ไกลซีน(Glycine) มีความสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง สามารถใช้ในการรักษาโรคจิตเภทและโรคเกี่ยวกับความทรงจำ นอกจากนี้นักวิจัยบางท่านยังเผยว่าไกลซีน นั้นอาจสามารถใช้ป้องกันโรคมะเร็งได้
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
ไกลซีน(Glycine) มีความสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง สามารถใช้ในการรักษาโรคจิตเภทและโรคเกี่ยวกับความทรงจำ นอกจากนี้นักวิจัยบางท่านยังเผยว่าไกลซีน นั้นอาจสามารถใช้ป้องกันโรคมะเร็งได้
ไกลซีน (Glycine) ใช้รักษาอาการสุขภาพต่อไปนี้
ร่างกายใช้ไกลซีนเพื่อเสริมสร้างโปรตีน ไกลซีนมีความสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง ซึ่งสามารถใช้ในการรักษาโรคจิตเภทและโรคเกี่ยวกับความทรงจำ นักวิจัยบางท่านยังแสดงให้เห็นว่าไกลซีน อาจใช้ป้องกันโรคมะเร็งได้
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ ควรศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์
ไกลซีน ปลอดภัยสำหรับการรับประทานและใช้ทาบริเวณผิวหนัง
หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
เนื่องจากยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับการใช้ไกลซีนในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่องให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้
ไกลซีนอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดปกติของการใช้ไกลซีนอยู่ที่เท่าไร
สำหรับการรักษาโรคจิตเภท
รับประทานไกลซีน ปริมาณ 0.4-0.8 กรัม ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัว) ต่อวัน โดยเริ่มต้นที่ 4 กรัมต่อวันและเพิ่มขึ้นวันละ 4 กรัม
สำหรับการป้องกันเซลล์สมอง
รับประทานไกลซีน วันละ 1-2 กรัมโดยการอมใต้ลิ้น หลังจากเริ่มมีอาการสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
สำหรับการรักษาแผลบริเวณขา
ใช้ครีมทาบริเวณผิวที่ผสมไกลซีน ปริมาณ 10 มิลลิกรัม ประกอบด้วย แอลไกลซีน 2 มิลลิกรัม แอลไกลซีนและดีแอลทรีโอนีน อย่างละ 1 กรัม โดยทาครีมลงบนบริเวณแผล ทุกวัน หรือวันละ 2 ครั้ง
ปริมาณการใช้กลูตามีนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน
ไกลซีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัย หรือการรักษา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Glycine. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1072-glycine.aspx?activeingredientid=1072&activeingredientname=glycine. Accessed November 25, 2016.
Glycine. https://www.drugs.com/pro/glycine.html. Accessed November 25, 2016.
Glycine. http://www.emedicinehealth.com/glycine-page2/vitamins-supplements.htm. Accessed November 25, 2016.
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย