก่อน และกำลังใช้หรือเคยใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาโปรตามีน เช่น ยาเอ็นพีเอช อินซูลิน (NPH insulin) ยาโปรตามีน ซัลเฟต ซิงค์ อินซูลิน (protamine sulfate zinc insulin) และยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์บางชนิด (beta-blockers)

โรคภูมิแพ้ต่อปลา เคยผ่านการทำหมันชาย (vasectomy) หัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติอย่างรุนแรง (left ventricular dysfunction) และระบบไหลเวียดโลหิตที่ปอดที่ผิดปกติก่อนการผ่าตัดผิด ก็อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน

สำหรับที่ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรพิจารณาความประโยชน์ของการใช้ยาโปรตามีน ซัลเฟตให้ดี ควรเตรียมยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressors) และอุปกรณ์กู้ชีพไว้ในทันที เผื่อสำหรับกรณีการเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อยาโปรตามีน

ไม่ควรใช้ยาโปรตามีน ซัลเฟต หากเกิดอาการเลือดออกโดยไม่ได้การใช้ยาเฮพารินมาก่อน

ผลย้อนกลับของยาเฮพารินที่ทำให้เกิดอาการเลือดออก อาจเกิดขึ้นหลังจากให้ยาโปรตามีน ซัลเฟตไปแล้ว 8-9 ชั่วโมง

ยานี้อาจจะไม่ได้ผลกับการผ่าตัดหัวใจ แม้จะใช้ยาในขนาดที่เหมาะสม

การฉีดยาอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาโปรตามีน ซัลเฟตจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยาโปรตามีน ซัลเฟตสามารถเจือจางเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ และยังไม่มีการบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโปรตามีน ซัลเฟต

เมื่อใช้ยานี้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการเหล่านี้

  • ปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • ปริมาณการใช้ออกซิเจนลดลง
  • หน้าแดง
  • ความดันปอดสูง
  • อาการเลือดออกที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
  • ปอดบวมน้ำ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโปรตามีน ซัลเฟตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโปรตามีน ซัลเฟตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโปรตามีน ซัลเฟตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโปรตามีน ซัลเฟตสำหรับผู้ใหญ่

การถอนพิษยาเฮพาริน

ขนาดยาที่แนะนำคือ 1-1.5 มก. ต่อ 100 หน่วยยูเอสพี (USP units) ของยาเฮพาริน ไม่เกิน 50 มก.

เฝ้าระวังค่าเอพีทีที (APTT) 5-15 นาทีหลังจากให้ยา แล้วตามด้วยภายใน 2-8 ชั่วโมง

สำหรับการใช้ยาเฮพารินเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ ควรพิจารณาค่าครึ่งชีวิต (t1/2) ของยาเฮพาริน 60-90 นาที

ในกรณีที่ไม่มีอาการเลือดออกแทรกซ้อน ควรพิจารณาการเฝ้าสังเกตแทนการย้อนกลับผลของยาต้านการแข็งตัวของเลือดของยาโปรตามีน ซัลเฟต (หลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา [ADR’s])

ความซับซ้อนของยาโปรตามีน ซัลเฟตและยาเฮพารินอาจจะลดลงหลังจากที่ให้ยาครั้งต่อไปเมื่อเวลาผ่านไป

การใช้ยาเดลเทพาริน (Dalteparin) หรือยาทินซาพาริน (Tinzaparin) เกินขนาด

ขนาดยาที่แนะนำคือยาโปรตามีน ซัลเฟต 1 มก. สำหรับยาเดลเทพารินหรือยาทินซาพาริน 100 หน่วย หากค่าพีทีที (PTT) นานเกิน 4 ชั่วโมงหลังจากให้ยาโปรตามีน ซัลเฟตเกินขนาด ให้ยา 0.5 มก. ต่อยาเดลเทพารินหรือยาทินซาพาริน 100 หน่วย

การใช้ยาอีนอกซาพารินเกินขนาด

ขนาดยาที่แนะนำคือ 1 มก. สำหรับยาอีนอกซาพาริน (ยาให้ยาอีนอกซาพารินเกินขนาดภายใน 8 ชั่วโมง) หากมากกว่า 8 ชั่วโมงของการใช้ยาเกินขนาดหรือมีอาการเลือดออกอย่างต่อเนื่องหลังจากให้ยาครั้งแรก 4 ชั่วโมง ควรให้ยาโปรตามีน ซัลเฟต 0.5 มก. ต่อมก. ของยาอีนอกซาพาริน

เวลาผ่านไปหลังจากใช้ยาเฮพาริน

ขนาดยาของยาโปรตามีน ซัลเฟต (มก.) เพื่อถอนพิษของยาเฮพาริน 100 หน่วย

  • น้อยกว่า 1/2 ชั่วโมง ขนาดยาที่แนะนำคือ 1-1.5 มก./100 หน่วยของยาเฮพาริน
  • 30-120 นาที ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.5-0.75 มก./100 หน่วยของยาเฮพาริน
  • มากกว่า 2 ชั่วโมง ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.25-0.375 มก./100 หน่วยของยาเฮพาริน

ขนาดยาโปรตามีน ซัลเฟตสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 10 มก./มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Protamine sulfate (Rx). http://reference.medscape.com/drug/protamine-343746#5. Accessed December 15, 2016

Protamine. https://www.drugs.com/mmx/protamine-sulfate.html. Accessed December 15, 2016.

PROTAMINE. https://www.rxlist.com/protamine-drug.htm. Accessed November 19, 2019

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

5 วิธีรับมือกับ กล้ามเนื้อหดเกร็ง จากโรคหลอดเลือดสมอง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา