backup og meta

ต้นโกทรู (Goat’s Rue)

ต้นโกทรู (Goat’s Rue)

การใช้ประโยชน์ ต้นโกทรู

ต้นโกทรู (Goat’s Rue) คือ สมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มักนิยมนำมาใช้ในปรับระดับของน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน พร้อมทั้งยังนำมาสกัดแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบของแคปซูลอาหารเสริม โดยบางการศึกษากล่าวว่าต้นโกทรูมีสารต้านแบคทีเรีย ซึ่งสามารถใช้เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ช่วยเสริมเรื่องการผลิตน้ำนมสำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • ต้านทานเซลล์ก่อตัวของโรคมะเร็ง
  • ลดน้ำหนัก
  • ช่วยบำรุงการทำงานของต่อมหมวกไต และตับ
  • รักษาปัญหาบางอย่างของระบบทางเดินอาหาร

การทำงานของต้นโกทรูเป็นอย่างไร

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของอาหารเสริม ประเภทสมุนไพรชนิดนี้โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการศึกษาในบางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้นโกทรู อาจมีสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบถึงผลลัพธ์ของการใช้สมุนไพรนี้ต่อไป เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการรักษาได้ในอนาคต 

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ต้นโกทรู

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากต้นคโกทรู หรือแพ้ยาหรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆคุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้อื่นๆ เช่น อาหาร, สารแต่งสี, สารกันเสีย, หรือสัตว์บางชนิด

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดอกรักนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นโกทรูมีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของต้นโกทรู โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เสียก่อนถึงแม้อาจช่วยให้คุณแม่เพิ่มน้ำนมได้ แต่ก็อาจมีความอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะเลือดออกตามร่างกายบ่อย

ต้นโกทรูอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในปริมาณมาก

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

สมุนไพรชนิดนี้อาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อใช้ในปริมาณที่มากเกินควร หรือไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จนคุณมีอาการแย่ลงจากเดิมก็เป็นได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ต้นโกทรูมีอะไรบ้าง

  • เกิดอาการแพ้รุนแรง
  • อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดจนอยู่ในระดับที่อันตราย

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับต้นโกทรูมีอะไรบ้าง

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้รักษาโรคประจำตัวอยู่ก็เป็นได้ รวมทั้งอาจเกิดผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน คุณจึงจำเป็นที่ต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ประจำตัวคุณ ก่อนการใช้เสมอ

  • ยารักษาโรคเบาหวาน ที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อใช้ควบคู่กับสมุนไพรโกทรู เพื่อป้องกันการลดระดับน้ำตาลในเลือดที่รวดเร็วจนอาจเกิดอันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ คือ ไกลพิไซด์ (Glimepiride), ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone), โรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone), ไกลเบนคลาไมด์ (Chlorpropamide), ไกลพิไซด์ (Glipizide), โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) เป็นต้น

ปกติแล้วควรใช้ต้นโกทรูในปริมาณเท่าใด

สำหรับชนิดแคปซูล

ให้รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง

ส่วนในสตรีที่น้ำหนักมากกว่า 175 ปอนด์ ควรรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ต่อวัน

 สำหรับการนำมารับประทานแบบชา

ให้ใช้ใบตากแห้งในปริมาณ 1 ช้อนชา ชงในน้ำ 8 ออนซ์ หรือ 1 ถ้วย ทิ้งไว้ 10 นาที ควรดื่มครั้งละ 1 ถ้วย 3 ครั้งต่อวัน

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ต้นโกทรูอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • รูปแบบของเหลวที่ผ่านการสกัดจากต้นโกทรู
  • ผงชา
  • แคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Goat’s Rue. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-160-goat’s%20rue.aspx?activeingredientid=160&activeingredientname=goat%27s%20rue. Accessed December 22, 2016.

Goat’s Rue. https://www.verywell.com/goats-rue-and-increasing-the-supply-of-breast-milk-431841. Accessed December 22, 2016.

Goat’s Rue https://www.drugs.com/npp/goat-s-rue.html Accessed December 22, 2016.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

รอยแตกลายที่ขา สาเหตุ และวิธีการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา