ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่เป็นผลมาจากการเสื่อมถอยของสมองหลายส่วน ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ และสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ โรคอัลไซเมอร์ นั่นเอง ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แตกต่างกันอย่างไร เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง และเราจะรับมือกับสองโรคนี้อย่างไรดี ทีนี่มีคำตอบให้

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia คือ กลุ่มอาการที่ส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีอาการ เช่น นึกคำพูดไม่ออก สูญเสียความทรงจำ วิตกกังวล ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก และจำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งอย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้  Dementia คือ อะไร Dementia คือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของสมอง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลง จนส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive functioning) เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ การใช้เหตุผล จนบางครั้งอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมบางคนอาจควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และบุคลิกภาพอาจเปลี่ยนไป ภาวะนี้มีตั้งแต่ระยะไม่รุนแรงจนถึงระยะรุนแรงที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น  อาการของ Dementia หรือภาวะสมองเสื่อม อาการของ dementia อาจจำแนกประเภทได้ดังนี้  การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา  สับสน  ลืมง่าย แม้สถานการณ์เพิ่งผ่านไปไม่นาน  มีปัญหาด้านการสื่อสาร  มีปัญหาด้านการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล  […]

สำรวจ ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ความจำเสื่อม (Amnesia)

ความจำเสื่อม (Amnesia) เป็นภาวะสูญเสียความทรงจำ โดยเป็นการสูญเสียข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ส่วนตัว ความจำเสื่อมในขั้นรุนแรง อาจส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ อาการความจำเสื่อม อาจเกิดขึ้นทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร   คำจำกัดความความจำเสื่อม คืออะไร ความจำเสื่อม (Amnesia) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มอาการความจำเสื่อม (Amnesic Syndrome) เป็นภาวะสูญเสียความทรงจำ โดยเป็นการสูญเสียข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ส่วนตัว มีภาวะสุขภาพหลายประการที่ทำให้เกิดความจำเสื่อม เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง ศีรษะบาดเจ็บ ความจำเสื่อมในขั้นรุนแรง อาจส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ อาการความจำเสื่อม อาจเกิดขึ้นทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคพื้นเดิมที่เป็นสาเหตุของความจำเสื่อมเสียก่อน ความจำเสื่อมพบได้บ่อยแค่ไหน ความจำเสื่อมเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป มักเกิดจากภาวะสุขภาพและโรคต่าง ๆ เช่น ศีรษะบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงบางประการที่ก่อให้เกิดอาการความจำเสื่อมได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาการชัก การผ่าตัดสมอง โดยภาวะความจำเสื่อมสามารถส่งผลได้ต่อทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่มักส่งผลต่อผู้หญิงได้มากกว่า อาการอาการของความจำเสื่อม อาการหลัก ๆ ของภาวะความจำเสื่อม คือ การสูญเสียความทรงจำ หรือความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ ขณะที่ทักษะการรับรู้ และทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ มักไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่า ผู้ป่วยจะยังสามารถจดจำการเดิน และการพูดภาษาต่าง ๆ […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury)

สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury) แตกต่างจากโรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ ที่จะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บนั้นจะดีขึ้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป คำจำกัดความสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ คืออะไร สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury) เป็นปัญหาสุขภาพทั่วไป โดยลักษณะทั่วไปของสมองเสื่อมในผู้ที่ศีรษะบาดเจ็บจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและบริเวณของศีรษะที่ได้รับบาดเจ็บ และลักษณะของผู้ป่วยก่อนได้รับบาดเจ็บ โรคสมองเสื่อมที่เกิดหลังจากศีรษะบาดเจ็บจะแตกต่างจากโรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ กล่าวคือ โรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ จะมีอาการแย่ลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป แต่โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บนั้นจะดีขึ้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บพบได้บ่อยแค่ไหน โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บพบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ อาการที่สัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ ได้แก่ อาการที่ส่งผลต่อการคิดและสมาธิ ความทรงจำ การสื่อสาร บุคลิกภาพ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อารมณ์ และพฤติกรรม ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้ร่วมกันโดยขึ้นอยู่กับบริเวณของศีรษะที่ได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงของบาดแผล หรือความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งบุคลิกภาพของผู้ป่วยก่อนได้รับบาดเจ็บ อาการบางประการอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อาการอื่นๆ เกิดขึ้นได้ช้ากว่า ส่วนใหญ่แล้ว อาการต่างๆ จะเริ่มปรากฏขึ้นในเดือนแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ อาการของโรคสมองเสื่อมในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้แก่ มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด สูญเสียความทรงจำ สมาธิสั้น กระบวนการคิดช้าลง ไม่กระตือรือร้น อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์แปรปรวน มีพฤติกรรมในการเข้าสังคมที่ไม่เหมาะสม แต่งกายแปลกหรือไม่ใส่ใจการแต่งตัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว ชอบต่อสู้ หรือมักเป็นศัตรูกับผู้อื่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีอาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่เจาะจง ผู้ป่วยบางรายมีอาการชักหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ อาการเหล่านี้ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมแต่อาจทำให้การวินิจฉัยและรักษาโรคสมองเสื่อมมีความซับซ้อนขึ้น ความผิดปกติทางจิตที่สำคัญอาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมกันอย่างน้อยสองอาการหรือมากกว่า อาการซึมเศร้า เสียใจ ร้องไห้ เซื่องซึม ล้มเลิกง่าย […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคที่ทำให้สูญเสียความทรงจำ และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานที่สำคัญของสมอง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจลืมแม้กระทั่งคนสำคัญในชีวิต และเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความอัลไซเมอร์ คืออะไร อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่ทำให้สูญเสียความทรงจำ และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานที่สำคัญของสมอง ในระยะแรก ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจมีอาการมึนงงและมีปัญหาเกี่ยวการจดจำเพียงเล็กน้อย แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจลืมแม้กระทั่งคนสำคัญในชีวิตและเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอย่างรวดเร็ว อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของโรคสมองเสื่อม โดยเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางสมองที่ทำให้เกิดการสูญเสียทักษะทางสมองและทักษะในการเข้าสังคม เกิดจากเซลล์สมองเสื่อมและตายไป ทำให้ประสิทธิภาพของความทรงจำและการทำงานของสมองลดลงเรื่อย ๆ การใช้ยาและวิธีการรักษาอัลไซเมอร์อาจทำให้อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราว โดยอาจช่วยยืดเวลาการทำงานของสมองและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้นานขึ้นเล็กน้อย แต่เนื่องจากอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุดจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โรคอัลไซเมอร์พบบ่อยเพียงใด อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ อาการอาการของอัลไซเมอร์ ในระยะแรก อาการของโรคที่สังเกตได้ชัดเจนได้แก่ มีอาการหลงลืมหรือสับสนบ่อยขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป โรคนี้จะค่อย ๆ ทำให้ความทรงจำหายไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะความทรงจำในปัจจุบัน อัตราการทรุดลงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยความเปลี่ยนแปลงทางสมองที่สัมพันธ์กับอัลไซเมอร์จะทำให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ความทรงจำ อาการหลงๆ ลืมๆ บางเวลาถือเป็นเรื่องปกติ แต่อัลไซเมอร์มักทำให้สูญเสียความทรงจำแบบเรื้อรังและอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งกระทบต่อความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ พูดและถามซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่รู้สึกตัวว่าได้ถามคำถามมาก่อนแล้ว ลืมการสนทนา การนัดหมาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ และไม่สามารถระลึกได้เมื่อเวลาผ่านไป วางสิ่งของไว้ผิดที่เป็นประจำ ซึ่งมักวางไว้ในที่ที่ไม่ควรวาง หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย ลืมชื่อสมาชิกในครอบครัวและวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีปัญหาในการหาคำที่เหมาะสมเพื่อระบุวัตถุ แสดงความคิด หรือมีส่วนร่วมในการสนทนา การคิดและการให้เหตุผล อัลไซเมอร์ทำให้มีปัญหาในการจดจ่อและการคิด โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ตัวเลขต่าง ๆ การทำงานหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกันกลายเป็นเรื่องยาก […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

เราสามารถทำอะไรเพื่อ ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้บ้าง

อาการหลงๆลืมๆของผู้สูงอายุ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา จนทำให้คนรอบข้างหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองละเลย เพราะคิดว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามวัย แต่อาการหลงลืมไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนคิด เพราะหากเป็นอาการหลงลืมที่เป็นผลมาจากภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากโรคอัลไซเมอร์ คุณยิ่งต้องใส่ใจ เพราะอาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนติดเชื้อและเสียชีวิตได้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันอัลไซเมอร์ มาแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่น่ากลัวนี้ ผู้สูงอายุกับโรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการ เช่น จำไม่ได้ มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการสื่อสารและระบบคิด ซึ่งโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Disease) เป็นโรคในกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากความเสื่อมถอยสมอง อาการของโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มต้นอย่างช้าๆ และรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะสมองเสื่อม รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในวัย 50 ปี และอาการจะปรากฏชัดเจนเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากปัจจัยด้านอายุแล้ว ยังพบว่าเพศหญิงเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น มีประวัติการบาดเจ็บทางสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก็อาจเป็นอัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (มีอาการ 1-3 ปี) : หลงๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม