backup og meta

เราสามารถทำอะไรเพื่อ ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้บ้าง

เราสามารถทำอะไรเพื่อ ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้บ้าง

อาการหลงๆลืมๆของผู้สูงอายุ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา จนทำให้คนรอบข้างหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองละเลย เพราะคิดว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามวัย แต่อาการหลงลืมไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนคิด เพราะหากเป็นอาการหลงลืมที่เป็นผลมาจากภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากโรคอัลไซเมอร์

คุณยิ่งต้องใส่ใจ เพราะอาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนติดเชื้อและเสียชีวิตได้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันอัลไซเมอร์ มาแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่น่ากลัวนี้

ผู้สูงอายุกับโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการ เช่น จำไม่ได้ มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการสื่อสารและระบบคิด ซึ่งโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Disease) เป็นโรคในกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากความเสื่อมถอยสมอง อาการของโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มต้นอย่างช้าๆ และรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ภาวะสมองเสื่อม รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในวัย 50 ปี และอาการจะปรากฏชัดเจนเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากปัจจัยด้านอายุแล้ว ยังพบว่าเพศหญิงเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น มีประวัติการบาดเจ็บทางสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก็อาจเป็นอัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 (มีอาการ 1-3 ปี) : หลงๆ ลืมๆ สูญเสียความทรงจำระยะสั้น มีปัญหาในการพูด บุคลิกภาพอาจเปลี่ยนไปจากเดิม
  • ระยะที่ 2 (มีอาการ 2-10 ปี) : สูญเสียความทรงจำ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเคลื่อนไหวไม่ได้ อาจดูเป็นคนเลื่อนลอย ก้าวร้าว มีปัญหาในการสื่อสาร
  • ระยะที่ 3 (มีอาการ 8-12 ปี) : จดจำคนในครอบครัวไม่ได้ ทำกิจวัตรประจำวันเองไม่ได้
  • ระยะที่ 4 (มีอาการนานกว่า 12 ปี) : พูดหรือจดจำสิ่งต่างๆไม่ได้ และสูญเสียความเป็นตัวเอง

ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้อย่างไรบ้าง

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีวิธีป้องกัน แต่มีหลักฐานว่า กิจกรรมดังต่อไปนี้อาจช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ได้

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะช่วยทำให้เลือดในสมองไหลเวียนดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาท และช่วยเชื่อมต่อเซลล์ประสาทซึ่งเกี่ยวข้องกับความทรงจำ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การว่ายน้ำ การเดิน ในระดับปานกลางเป็นเวลา 45 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะทำให้สุขภาพแข็งแรง กระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ได้

เรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน เช่น การเต้น การเล่นเกมซูโดกุ (Sudoku) หรือการเล่นเกมกระดานอย่างหมากรุก หมากฮอส จะช่วยทำให้สมองได้จดจ่อกับอะไรใหม่ๆ หรือได้แก้ปัญหา เปรียบเหมือนเป็นการออกกำลังกายสมอง ทำให้สมองไม่ฝ่อ และป้องกันอาการอัลไซเมอร์

วิตามินอาจช่วย ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้

อัลไซเมอร์เกิดจากภาวะสมองเสื่อม วิตามินที่ช่วยได้จึงเป็นวิตามินที่ช่วยเรื่องการทำงานของสมอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาคุณหมอ ว่าสามารถกินวิตามินชนิดต่างๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากผู้สูงอายุอาจได้รับผลข้างเคียงจากการกินวิตามิน สำหรับวิตามินที่ช่วยเรื่องการทำงานของสมองนั้น ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ เนื่องจากการนอนหลับที่มีคุณภาพจะป้องกันการเกิดแอมีลอยด์ (Amyloid) หรือโปรตีนส่วนเกินที่อยู่ในสมอง

ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบแอมีลอยด์มาก ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอ คืออย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงก็ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และแถมยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ อีกด้วย

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีวิธีป้องกันโรคโดยตรง แต่มีวิธีการป้องกันโรคทางอ้อมคือ การทำให้สมองดี ป้องกันตัวเองจากภาวะสมองเสื่อม ที่จะทำให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

4 Ways to Stop Age-Related Memory Loss. https://www.webmd.com/healthy-aging/features/4-ways-stop-age-related-memory-loss#1. Accessed on July 24, 2018.

Dementia and Alzheimer’s Disease Overview. https://www.webmd.com/alzheimers/default.htm. Accessed on July 24, 2018.

What can you do to avoid Alzheimer’s disease?. https://www.health.harvard.edu/alzheimers-and-dementia/what-can-you-do-to-avoid-alzheimers-disease. Accessed on July 24, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้สมองของคุณสุขภาพดี

อาหารบำรุงสมองผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงสมองเสื่อม เพิ่มความจำ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา